ข่าว

เตรียมจ่ายเพิ่ม ดีเดย์ ส.ค.​เก็บภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"อนุพงษ์" ดีเดย์ ส.ค.​เก็บภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง ย้ำต้องเร่งจัดเก็บให้ท้องถิ่นมีรายได้ เผยเร่งท้องถิ่นกระจายข่าว-ทำความเข้าใจปชช. ด้าน "สันติ" ย้ำส่งกรมธนารักษ์ทำมาตรฐานกลาง เสียภาษี แย้มที่ดินร้างที่ดัดแปลงเร่งด่วน หากตรวจพบไม่สุจริต ถูกเก็บย้อนหลัง

 

 

          เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2563 - พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตอบกระทู้ถามสด เรื่อง การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ในที่ประชุมวุฒิสภา ต่อประเด็นการบังคับใช้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ถูกให้ชะลอการบังคับใช้ว่า กฎหมายฉบับดังกล่าวต้องถูกบังคับใช้ เพราะกฎหมายฉบับเดิมนั้นยกเลิกการบังคับใช้แล้ว โดยภายในเดือนสิงหาคมนี้ การบังคับใช้และการจัดเก็บภาษีต้องเริ่มขึ้น และต้องเร่งการจัดเก็บให้เป็นไปตามข้อกำหนดเพื่อให้ท้องถิ่นมีงบประมาณเพื่อดำเนินการ ทั้งนี้ในหน่วยงานที่รับไปปฏิบัติ 7,000 หน่วย อยู่ระหว่างซักซ้อม และทำความเข้าใจต่อการบังคับใช้กฎหมาย ขณะที่ส่วนของประชาชน กระทรวงมหาดไทยให้ผู้บริหารท้องถิ่นแจ้งข่าวสารผ่านหอกระจายข่าว, ประชาคมหมู่บ้าน เฉพาะประเด็นที่ประชาชนควรรู้เท่านั้น ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดปฏิทินเวลาสร้างความเข้าใจต่อการทำงานและข้อปฏิบัติของประชาชน

 

          ทั้งนี้ นายสันติ พร้อมพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า กรมธนารักษ์ คือ ผู้ประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นราคามาตรฐานให้ท้องถิ่นเริ่มต้นคำนวณภาษีที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องชำระ ฐานภาษีที่กรมธนารักษ์ จัดแบ่งไว้ มีทั้งสิ้น 4 กลุ่มของฐานภาษี ได้แก่ 1.ฐานภาษีที่ดิน ที่ประกอบเกษตรกรรมทุกประเภท รวมถึง ปศุสัตว์, ปลูกพืช ร้อยละ 0.01 - 0.1 เป็นอัตราต่ำสุดเพื่อให้เกษตรกรนำไปคำนวณ หากไม่ถึงฐานภาษี 50 ล้านไม่ต้องเสียภาษี 2.ฐานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อที่อยู่อาศัย ทุกประเภท อาทิ บ้าน, คอนโดมิเนียม เก็บร้อยละ  0.02 - 0.1 แต่กรณีที่ปล่อยเช่า หรือประกอบกิจการพาณิชย์ ต้องเสียภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.ฐานภาษีที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย เช่น อาคารพาณิชย์, ศูนย์การค้า ต้องเสียภาษี ร้อยละ 0.3-0.7 และ 4.ฐานภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ใช้ประโยชน์ ทิ้งว่าง เก็บภาษีร้อยละ 0.3 หากเป็นพื้นที่ทิ้งร้างไม่ใช้ประโยชน์ ทุกๆ 3 ปีจะเก็บเพิ่ม 1 เท่า 

 

          "กรมธนารักษ์ และกระทรวงมหาดไทยจะเข้าไปตรวจสอบ เพื่อใหัความเป็นธรรมกับผู้ถือครอง และลดการใช้ดุลยพินิจประเมินภาษีที่สูงหรือต่ำเกินกว่าเหตุ ส่วนพื้นที่ทิ้งร้างที่ถูกแปลงเพื่อหลบเลี่ยงฐานภาษีที่แท้จริง เช่น ปลูกมะนาว มี 18 กฎหมายรอง ดูแลจัดการ ผู้ที่ไม่สุจริต การแปลงสภาพของที่ดินปัจจุบันแบบทันด่วน หรือไม่สุจริตต่อการเสียภาษี เชื่อว่าท้องถิ่นได้รับข้อมูลจะส่งมายังที่กรมธนารักษ์ เพื่อตีความผ่านคณะกรรมการฯ เพื่อประเมินถึงเจตนาที่สุจริตหรือไม่ และจะเก็บภาษีย้อนหลัง" นายสันติ ชี้แจง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ