ข่าว

"แอมเนสตี้"โดดป้อง"คาร์ม็อบ"ซัดเจ้าหน้าที่รัฐสลายชุมนุมนุมมุ่งสร้างความหวาดกลัว 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"แอมเนสตี้"ชี้ การสลายการชุมนุมและการพยายามจับกุมผู้ชุมนุมเผยให้เห็นความพยายามของรัฐในการสร้างความหวาดกลัว 

สืบเนื่องจากการสลายการชุมนุมโดยใช้กำลังจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่บริเวณโรงพยาบาลทหารผ่านศึก เขตดินแดง กรุงเทพ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ชุมนุมและผู้อยู่ใกล้เหตุการณ์ได้รับบาดเจ็บและมีผู้ชุมนุมอย่างน้อย 10  คนถูกจับกุมระหว่างและภายหลังการชุมนุม

อีกทั้งในวันที่ 2 สิงหาคม ยังมีการจับกุมผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นด้านหน้าสโมสรตำรวจอีกอย่างน้อย 33 คน โดยหนึ่งในนั้นมีเยาวชนอายุ 17 ปี รวมอยู่ด้วย 

ล่าสุด องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนได้ออกมาเคลื่อนไหว  โดย นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า การสลายการชุมนุมที่รุนแรงโดยการใช้กำลังจากเจ้าหน้าที่มุ่งเป้าเพื่อการปะทะและการจับกุมต่อผู้ชุมนุม ถือเป็นการปราบปรามอย่างเป็นระบบต่อกลุ่มหรือบุคคลที่เห็นต่างซึ่งออกมาใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ  

"แอมเนสตี้"โดดป้อง"คาร์ม็อบ"ซัดเจ้าหน้าที่รัฐสลายชุมนุมนุมมุ่งสร้างความหวาดกลัว  ทั้งนี้การใช้กฎหมายอย่างมิชอบเช่นนี้ยังตอกย้ำข้อกังวลต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกฎหมายที่คล้ายคลึงกันว่าเป็นเพียงข้ออ้างแบบเหมารวมและไม่ชอบด้วยกฎหมายตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยอ้างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้นจึงต้องมีการยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยทันที  

 

“การสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งทำให้บุคคลในพื้นที่นั้นบาดเจ็บเป็นการบ่งบอกถึงการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างสิ้นเชิง พ.ร.ก.ฉุกเฉินและกฎหมายใกล้เคียงถูกใช้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ในการจำกัดสิทธิของผู้ที่เห็นต่างและต้องการที่จะออกมาเรียกร้องเพื่อสิทธิของตนเอง 

"แอมเนสตี้"โดดป้อง"คาร์ม็อบ"ซัดเจ้าหน้าที่รัฐสลายชุมนุมนุมมุ่งสร้างความหวาดกลัว  การจับกุมผู้ชุมนุมทั้งสองวันนี้ทำให้เห็นถึงความพยายามอย่างมากของรัฐที่จะสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้ชุมนุมและผู้ที่เห็นต่างในสังคม โดยการเรียกร้องเพื่อสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม รวมทั้งการเรียกร้องการเข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง ควรเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องรับฟังจากประชาชน พร้อมทั้งนำข้อเรียกร้อง ข้อเสนอแนะและร้องเรียน รวมทั้งความทุกข์ยากของประชาชนไปปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไม่ใช่ใช้ดำเนินคดีเพื่อสร้างหวาดกลัวและทำให้คนในสังคมปิดปากเงียบ” 

ข้อมูลพื้นฐาน 

ในวันที่ 1 และ 2 สิงหาคม 2564 มีการจับกุมผู้ชุมนุมรวมอย่างน้อย 43 คน โดยหนึ่งในนั้นมีเยาวชนอายุ 17 ปีรวมอยู่ด้วย ในการชุมนุม “คาร์ม็อบ” เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ได้มีการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ภายหลังจากการประกาศยุติการชุมนุมแล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ใช้ความรุนแรงทั้งแก๊สน้ำตา กระบอง เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง และกระสุนยางอย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 3 ชั่วโมง  จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนได้รับบาดเจ็บ 

"แอมเนสตี้"โดดป้อง"คาร์ม็อบ"ซัดเจ้าหน้าที่รัฐสลายชุมนุมนุมมุ่งสร้างความหวาดกลัว 

กิจกรรมการชุมนุม“คาร์ม็อบ” หรือการชุมนุมด้วยรถยนต์ครั้งที่สาม เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ณ ใจกลาง กรุงเทพมหานคร โดยมีการตั้งขบวนที่บริเวณสนามบินนานาชาติดอนเมือง  นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเช่นเดียวกันในหลายๆ พื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดรวม 48 สถานที่ ใน 37 จังหวัด โดยมีข้อเรียกร้องหลักคือ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และสิทธิในการเข้าถึงวัคซีนอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

การใช้กำลังในการสลายการชุมนุม

กิจกรรมการชุมนุม“คาร์ม็อบ”ถูกจัดขึ้นระหว่างเวลา13.00 น.-16.40 น.ซึ่งภายหลังจากการประกาศยุติกิจกรรมเวลา 17.30 น.สื่อออนไลน์รายงานสถานการณ์บริเวณโรงพยาบาลทหารผ่านศึก  กรมทหารฯราบที่ 1 และบริเวณถนนวิภาวดีใกล้แยกสามเหลี่ยมดินแดง มีการใช้แก๊สน้ำตา กระสุนยาง รวมไปถึงการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง พร้อมทั้งตรึงกำลังหน่วยควบคุมฝูงชน และเจ้าหน้าที่ได้ยิงแก๊สน้ำตา 3-4 ครั้งโดยไม่มีการประกาศเตือนการใช้อาวุธหรืออุปกรณ์ก่อนการสลายการชุมนุม เมื่อสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ผู้ชมนุมบางส่วนขว้างปาสิ่งของและประชิดแนว หน่วยควบคุมฝูงชน เจ้าหน้าที่จึงใช้แก๊สน้ำตา เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง และยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุม เวลาประมาณ 20.30 น. เจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ก่อนถึงเวลาเคอร์ฟิว จนเวลา 20.45 น. หน่วยควบคุมฝูงชนได้ตั้งแนวอีกครั้งและเข้ากระชับพื้นที่ โดยมีการรายงานจากสำนักข่าว Voice TV ว่าช่วงเวลาดังกล่าวมีการยิงกระสุนยางในระยะประชิด และใช้ปืนยิงกระสุนยางยกขึ้นจ่อที่บริเวณศีรษะผู้ชุมนุมที่กำลังขับรถจักรยานยนต์ออกจากพื้นที่ และมีการยิงกระสุนยางใส่บริเวณกลางหลังในระยะประชิด จนถึงเวลาประมาณ 22.00 น. เจ้าหน้าที่ยังตรึงกำลังบริเวณดังกล่าว

การใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่นั้นไม่ได้เป็นไปตามสัดส่วน ความจำเป็น และขั้นตอน ไม่มีการแยกกันบุคคลที่เข้าร่วมการชุมนุมอย่างสงบ และสื่อสารเพื่อลดความรุนแรงทางกายภาพ ซึ่งในรายงานเจ้าหน้าที่มีการใช้แก๊สน้ำตา และกระสุนยางอย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 3 ชั่วโมง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่มีการใช้กระสุนยางในระยะประชิดโดยเล็งไปที่ร่างกายท่อนบนอย่างชัดเจน ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บและเป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญ 

การจับกุมผู้ชุมนุม

มีการควบคุมคุมตัว แกนนำเครือข่ายนนทบุรีที่เข้าร่วมทำกิจกรรมคาร์ม็อบ
โดย เวลาประมาณ 12.00 น. ขณะที่ขบวนผ่านมาถึงบริเวณก่อนถึงประตูทางเข้าศูนย์ราชการฯ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า เจ้าพนักงานตํารวจได้เข้าแสดงตัวและทําการควบคุมตัวบุคคลรวม 7 คน โดยแจ้งให้ข้อกล่าวหา ก่อนถูกควบคุมตัวไปที่สภ.รัตนาธิเบศ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ได้นำตัวทั้ง 7 คนไปควบคุมยังกองบัญชาการตํารวจตระเวนชายแดน ภาค 1 จังหวักปทุมธานี และต่อปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง 7 คน โดยที่ยังไม่ได้มีการสอบปากคำ และไม่ต้องวางหลักประกัน โดยทั้งสามถูกแจ้งข้อหา 3 ข้อหา

  • ฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

  • ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370 มีหลักคือ ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 พันบาท

  • ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการโมษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493โฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง โดยไม่ขออนุญาต

ขณะที่หลังยุติการชุมนุม เวลาประมาณ 23.40 น. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้รับแจ้งว่ามีผู้ถูกจับกุมกลุ่มคนขับรถเครื่องเสียง จำนวน 3 ราย โดยถูกควบคุมตัวอยู่ที่ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ภายในสโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต ทั้ง 3 คน ถูกแจ้งข้อหา 4 ข้อหา ได้แก่

  • ฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

  • ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 กีดขวางทางสาธารณะ

  • ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

  • ความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 ใช้เครื่องเสียงไม่ได้รับอนุญาต

ในวันที่ 2 สิงหาคม 2564 พนักงานสอบสวนสน.สำราญราษฎร์ยื่นขอฝากขังทั้งสามคนผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์จากในกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ก่อนที่เวลา 10.40 น. ศาลแขวงดุสิตอนุญาตให้ประกันตัวทั้งสามคน โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ แต่ให้สาบานตนว่าจะมาตามนัด ขณะที่กลุ่มทะลุฟ้าเดินทางไปที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เพื่อเรียกร้องปล่อยตัวทั้งสามตั้งแต่เวลา 10.00 น. จนนำไปสู่การจับกุมกลุ่มทะลุฟ้าเพิ่มเติมถึง 33 คน 31 คนถูกควบคุมตัวไป กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 และ 2 คนถูกนำตัวไปสน. สุทธิสาร

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ