เดียร์ วทันยา บุนนาค ส.ส. บัญชีรายชื่อพรรคพลังประชารัฐโพสเฟสบุ๊ค พร้อมติด#สภาเพื่อประชาชน #ไม่สบายใจ หลังสภาล่ม ขณะพิจารณากฎหมายเลือกตั้งส.ส. มีเนื้อหาว่าการแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญกรณีจากบัตรเลือกตั้ง 1 ใบมาเป็นบัตร 2 ใบแยกระหว่างการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตจำนวน 400 คน และแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน
โดยความเห็นส่วนตัว เมื่อสภามีการกำหนดสัดส่วนจำนวน ส.ส. ตามมติดังกล่าว การคำนวณสัดส่วน ส.ส. บัญชีรายชื่อก็ควรหารด้วยสัดส่วนจำนวน 100 คน ไม่ใช่จำนวน 500 เพราะจะเท่ากับเป็นการนับซ้ำกับจำนวน ส.ส. เขตอีก อาจพูดได้ว่าเดียร์เป็นหนึ่งคนที่สนับสนุนการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อด้วยการหารแบบ 100 ในการพิจารณากฎหมายเลือกตั้งส.ส.เพื่อเป็นไปตามบทบัญญัติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่เมื่อสภามีมติกลับการคำนวณ ส.ส. จากหารด้วย 100 มาเป็น 500 และท้ายที่สุดต้องการกลับไปสูตรหาร 100 อีกครั้ง
สิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาก็คือ การเผชิญหน้ากับปัญหา และแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
ไม่ว่าหนทางดังกล่าวจะชอบใจ หรือไม่ชอบใจ ง่ายหรือยาก ก็ต้องแยกแยะหลักการทำหน้าที่ ด้วยการใช้เหตุและผล เมื่อสภาคือสถานที่ที่ให้ ส.ส. ถกแถลง อภิปรายทั้งผู้ที่เห็นด้วยและเห็นต่าง เพื่อให้ ส.ส. นำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจลงคะแนนบนประโยชน์ของประชาชน โดยมีมติที่ประชุมเป็นข้อยุติการโต้แย้งไม่ควรมีเหตุการณ์ สภาล่ม
ดังนั้นไม่ว่าจะกับผู้ที่เห็นด้วยกับวิธีหาร 500 หรือ 100 ก็ควรใช้รัฐสภาเป็นที่พึ่งและทางออกตามครรลองของกระบวนการประชาธิปไตย ให้ ส.ส. ทุกคนได้ทำหน้าที่ตัวแทนปวงชนอย่างสมเกียรติเช่นนั้น “สภา” อันเป็นเสาหลักของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงจะสามารถเป็นที่พึ่งพา และสร้างศรัทธาให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง
สาธิต ปิตุเตชะ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. กล่าวถึงเหตุการสภาล่มจนไม่สามารถพิจารณาร่างกฎหมายต่อ ในวาระ 2 ได้ ซึ่งอาจทำให้ไม่ทันกรอบ 180 วัน ว่าไม่ควรเกิดเหตุการณ์แบบนี้ และถือให้เป็นบทเรียน ว่าถ้าจะทำอะไรที่ผิดไปจากหลักการ จะทำให้เกิดปัญหาแบบนี้แล้วสุดท้ายก็เสียเวลาเปล่า ต้องกลับมาใช้ร่างเดิมที่ไม่สมบูรณ์ และทำให้กลไกที่ต้องการทำให้แก้ไขให้สมบูรณ์นั้นเสียหายไป และเชื่อว่าพรรคการเมืองที่ไม่เห็นด้วยนั้นจะนำเรื่องนี้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความ
ทั้งนี้ส่วนตัวยืนยันว่าอยากให้เป็นไปตามกลไก โดยพิจารณาให้เสร็จในวาระที่ 3 แล้วส่งไปให้องค์กรอิสระ ยืนยัน วินิจฉัยถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และเชื่อว่ากกต. จะยืนยันตามร่างที่เสนอมาตั้งแต่ต้น คือการหารด้วย 100 ซึ่งหากเป็นเช่นนี้จะไม่เหนื่อยฟรี แต่เมื่อมาเป็นแบบนี้ก็ได้แค่ร่างเดิม แต่ไม่เสียหลักการก็ถือว่าใช้ได้แต่ขอย้ำขอเหนื่อยฟรีและเสียเวลา รวมทั้งมีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐสภา และรัฐบาล ที่จะลดน้อยลงไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง