ข่าว

ปธ.ศาลฎีกา เชื่อประชุม ก.ม. ALA ช่วยการค้าขายกลุ่มอาเซียน

ปธ.ศาลฎีกา เชื่อประชุม ก.ม. ALA ช่วยการค้าขายกลุ่มอาเซียน

21 พ.ย. 2562

ปธ.ศาลฎีกา มั่นใจ ประชุม สมาคมกฎหมายอาเซียน ช่วยดู ก.ม. กลุ่มประเทศเป็นเอกภาพ สร้างอำนาจต่อรองเศรษฐกิจโลกมากขึ้น

 

              21 พฤศจิกายน 2562 ที่ โรงแรมภูเก็ต แมริออท รีสอร์ทแอนด์สปา เมอร์ลินบีช จ.ภูเก็ต  ภายหลังการประชุม คณะกรรมการบริหารและคณะกรรมาธิการถาวรของสมาคมกฎหมายอาเซียน ครั้งที่ 41 (41th ASEAN Law Association Governing Council Meeting) ซึ่งปีนี้ประเทศไทย ได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพ

 

 

 

              นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติสมาคมกฎหมายอาเซียนประจำประเทศไทย ได้ตอบคำถามสื่อมวลชน เกี่ยวกับบทบาท ALA การระงับข้อพิพาทเรื่องการค้า ตัวอย่างกฎหมายบางฉบับทำในประเทศหนึ่งไม่ผิดอีกประเทศ เช่น ฟิลลิป มอร์ริส จะช่วยไกล่เกลี่ยได้หรือไม่ว่า ทำอย่างไรเมื่อเกิดข้อพิพาทแล้วระงับข้อพิพาทด้วยการเจรจาหรืออนุญาโตตุลาการ จะเน้นเรื่องการเจรจามากกว่าและสร้างทางเลือก นอกจากเอาเข้าสู่ระบบศาลยุติธรรมของแต่ละประเทศแล้วยังสร้างระบบการเจรจาไกล่เกลี่ยมากขึ้น แต่รูปแบบที่จะเจรจาไกล่เกลี่ยยังเป็นการบ้านที่จะต้องทำต่อ เชื่อว่าวิธีนี้จะทำให้ข้อพิพาทได้รับการระงับและหาข้อยุติได้รวดเร็ว เป็นที่ยอมรับและพอใจของคู่กรณี

อ่านข่าว - ปธ.ฎีกา มองจับลิขสิทธิ์ ยกฎีกาเคยยกฟ้องจำเลยขาดเจตนา

 

 

 

              เมื่อถามว่า ตรงนี้จะเป็นการปรับกฎหมายแต่ละประเทศ ให้สอดคล้องตามแนวคิดของ ALA หรือไม่ นายไสลเกษ กล่าวว่า เป็นความพยายามแต่ไม่ง่าย ที่น่าดีใจคือทุกประเทศสมาชิก มีความพยายามหาข้อยุติเรื่องนี้

              เมื่อถามว่า เรื่องการค้าขายของกลุ่มประเทศอาเซียนกับกลุ่มอื่น ALA จะเข้าไปช่วยดูกฎหมายการค้าด้วยหรือไม่ นายไสลเกษ กล่าวว่า คิดว่ามีส่วนแน่นอน แต่ในเบื้องต้นเราเน้นในกลุ่มระหว่างอาเซียนก่อน ถ้ากลุ่มอาเซียนเรามีความเป็นเอกภาพ ตนเชื่อมั่นว่าทุกประเทศเข้าใจดีว่า อำนาจต่อรองของ 10 ประเทศอาเซียนซึ่งมีลำดับเศรษฐกิจลำดับที่ 5 ของโลกจะมีอำนาจต่อรองมากขึ้น หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่เราจะต้องมีการเจรจากับกลุ่มประเทศอื่นๆ ทุกทวีป ถ้าเราใช้แนวทางแบบเดียวกัน

 

 

 

              เมื่อถามว่า การประชุมครั้งนี้ประเทศไทยสนับสนุนประเด็นใดสำคัญที่สุด นายไสลเกษ ตอบว่า เราฟังเขา ทุกประเด็นที่เสนอมา ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องงานวิชาการซึ่งจุดนี้ยังไม่เป็นข้อผูกพันผูกมัดอะไรกับประเทศเรา เรื่องการศึกษาวิชาการกฎหมายประเทศต่างๆ เราสมควรให้การสนับสนุน แต่ขณะเดียวกันถ้าเราต้องไปเซ็นสัญญาข้อผูกพันระหว่างประเทศ เราจะต้องคุยกันมากกว่านี้จะต้องเป็นกระทรวงการต่างประเทศและส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง มีรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

              ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุม ALA ครั้งที่ 41 มีวัตถุประสงค์ (1) ส่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจกันของนักกฎหมายในประเทศสมาชิกอาเซียน (2) เพื่อสร้างกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคในการศึกษาวิจัยกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน

อ่านข่าว - 3 นปช. กลับลำ คดีล้มประชุมอาเซียน เลื่อนอ่านฎีกา 3 ธ.ค.

 

 

 

              (2.1) เพื่อส่งเสริมการสร้างความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันของกฎหมาย ตามจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอาเซียน (2.2) เพื่อส่งเสริมและอำนวยการให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือในระดับสถาบันทางกฎหมายหรือองค์กรวิชาชีพด้านกฎหมายภายในภูมิภาค

              (2.3) เพื่อส่งเสริม และแลกเปลี่ยน ข้อมูลด้านกฎหมาย ระบบกฎหมาย และการพัฒนากฎหมาย ในระดับภูมิภาค (2.4) เพื่อจัดทำวารสาร จัดกิจกรรมทางวิชาการ การประชุม สัมมนา หรือเวทีอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อวัตถุประสงค์ตามข้างต้น (3) เพื่อสร้างองค์กรความร่วมมือในระดับอาเซียนสำหรับการขจัดความขัดแย้ง การอนุญาโตตุลาการ หรือการระงับข้อพิพาททางกฎหมายในสัญญาหรือข้อตกลงต่างๆ ที่มีลักษณะข้ามชาติภายในภูมิภาค และ (4) เพื่อสร้างความร่วมมือกับองค์กรในระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค และระดับชาติ หรือองค์กรอื่น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กล่าวข้างต้น

 

 

 

ปธ.ศาลฎีกา เชื่อประชุม ก.ม. ALA ช่วยการค้าขายกลุ่มอาเซียน

 

 

 

ปธ.ศาลฎีกา เชื่อประชุม ก.ม. ALA ช่วยการค้าขายกลุ่มอาเซียน