ข่าว

"ศรีสุวรรณ" โวย สปน. "โยนกลอง" สอบ" 16องค์กรทิพย์" ในองค์กรของผู้บริโภค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นายกสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย"ศรีสุวรรณ จรรยา"โวยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี"โยนกลอง"สอบ"16 องค์กรทิพย์" ใน 151 องค์กรผู้บริโภคที่ร่วมมือกันจัดตั้ง"สภาองค์กรของผู้บริโภค" เป็นหน้าที่ของสมาคมฯไปร้องขอต่อผู้ว่าฯเองใน ตจว.


ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยที่ขอให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน. )ตรวจสอบสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภค ที่ประสงค์จะเข้าร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิกของ"สภาองค์กรของผู้บริโภค" นั้น

 

นายศรีสุวรรณ เปิดเผยความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า เป็นเรื่องแปลกที่ สปน.โยนให้ตนซึ่งเป็นผู้ร้องไปติดตามหาข้อเท็จจริงเองทั้งที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นนายทะเบียนกลางที่รับรองสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภค 151 องค์กร ที่ได้แจ้งหรือประสงค์จะเข้าร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิก"สภาองค์กรของผู้บริโภค"เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 

 

ทั้งนี้สืบเนื่องจากวันที่ 12 ตุลาคม 2563 สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้มอบตารางบัญชีรายชื่อองค์กรของผู้บริโภคที่ขอเป็นผู้เริ่มก่อการและองค์กรของผู้บริโภคที่ยินยอมในการเข้าร่วมจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค จึงขอให้นายทะเบียนกลาง ใช้อำนาจตามมาตรา 8 ตรวจสอบสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภค 151 องค์กร ที่ได้แจ้งหรือประสงค์จะเข้าร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิก"สภาองค์กรของผู้บริโภค"ว่าเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นที่ประจักษ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันยี่นแจ้งอย่างไร 

 

 

ในกรณีที่นายทะเบียนกลาง เห็นว่า องค์กรของผู้บริโภคมีลักษณะไม่ถูกต้องตามมาตรา 5 ให้เพิกถอนการรับแจ้งเสีย และให้แจ้งความดำเนินคดีอาญาฐานแจ้งความเท็จด้วย

 

แต่หากนายทะเบียน ยืนยันว่าองค์กรของผู้บริโภคเหล่านั้น มีผลงานการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นที่ประจักษ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันยื่นแจ้ง

 

สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ขอใช้สิทธิตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540 ขอหลักฐานผลงานเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นที่ประจักษ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันยื่นแจ้งขององค์กรของผู้บริโภคนั้น ๆด้วย 

 

ทั้งนี้" นายทะเบียนกลาง" ได้ตอบกลับ สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เป็นข้อ ๆ ดังนี้

 

1. นายทะเบียน ที่มีอำนาจพิจารณารับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภค ตามพ.ร.บ.จัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค 2562 มาตรา 7 คือ นายทะเบียนกลาง (ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ซึ่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นนายทะเบียนกลาง) มีหน้าที่รับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคได้ทั่วราชอาณาจักร

 

และนายทะเบียนประจำจังหวัด(ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดมีหน้าที่รับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคภายในจังหวัดนั้นและเมื่อได้รับแจ้งแล้วให้ส่งรายชื่อองค์กรของผู้บริโภคให้นายทะเบียนกลางโดยเร็วเพื่อประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป

 

2. จากข้อ 1 เห็นว่า องค์กรของผู้บริโภคที่นายทะเบียนไม่ว่าจะเป็นนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัด จะรับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคตามพ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค 2562 ได้นั้น องค์กรของผู้บริโภคนั้น ๆ จะต้องมีคุณสมบัติและลักษณะครบถ้วนทั้ง 3 ประการ กล่าวคือ

 

ก.)เป็นองค์กรของผู้บริโภคตามบทนิยามในมาตรา 2

 

ข.) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 5 และ 

 

3 มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นที่ประจักษ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันยื่นแจ้งตามมาตรา 6 วรรคสอง

 

ซึ่งอำนาจในการพิจารณาว่าองค์กรของผู้บริโภคใดครบตามเงื่อนไขของมาตรา 3 มาตรา 5 ประกอบมาตรา 6 วรรคสองหรือไม่เป็นอำนาจโดยเฉพาะของนายทะเบียนที่องค์กรของผู้บริโภคยื่นคำขอแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภค 

 

กรณียื่นคำขอต่อนายทะเบียนกลาง ผู้มีอำนาจพิจารณาว่าองค์กรของผู้บริโภคเป็นไปตามเงื่อนไขตังกล่าวหรือไม่ คือนายทะเบียนกลาง 

 

ส่วนกรณีที่ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนประจำจังหวัด ผู้มีอำนาจพิจารณาว่าองค์กรของผู้บริโภคเป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวหรือไม่ คือ นายทะเบียนประจำจังหวัด ตามความในมาตรา 7

 

และเมื่อได้รับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคแล้ว นายทะเบียนกลางจะประกาศรายชื่อองค์กรของผู้บริโภค นั้นให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป

 

ซึ่งองค์กรของผู้บริโภคที่นายทะเบียนกลางประกาศรายชื่อดังกล่าวจะมีสิทธิตามความในมาตรา 9 คือ สิทธิรวมตัวกันเป็นผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคและสิทธิในการยินยอมเข้าร่วมในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค

 

3.กรณีตามหนังสือร้องเรียนของสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย มีความเห็นดังนี้ 

 

3.1 การขอให้นายทะเบียนกลาง ตรวจสอบสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภค 151 องค์กร ที่ได้แจ้งหรือประสงค์จะเข้าร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิกสภาองค์กรของผู้บริโภคเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ว่า เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นที่ประจักษ์มาแล้วไม่น้องกว่า 2 ปีก่อนวันยื่นแจ้งอย่างไรนั้น

 

เห็นว่า อำนาจในการพิจารณาสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี 

 

กรณีที่ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนกลางนั้น นายทะเบียนกลางได้พิจารณารับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคจนเป็นที่แน่ใจว่าเป็นองค์กรที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว จึงได้รับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคโดยออกหลักฐานการรับแจ้งตามแบบ อกผ.2 และประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป ตามแบบ อกผ.3 ต่อไป 

 

ส่วนกรณีที่องค์กรของผู้บริโภค ยื่นแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคต่อนายทะเบียนประจำจังหวัด นายทะเบียนประจำจังหวัดมีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาให้เป็นไปตามเงื่อนไขของมาตรา 3 มาตรา 5 และมาตรา 6 วรรคสอง

 

หากเห็นว่าเป็นไปตามเงื่อนไขถูกต้องครบถ้วน นายทะเบียนประจำจังหวัด จะรับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคโดยออกหลักฐานการรับแจ้งตามแบบ อกผ.2  และแจ้งนายทะเบียนกลางเพื่อประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปตามแบบ อกผ. 3 ต่อไป ตามมาตรา 6 วรรคห้า 

 

ซึ่งจะเห็นได้ว่าในขั้นตอนการรับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคของนายทะเบียนประจำจังหวัดนั้นเป็นอำนาจของนายทะเบียนประจำจังหวัด นายทะเบียนกลางไม่อาจก้าวล่วงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของนายทะเบียนประจำจังหวัดได้ ดังนั้น นายทะเบียนกลางจึงไม่อาจตรวจสอบตามข้อร้องเรียนดังกล่าวได้

 

อย่างไรก็ดี กฎหมายเปิดช่องให้นายทะเบียนกลางก้าวล่วงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของนายทะเบียนประจำจังหวัดได้ก็ต่อเมื่อมีผู้คัดค้านว่าองค์กรของผู้บริโภคที่ได้แจ้งไว้ตามมาตรา 6 มีลักษณะไม่ถูกต้องตามมาตรา 5

 

โดยผู้คัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านพร้อมทั้งหลักฐานนายทะเบียนกลาง เมื่อนายทะเบียนกลางได้รับคำคัดค้านแล้ว นายทะเบียนกลางจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง

 

ในกรณีที่เห็นว่าองค์กรของผู้บริโภคนั้นมีลักษณะไม่ถูกต้องตามมาตรา 5 ให้เพิกถอนการรับแจ้ง พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ร้องและองค์กรของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนกลางตามมาตรา 8 

 

เมื่อตามหนังสือร้องเรียนดังกล่าวของสมาคมฯ มีใช่การคัดค้านว่าองค์กรของผู้บริโภคที่ได้แจ้งไว้ตามมาตรา 6 มีลักษณะไม่ถูกต้องตามมาตรา 5 เนื่องจากไม่ปรากฎว่าสมาคมฯได้เสนอหลักฐานประกอบคำคัดค้านต่อนายทะเบียนกลาง ดังนั้น นายทะเบียนกลางจึงไม่อาจดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อเพิกถอนการรับแจ้งสถานะความเป็นองของผู้บริโภคตามข้อร้องเรียนดังกล่าวได้ 

 

ทั้งนี้หากสมาคมฯมีหลักฐานว่าองค์กรของผู้บริโภคที่นายทะเบียนได้รับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคและนายทะเบียกลางได้ประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปแล้วนั้น มีลักษณะไม่ถูกต้องตามมาตรา 5 ก็ไม่ตัดสิทธิที่สมาคมฯจะเสนอหลักฐานประกอบการคัดค้านในภายหลังเพื่อ"นายทะเบียนกลาง"จะได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามนัยมาตรา 8 ต่อไป

 

3.2 กรณีการขอใช้สิทธิตามพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540 เพื่อขอหลักฐาน ผลงานเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ประจักษ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนวันยื่นแจ้งขององค์กรของผู้บริโภคนั้น เห็นว่า องค์กรของผู้บริโภคทั้ง 151 องค์กร แยกเป็นองค์กรของผู้บริโภคที่นายทะเบียนกลางรับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคจำนวน 14 องค์กร

 

ซึ่งเอกสารผลงานดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไม่ขัดข้องในการขอสำเนาเอกสารผลงานดังกล่าวแต่เนื่องจากเอกสารผลงานมีจำนวนค่อนข้างมาก สมาคมฯจึงต้องเสียค่าคัดถ่ายสำเนาเอกสารด้วย 

 

ส่วนกรณีที่นายทะเบียนประจำจังหวัดรับแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภค 137 องค์กรนั้น เอกสารผลงานอยู่ในความครอบครองของนายทะเบียนประจำจังหวัด สมาคมฯจึงอาจขอสำเนาเอกสารดังกล่าวจากนายทะเบียนประจำจังหวัดด้วยตนเองต่อไป 

 

นายศรีสุวรรณ บอกว่า จากการตรวจสอบของสมาคมฯและเครือข่ายฯ สงสัย" 16 องค์กรทิพย์" อาจจัดตั้งไม่ครบ 2 ปี

 

"ศรีสุวรรณ" โวย สปน. "โยนกลอง" สอบ" 16องค์กรทิพย์" ในองค์กรของผู้บริโภค

 

 

"ศรีสุวรรณ" โวย สปน. "โยนกลอง" สอบ" 16องค์กรทิพย์" ในองค์กรของผู้บริโภค

 

 

"ศรีสุวรรณ" โวย สปน. "โยนกลอง" สอบ" 16องค์กรทิพย์" ในองค์กรของผู้บริโภค

 

ข่าวเกี่ยวข้อง

 

"ศรีสุวรรณ" บุกกระทรวงยุติธรรม ยืนชำแหละ 152 องค์กรผู้บริโภคทิพย์

 

'สภาองค์กรของผู้บริโภค'ยินดีให้ทุกฝ่ายตรวจสอบ เตือน"ศรีสุวรรณ"หยุดปั่นกระแสสังคมสร้างความไม่ไว้วางใจ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ