ข่าว

ศาลฎีกานัดตัดสิน เลี่ยงภาษีขายหุ้นชินฯ โอ๊ค เอม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ลุ้นอีกคดี ศาลฎีกานัดตัดสิน 'เบญจา หลุยเจริญ'  ช่วย "โอ๊ค-เอม" เลี่ยงภาษีขายหุ้นชินฯ

 

 

        26 พ.ย.2562 เวลา 10.00 น. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางเบญจา หลุยเจริญ อดีต รมช.คลัง สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร นายกริช วิปุลา นุสาสน์ ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร

 

 

 

 

ศาลฎีกานัดตัดสิน เลี่ยงภาษีขายหุ้นชินฯ โอ๊ค เอม

 

 

            และ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมาน ณ ป้องเพชร อดีตภรรยานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีไม่ให้นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร (คุณากรวงศ์) บุตรของนายทักษิณ ต้องเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย จากกรณีการซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 เสียหายกว่า 7.9 พันล้านบาท

 

 

          โดยคดีนี้ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น นางเบญจา น.ส.จำรัส น.ส.โมรี และนายกริช มีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 83 จำคุกคนละ 3 ปี ส่วน น.ส.ปราณี มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 86 มีโทษ 2 ใน 3 ให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของจำเลยทั้งหมด จึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ

 

 

           สำหรับรายละเอียดคดีนี้ จำเลยทั้งหมดถูกกล่าวหาว่า ไม่ให้นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ต้องเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย จากกรณีการซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 คนละ 164.6 ล้านบาท ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท (ราคาตลาดขณะนั้น 49.25 บาท) ถือได้ว่านายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้นคนละ 7,941,950,000 บาท (ราว 7.9 พันล้านบาท) ทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ