ข่าว

เปิดบันทึก รัฐประหาร คมช. สนธิ โค่น ทักษิณ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ย้อนรอย 19 กันยายน 2549 พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้า คมช. ยึดอำนาจ อดีตนายกฯ ทักษิณ ระหว่างร่วมประชุม ยูเอ็น ที่นิวยอร์ค

คืนวันที่ 19 กันยายน 2549  หรือ ย้อนกลับไปเมื่อ 16 ปีที่ผ่านมา พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร


โดยใช้ชื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. ก่อนแปรสภาพมาเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช.

 

พล.อ. สนธิ บุญรัตกลิน หัวหน้า คมช.

ลำดับเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน 2549


-ช่วงเช้ามีคำสั่งจาก ทักษิณ เรียกผู้นำเหล่าทัพทุกคนเข้าประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นำเหล่าทัพคนไหนเข้าร่วมการประชุมยกเว้น พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทำให้มีข่าวสะพัดในช่วงบ่าย ว่าจะมีการปฏิวัติ รัฐประหาร ขณะที่ อดีตนายกฯทักษิณ อยู่ระหว่างร่วมประชุมองค์การสหประชาชาติ


-เวลา 21.00 น. กำลังทหารจากพลร่มป่าหวาย หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เข้ามาประจำการที่กองบัญชาการกองทัพไทย


-เวลา 22.00 น. ขบวนรถถังได้เคลื่อนพลเข้าคุมสะพานมัฆวานรังสรรค์และถนนราชดำเนิน พร้อมด้วยทหารจำนวนมาก วางแนวกำลังพลตามถนน ต่าง ๆ ไปตั้งแต่แยกเกียกกาย ผ่านมาถึงถนนราชสีมา, สวนรื่นฤดี, สี่แยกราชตฤณมัยสมาคม


-เวลา 22.15 น. อดีตนายกฯทักษิณ แถลงข่าวทางไกล อ่านประกาศภาวะฉุกเฉิน จากนิวยอร์คผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท.  สั่งย้าย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ) ไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) เป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติตามประกาศภาวะฉุกเฉิน แต่ ทักษิณ ยังอ่านแถลงการณ์ไม่จบ สัญญาณ ก็ถูกตัดเสียก่อน

ลำดับเหตุการณ์ ก่อนรัฐประหารในปี 49


-23 มกราคม ทักษิณขายหุ้นที่ครอบครองทั้งหมดในกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้กับบริษัทเทมาเส็ก มูลค่ารวมทั้งหมด 73,000 ล้านบาท เป็นชนวนให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ตั้งขึ้นเมื่อวันที่8 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ใช้เป็นเงื่อนไขสำคัญ ยกระดับการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง


-24 กุมภาพันธ์ ทักษิณ ประกาศยุบสภาฯ จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยและพรรคมหาชน  บอยคอตการเลือกตั้ง และรณรงค์กาบัตรช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน


-3 มีนาคม มีกลุ่มผู้ที่สนับสนุน ทักษิณ นับแสน รวมตัวชุมนุมกันที่ท้องสนามหลวง 


-2 เมษายน  วันเลือกตั้ง รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ในขณะนั้น) ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชน เพื่อแสดงถึงการดื้อแพ่ง


-3เมษายน ทักษิณ อ้างว่ามีผู้สนับสนุน 16 ล้านเสียงจากผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ แต่มีปัญหาการไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งผู้สมัคร พรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่ ได้คะแนน ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 15 ตุลาคม


-ทักษิณ แถลงว่าจะไม่เข้ารับการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยให้เหตุผลที่ว่า เพื่อสร้างความสมานฉันท์และความปรองดองในชาติ และได้ลาราชการ โดยแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน


-24 สิงหาคม มีรถขนระเบิดกว่า ทำให้รัฐบาลถูกวิจารณ์อย่างหนัก ว่าเป็นการจัดฉาก มีการปลด พล.อพัลลภ ปิ่นมณี รักษาการ ผอ.กอ.รมน.ในขณะนั้น แม้เขาจะปฏิเสธความเกี่ยวข้องทุกกรณี ทหารผู้ถูกจับกุมจากเรื่องนี้ ได้รับการปล่อยตัวหลังการรัฐประหาร

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ