ข่าว

คล้ายลิงแก้แห โทษเครื่อง-เสียบบัตรผิดด้าน-ลืมกด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คล้ายลิงแก้แห "ร่างกม.งบฯ63" วุ่นไม่จบ หลังถูกท้วง ส.ส.ลงคะแนนมาตรา6 ต่ำกว่าเกณฑ์กึ่งหนึ่ง ต้องเริ่มใหม่ ตรวจสอบพบ ส.ส. เสียงโหวตหาย 11 เสียง โทษเครื่อง-เสียบบัตรผิดด้าน-ลืมกด

 

 

                       รัฐสภา - 13 กุมภาพันธ์ 2563 -ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 วงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท วาระสองและวาระสาม ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สภาฯ ดำเนินการลงมติใหม่ ได้ดำเนินการลงมติเป็นรายมาตรา จนถึงมาตรา 31 งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของศาล ที่ประชุมซึ่งมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม ได้สั่งพักการประชุม 30 นาที เมื่อเวลา 12.45 น. เพื่อให้ส.ส.ได้พักรับประทานอาหารและทำธุระส่วนตัว  

 

 

อ่านข่าว - 5 ส.ส.เศรษฐกิจใหม่ หนุนฝั่งรัฐบาล ลงชื่อองค์ประชุม-โหวตร่างกม.งบฯ63

               

 

 

 

 

คล้ายลิงแก้แห โทษเครื่อง-เสียบบัตรผิดด้าน-ลืมกด

 

 

 

                  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพักการประชุมดังกล่าวนานเกินเวลา 30 นาที เนื่องจากตัวแทนของฝั่งรัฐบาล ได้หารือต่อประเด็นการลงมติ มาตรา 6 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง ที่พบว่าจำนวนส.ส.ที่ลงมติ น้อยกว่าองค์ประชุมที่นับสมาชิกต้องมีกึ่งหนึ่ง คือ  249คน จากส.ส.ที่มีทั้งหมด 498 คน  คือ แสดงตนก่อนการลงคะแนน  253 คน แต่ปรากฎจำนวนที่ลงคะแนน 238 คน ทำให้ที่ประชุมกลับมาเปิดการพิจารณาอีกครั้ง เมื่อเวลา 14.15 น.  

 

 

                  โดยก่อนเข้าสู่มาตราที่ค้างพิจารณาตามลำดับ นายชวน หารือกับที่ประชุมต่อปัญหามาตรา 6 เกี่ยวกับการนับองค์ประชุม และลงมติ ที่มีความเห็นแตกต่างกัน ทั้งฝ่ายกฎหมายและฝ่ายการเมือง ทั้งนี้มีส.ส.ที่กังวลเป็นพิเศษจำนวนลงมติที่ได้เสียงไม่ครบเกณฑ์กึ่งหนึ่งของที่ประชุม และอาจถูกยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย ทำให้ร่างพ.ร.บ.งบฯ 63 ล่าช้า 

 

 

คล้ายลิงแก้แห โทษเครื่อง-เสียบบัตรผิดด้าน-ลืมกด

       

 

 

      จากนั้นนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ  ฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)  อภิปรายด้วยว่า มาตรา 6 ที่ลงมติไม่ครบองค์ประชุมนั้น ตนสงสัยว่าอาจเป็นข้อผิดพลาดคือ กดลงคะแนนไม่ขึ้น หรือ เสียบบัตรกลับด้าน หรือเสียบบัตรแล้วลืมกด เพราะจากการตรวจสอบระยะเวลาตรวจสอบองค์ประชุมและลงมติ ห่างกันเพียง 1 นาทีเท่านั้น และพบว่ามีส.ส.จำนวน 8 คนที่หายจากการลงคะแนนแต่ตนสอบถามส.ส.ทั้ง 8 คนยืนยันว่าอยู่ภายในห้องประชุม อย่างไรก็ตามเพื่อให้ทำให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ขอให้สภาฯ ลงมติใหม่ตั้งแต่มาตรา 6 จนถึงมาตรา 31 เพื่อไม่ให้ใครนำเรื่องไปฟ้องว่าทำผิดขั้นตอนรัฐธรรมนูญ
 

 

คล้ายลิงแก้แห โทษเครื่อง-เสียบบัตรผิดด้าน-ลืมกด

     

 

              ทางด้านนายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาฯ ชี้แจงยืนยันว่า ขั้นตอนการตรวจสอบองค์ประชุมถูกต้อง และมีส.ส.แสดงตนเกิน249 คนทุกมาตรา ส่วนข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น จากการตรวจสอบช่วงการแสดงตน เวลา 11.17 นาที แสดงตน 253 คน และการลงมติ เมื่อเวลา 17.18 น. พบว่าหายไป 8 คน ซึ่งความผิดพลาดจะเกิดขึ้นได้ คือ ทางอิเล็กทรอนิกส์, เสียบบัตรผิดด้าน หรือ ลืมเสียบบัตร    

  

 

             ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากนั้น ส.ส.ที่ถูกอ้างว่าหายไป อาทิ นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา, นายธีรภัทร พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ลุกยืนยันว่าได้อยู่ในห้องประชุมทั้งการแสดงตนและลงมติ

 

 

คล้ายลิงแก้แห โทษเครื่อง-เสียบบัตรผิดด้าน-ลืมกด

 

 

             ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการแก้ปัญหาที่นายชวนยกหารือ มีส.ส.เสนอความเห็นที่หลากหลาย ทั้งการลงมติใหม่ เพียงแค่มาตราที่มีปัญหา แต่ส.ส.หลายคนเสนอให้ปิดการประชุมและเปิดประชุมใหม่ เพื่ออภิปรายตั้งแต่มาตราแรก โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทยเสนอให้นายชวน ปิดการประชุมและลงมติใหม่ ตั้งแต่มาตราหนึ่งอีกครั้ง เพื่อให้กระบวนการเป็นไปอย่างต่อเนื่องตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยกรณี พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) สมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ปี 2551 จำนวน 7 ฉบับที่พบว่ากระบวนการตราไม่ถูกต้องเพราะองค์ประชุมไม่ครบทำให้ร่างพ.ร.ป.ตกไป  ดังนั้นตนมองว่าสภาฯ ได้พิจารณาถึงมาตรา 31 แล้ว จะย้อนลงมติใหม่ มาตรา 6 อาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ ทำให้นายชวน วินิจฉัยว่าขอให้สภาฯ เร่ิมการพิจารณาวาระสอง ใหม่อีกครั้งตั้งแต่ชื่อร่าง

 


    

คล้ายลิงแก้แห โทษเครื่อง-เสียบบัตรผิดด้าน-ลืมกด

 

 

               ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การพักการประชุมดังกล่าวนานเกินเวลา 30 นาที เนื่องจากตัวแทนของฝั่งรัฐบาล ได้หารือต่อประเด็นการลงมติ มาตรา 6 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง ที่พบว่าจำนวนส.ส.ที่ลงมติ น้อยกว่าองค์ประชุมที่นับสมาชิกต้องมีกึ่งหนึ่ง คือ  249คน จากส.ส.ที่มีทั้งหมด 498 คน  คือ แสดงตนก่อนการลงคะแนน  253 คน แต่ปรากฎจำนวนที่ลงคะแนน 238 คน ทำให้ที่ประชุมกลับมาเปิดการพิจารณาอีกครั้ง เมื่อเวลา 14.15 น.  

 

 

                   โดยก่อนเข้าสู่มาตราที่ค้างพิจารณาตามลำดับ นายชวน หารือกับที่ประชุมต่อปัญหามาตรา 6 เกี่ยวกับการนับองค์ประชุม และลงมติ ที่มีความเห็นแตกต่างกัน ทั้งฝ่ายกฎหมายและฝ่ายการเมือง ทั้งนี้มีส.ส.ที่กังวลเป็นพิเศษจำนวนลงมติที่ได้เสียงไม่ครบเกณฑ์กึ่งหนึ่งของที่ประชุม และอาจถูกยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย ทำให้ร่างพ.ร.บ.งบฯ 63 ล่าช้า 

 

                      จากนั้นนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ  ฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)  อภิปรายด้วยว่า มาตรา 6 ที่ลงมติไม่ครบองค์ประชุมนั้น ตนสงสัยว่าอาจเป็นข้อผิดพลาดคือ กดลงคะแนนไม่ขึ้น หรือ เสียบบัตรกลับด้าน หรือเสียบบัตรแล้วลืมกด เพราะจากการตรวจสอบระยะเวลาตรวจสอบองค์ประชุมและลงมติ ห่างกันเพียง 1 นาทีเท่านั้น และพบว่ามีส.ส.จำนวน 8 คนที่หายจากการลงคะแนนแต่ตนสอบถามส.ส.ทั้ง 8 คนยืนยันว่าอยู่ภายในห้องประชุม อย่างไรก็ตามเพื่อให้ทำให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ขอให้สภาฯ ลงมติใหม่ตั้งแต่มาตรา 6 จนถึงมาตรา 31 เพื่อไม่ให้ใครนำเรื่องไปฟ้องว่าทำผิดขั้นตอนรัฐธรรมนูญ
 

 

                         ทางด้านนายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาฯ ชี้แจงยืนยันว่า ขั้นตอนการตรวจสอบองค์ประชุมถูกต้อง และมีส.ส.แสดงตนเกิน249 คนทุกมาตรา ส่วนข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น จากการตรวจสอบช่วงการแสดงตน เวลา 11.17 นาที แสดงตน 253 คน และการลงมติ เมื่อเวลา 17.18 น. พบว่าหายไป 8 คน ซึ่งความผิดพลาดจะเกิดขึ้นได้ คือ ทางอิเล็กทรอนิกส์, เสียบบัตรผิดด้าน หรือ ลืมเสียบบัตร    

 

 

                            ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากนั้น ส.ส.ที่ถูกอ้างว่าหายไป อาทิ นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา, นายธีรภัทร พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ลุกยืนยันว่าได้อยู่ในห้องประชุมทั้งการแสดงตนและลงมติ

 

                          ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการแก้ปัญหาที่นายชวนยกหารือ มีส.ส.เสนอความเห็นที่หลากหลาย ทั้งการลงมติใหม่ เพียงแค่มาตราที่มีปัญหา แต่ส.ส.หลายคนเสนอให้ปิดการประชุมและเปิดประชุมใหม่ เพื่ออภิปรายตั้งแต่มาตราแรก โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทยเสนอให้นายชวน ปิดการประชุมและลงมติใหม่ ตั้งแต่มาตราหนึ่งอีกครั้ง เพื่อให้กระบวนการเป็นไปอย่างต่อเนื่องตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยกรณี พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) สมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ปี 2551 จำนวน 7 ฉบับที่พบว่ากระบวนการตราไม่ถูกต้องเพราะองค์ประชุมไม่ครบทำให้ร่างพ.ร.ป.ตกไป  ดังนั้นตนมองว่าสภาฯ ได้พิจารณาถึงมาตรา 31 แล้ว จะย้อนลงมติใหม่ มาตรา 6 อาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้ ทำให้นายชวน วินิจฉัยว่าขอให้สภาฯ เร่ิมการพิจารณาวาระสอง ใหม่อีกครั้งตั้งแต่ชื่อร่าง

 

                       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบเอกสารของสำนักการประชุม สภาผู้แทนราษฎร ที่ลงมติมาตรา 6ทั้งการแสดงตนและลงคะแนน พบว่า มีผู้แสดงตนทั้งสิ้น  253 คน ส่วนผลการลงคะแนนมี 238 คน โดยผู้ที่แสดงตนแต่ไม่ปรากฎผลลงคะแนน มีทั้งสิ้น 11 คนได้แก่  1.นายชัยวัฒน์​ เป้าเปี่ยมทรัพย์ ส.ส.ฉะเชิงทรา พรรคพลังประชารัฐ 2.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐ 3.นายธีรภัทร พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ 4.นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา 5.นายรงค์ บุญสวยขวัญ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ 6.นายรังสิกร ทิมาตฤกะ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย  7.นายวิวรรธน์ นิลวัชรมณี ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ 8.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรพลังประชารัฐ 9.นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์​ 10.นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ และ 11.นายอภิชัย เตชะอุบล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ​

 

 

                       ส่วนผลการลงคะแนนที่มี 238 คน นั้นพบว่า มีส.ส.จำนวน 3 คนที่ร่วมลงคะแนน แต่ไม่ใช้สิทธิแสดงตน คือ  นายชวน ,  นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย และนายสายัณห์ ยุติธรรม ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคพลังประชารัฐ.

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ