สมชัย แจงวิธีคิดคำนวณ ค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง
อดีต กกต. แจงวิธีการคิดคำนวณ ค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง ที่มีความแตกต่างกันมาก หากสภาอยู่ ครบวาระ หรือหากมีการ ยุบสภา
หลังจากหลายพรรคการเมือง ออกมาเรียกร้อง ให้ความเป็นธรรมเรื่องค่าใช้จ่ายการเลือกตั้ง เพราะประชาชนกำลังเดือดร้อน จากอุทกภัย เกรงจะถูกนำไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย ที่กำหนดระยะเวลาเอาไว้
สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ให้สัมภาษณ์ รายการ เจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ ไทยแลนด์ ประเด็น 180 วัน หากมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งครั้งใหม่ หากนับเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2565 ว่ากติกาดังกล่าว มีสองกรณี คือ สภา อยู่ครบวาระ ต้องนับย้อนขึ้นมา 180 วัน และบวกอีก 45 วันหลังการเลือกตั้ง
กรณีที่สองหากมีการยุบสภา ซึ่งต้องมีการเลือกตั้งไม่น้อยกว่า45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน กรณีนี้ จะเริ่มนับเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภา
ในกรณีแรก ต้องมีการคิดคำนวณค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง ป้ายโฆษณา หาเสียง เดินสาย ทุกอย่างต้องรายงานต่อ กกต.ภายใน90 วันหลังการเลือกตั้ง หากรายงานค่าใช้จ่ายเป็นเท็จก็ถูกเพิกถอน และมีโทษอาญา ส่วนการแจกของช่วยชาวบ้านกกต.ต้องออกระเบียบว่าอะไรทำได้ทำไม่ได้ ให้เป็นไปตามกรอบกฎหมายเลือกตั้งฯมาตรา 73
การเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่เหมือนกับการเลือกตั้งปี 62 เพราะเป็นการเลือกตั้งหลังสภาครบวาระ กฎหมายกำหนดให้กกต.ไปออกระเบียบปฏิบัติให้สอดคล้องเหมาะสม
สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือ คนที่เป็น ส.ส. มีกติกามากกว่าข้อกำหนด เพราะต้องรายงานค่าใช้จ่าย ที่เป็นการหาเสียงในห้วงระยะเวลา 4 ปี ที่ดำรงตำแหน่งส.ส.ด้วย ไม่ว่าจะแจกข้าวสาร หรือ จัดเลี้ยง ขึ้นป้ายหาเสียงหรืออะไรก็ตามที่มีลักษณะดังกล่าว เป็นอีกเรื่องที่ กกต.ต้องกำหนดให้ชัดเจน เพราะคู่แข่งสามารถถ่ายภาพ เก็บหลักฐาน เพื่อนำมาฟ้องร้อง รายงานค่าใช้จ่ายเลือกตั้ง เป็นเท็จได้ในภายหลัง ซึ่งทำให้ต้องพ้นสภาพ และมีโทษอาญา ถูกตัดสิทธิ์การเมือง
ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
YouTube:https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8 สาขา Popular Vote