ข่าว

สถานการณ์ฉุกเฉิน ส.ว. หนุนรัฐบาล ออก พ.ร.ก.โอนเงิน สู้โควิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ส.ว." หนุน "รัฐบาล​" ออก พ.ร.ก.โอนเงิน ชี้ทำได้ไม่ผิดรธน. เหตุ ม.172 มีบทยกเว้น ไม่ต้องตราเป็น พ.ร.บ.- ไม่ต้องเปิดประชุมร่วมรัฐสภา

 

 

          เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2563 - นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แสดงความเห็นสนับสนุนมาตรการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ของแต่ละกระทรวง จำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้รัฐบาลใช้เพื่อกู้วิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดในประเทศไทย รวมถึงการให้สิทธิกระทรวงการคลังกู้เงิน โดยรูปแบบของการออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เนื่องจากสภาพปัญหาของวิกฤตโควิด-19 นั้น เป็นสถานการณ์ที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้  

 

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง

ไม่ต้องเปิดสภาฯ​วิสามัญ ดันกม.โอนงบ-กู้เงิน

โควิดลาม "รบ." ประสาน "สำนักข่าว" ไม่ต้องส่งทีมมาทำเนียบฯ

"ส.ส.ก้าวไกล" เสนอ กองทุน กยศ. พักชำระหนี้ให้ลูกหนี้ 1 ปี

 

 

          แม้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 140 และ มาตรา 141 จะกำหนดให้งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินต้องทำเป็น พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แต่กรณีของวิกฤตโควิด-19 ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ โดยในชั่วชีวิตไม่เคยมีสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น จึงเข้าข่ายการตราเป็น พ.ร.ก. ได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 ที่ระบุว่า เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ พระมหากษัตริย์ จะทรงตราพระราชกําหนดให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้ กำหนดไว้ และมาตราดังกล่าวให้สิทธิคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

 

          นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่อาจมีผู้เห็นต่างว่า การโอนงบประมาณต้องทำเป็น พ.ร.บ. ตามรัฐธรรมนูญกำหนด และเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมาย โดยใช้วิธีพิจารณาแบบ 3 วาระรวดได้นั้น ตนมองว่ามาตรา 172 เป็นบทบัญญัติให้ยกเว้นได้ เพราะเข้าเงื่อนไข คือ เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้การเปิดประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณานั้นช่วงวิกฤตไวรัสโควิด-19 อาจไม่เหมาะสม เพราะต้องมีผู้ร่วมประชุมเป็นจำนวนกว่า 1,000 คน
   

          "งบประมาณรายจ่ายที่หน่วยงานได้รับ ตามกฎหมายงบปี 63 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เห็นได้จากการขอรับบริจาคเงินจากโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ดังนั้นผมเห็นว่า สมควรออกกฎหมายโอนงบประมาณได้ หากตัดงบจากทุกหน่วยงาน จำนวน 10 เปอร์เซ็นต์ จะได้เงิน 3.3 แสนล้านบาท หากตัด 20 เปอร์เซ็นต์ จะได้ 6.6 แสนล้านบาท และหากตัด30 เปอร์เซ็นต์จะได้ 1 ล้านล้านบาท แต่หากการโอนงบประมาณยังมีเงินไม่พอ ผมขอเสนอให้ ใช้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน ทั้งนี้ผมสนับสนุนให้รัฐบาลใช้กฎหมายโอนเงินก่อน เป็นอันดับแรก" นายคำนูณ ระบุ​. 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ