ข่าว

"ปรเมษฐ์" เตรียม ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ฟ้อง "ประธานศาลฎีกา"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ปรเมษฐ์" เตรียม ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ฟ้อง ปธ.ศาลฎีกา หลัง ศาลชั้นต้น ยกฟ้อง ในคดี แต่งตั้ง กก.สอบวินัย มิชอบ

ความคืบหน้า คดีที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาคดีที่นายปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์ อธิบดีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 1 ยื่นฟ้องนางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา เป็นจำเลย กรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีกล่าวหา แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งคดีนี้ ศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษายกฟ้อง

"ปรเมษฐ์" เตรียม ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ฟ้อง "ประธานศาลฎีกา" ปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์ อธิบดีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 1

ขณะที่ นายปรเมษฐ์ฯ เตรียมใช้สิทธิ์ ในการที่จะยื่นอุทธรณ์ตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติ ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิเสรีภาพ ปวงชนชาวไทย ย่อมได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเสมอภาคกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ศาลฯ"ยกฟ้อง " ปธ.ศาลฎีกา"  ม.157 

จับตาแต่งตั้งโยกย้ายแวดวงตราชั่ง ส่อแวววุ่นหลายเก้าอี้

"ชำนาญ" ค้านตั้ง "อนุรักษ์" นั่งประธานแผนกคดีทุจริตฯ

นอกจากคดีที่ยกฟ้องแล้ว ยังมีอีกคดี หมายเลขดำที่ อท 93/2564 ที่นายปรเมษฐ์ฯ ยื่นฟ้องประธานศาลฎีกา ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ และละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ อีก 1 สำนวน

"ปรเมษฐ์" เตรียม ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ฟ้อง "ประธานศาลฎีกา" เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา

จากกรณีที่ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการมาตรา 45 ในการประชุม (ก.ต.) ห้ามไม่ให้กรรมการผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องพิจารณาเข้าร่วมประชุมและลงมติในเรื่องนั้น เพราะปกติกรรมการผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมต้องรู้ดีว่า ไม่สมควรเข้าไป ประชุม และ ลงมติ ที่เป็นผลร้ายแก่คู่กรณี ที่มีส่วนได้เสีย ในเรื่องนั้น

 

โดยในการประชุม (ก.ต.) ที่จะมีการแต่งตั้ง ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาอาวุโส ของ นายปรเมษฐ์ฯ จะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่อย่างไร เนื่องจากคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงไม่ชอบ โดยยังไม่ได้ชี้แจงและนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ตาม ภายในระยะเวลาอันสมควรตามประกาศคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ข้อ 6 วรรค 1 แล้ววรรค 2 กำหนดว่า การสอบสวนตามวรรค 1 ถูกกล่าวหา มีสิทธิ์ นำพยาน หลักฐาน ในข้อที่เป็นผลร้ายนั้น เข้า สืบแก้ ใน ข้อ ที่เป็นผลร้ายนั้น

และข้อ 9 เมื่อเสร็จสิ้นการสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นต้นแล้ว คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงต้อง แจ้ง ให้ผู้ถูกกล่าวหา ในข้อที่เป็นผลร้ายแล้วให้ ผู้ถูกกล่าวหา ชี้แจงแล้วนำพยานหลักฐานเข้าสืบแก้ในข้อที่เป็นผลร้าย แต่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงดำเนินการสอบสวนไม่ชอบตามกฎหมาย

"ปรเมษฐ์" เตรียม ยื่นอุทธรณ์คำสั่ง ฟ้อง "ประธานศาลฎีกา"

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 13 สิงหา  คมชัดลึก ได้รายงาน "ศาลอาญาคดีทุจริตฯ"พิพากษา"ยกฟ้อง" คดี " ปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์' "อดีตอธิบดีศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค 1 ยื่นฟ้อง "ประธานศาลฎีกา เมทินี ชโลธร" ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ม.157 กรณีสั่งย้ายไปช่วยงานศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชี้ไม่ใช่การสั่งย้ายตามอำเภอใจ 

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีคำพิพากษาคดีที่นายปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์ อธิบดีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 1 ที่ถูกคำสั่งประธานศาลฎีกาย้ายไปช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ระหว่างการสอบสวนเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา เป็นจำเลย กรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

โดยศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษายกฟ้องคดีรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง

ศาลพิเคราะห์แล้วสรุปได้ว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโจทก์กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรงของจำเลยตามคำสั่งสำนักงานศาลยุติธรรมที่ 415/2564

ตลอดจนการที่จำเลยมีคำสั่งสำนักงานศาลยุติธรรม371/2564 ให้โจทก์ไปช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ดำเนินการตามขั้นตอน หลักเกณฑ์ ตลอดจนวิธีการสอบสวนตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ทั้งนี้กรณีมีเหตุกล่าวหาร้องเรียนโจทก์โดยผู้เสียหายและการกล่าวหานั้นมีข้อมูลหรือมีสาระหรือมีพยานหลักฐานพอที่จะสอบสวน จนมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ตามประกาศ ก.ต. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นต้น

กรณีข้าราชการตุลาการถูกกล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัย พ.ศ. 2544 ข้อ 3 ว่า โจทก์เข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการพิจารณาคดีหมายเลขดำที่ อท.84/2563 ของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ย่อมมีเหตุให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของคู่ความ หากจะให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ในศาลที่ดำรงตำแหน่งต่อไปจะเป็นการเสียหายต่อราชการศาลยุติธรรม

จำเลยจึงมีอำนาจโดยชอบที่จะออกคำสั่งย้ายโจทก์ไปช่วยทำงานชั่วคราวในศาลอื่นได้ โดยไม่จำต้องพิจารณาผลการสอบสวนข้อเท็จจริงในชั้นของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง หรือการลงมติของ ก.ต. ตามที่โจทก์กล่าวอ้างแต่อย่างใด

โดยเฉพาะเมื่อจำเลยมีคำสั่งแล้ว ได้นำเรื่องเข้าขอความเห็นชอบจาก ก.ต. ในการประชุมวันเดียวกันนั้น ก.ต. ให้ความเห็นชอบกรณีจำเลยมีคำสั่งดังกล่าว เช่นนี้ย่อมมิใช่เป็นการจำเลยใช้อำนาจโยกย้ายโจทก์ตามอำเภอใจเพื่อให้โจทก์เกิดความเสียหาย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ