ข่าว

สภาฯถกญัตติผลกระทบคำสั่งคสช.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สภาฯ เริ่มถกญัตติ ผลกระทบคำสั่งคสช. 7 ญัตติ ปิยบุตรยุส.ส.โละมรดกบาป

 

รัฐสภา  21 พฤศจิกายน 2562  สภาฯเริ่มถกญัตติ ผลกระทบคำสั่งคสช. 7 ญัตติแล้ว ปิยบุตรยุส.ส.โละมรดกบาปคสช. ย้ำเจตนาสถาปนาปชต.​ต้องโละเผด็จการที่ฝังในกม. แฉ "ส.ส.รบ."จ่อโหวตไม่หนุน ด้านเด็ก พปชร.ขอถอนญัตติ ดองสอบ ผู้บริหารท้องถิ่น


 

 

 

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม เข้าสู่การพิจารณาญัตติด่วน ในกลุ่มญัตติที่ว่าการขอตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ เพื่อศึกษาคำสั่งหรือประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 7 ญัตติ อาทิ ญัตติด่วน เรื่อง ให้สภาผู้แทนราษฎรตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบจากการกระทำ ประกาาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. มาตรา 44 ซึ่งนายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่และคณะเสนอ,ญัตติด่วน เรื่อง ตั้งกมธ.วิสามัญ เรื่องการดำเนินการกับผู้บริหารท้องถิ่นและผู้มีตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ระหว่างถูกตรวจสอบตามคำสั่ง คสช. ซึ่งนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์  ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และคณะเสนอ

 

ญัตติด่วน เรื่องให้ตั้งกมธ.วิสามัญ ศึกษาผลกระทบและหาแนวทาางแก้ไข ผลจาากประกาศและคำสั่งคณะปฏิวัติคณะต่างๆ ประกาศและคำสั่งของคสช. คำสั่งหัวหน้าคสช. และศึกษาผลกระทบและความเหมาะสมของกฎหมายที่บัญญัติ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อหาแนวทางปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่เปลี่ยนแปลง โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์และคณะเสนอ, ญัตติด่วน เรื่อง ตั้งกมธ.วิสามัญ พิจารณาผลกระทบจาากคำสั่ง หัวหน้า คสช. ที่เกียวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ โดยพล.ต.ท.วิศณุ ม่วงแพรสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย และคณะเสนอ เป็นต้น 

 

โดยนายปิยบุตร อภิปรายนำเสนอญัตติตอนหนึ่ง ว่า การออกคำสั่งหรือประกาศของคสช. คือการเรียกร้องเคารพอำนาจของคสช​.ไม่ใช่การเคารพกฎหมาย ทั้งนี้การยึดอำนาจ ปี 2557 และการใช้อำนาจของคสช.​ตลอด 5 ปี สร้างประวัติศาสตร์ใหม่ คือ 1.คสช. ออกประกาศและคำสั่งมากที่สุด รวม 565 ฉบับ และมีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 , 2. เป็นคณะรัฐประหารที่มีอำนาจมากที่สุด เพราะมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ฉบับถาวรบังคับใช้ ซึ่งผ่านการทำประชามติ ให้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 กับคนรัฐประหาร คงอยู่ต่อไปตามบทบัญญัติมาตรา 279

 

 

3. รับรองประกาศ คำสั่ง ไว้อย่างรัดกุม ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ด้วยการมีบทบัญญัติ มาตรา 279 ดังนั้นต้องทะลายเกราะคุ้มกันดังกล่าว , 4. ประกาศ คำสั่ง คสช. กระทบทุกแวดวง ไม่ใช่มีเป้าหมายทางการเมือง หรือจัดการศัตรูทางการเมือง หรือจำกัดสิทธิบุคคลเท่านั้น แต่กระทบกับชีวิตประชาชน เช่น ป่าไม้ ประมง  การศึกษา แทรกแซงองค์กรอิสระ ตำรวจ ปราบผู้มีอิทธิพล สิ่งแวดล้อม กระบวนการยุติธรรม 

 

นายปิยบุตร อภิปรายด้วยว่า แม้คำสั่งประกาศ คสช.​จะถูกยกเลิกไปแล้ว 78 ฉบับ แต่ยังมีประกาศ คำสั่งอีกหลายฉบับที่กระทบสิทธิเสรีภาพประชาชนไม่ถูกยกเลิก ดังนั้น ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ได้เสนอเสนอร่างพ.ร.บ. เพื่อยกเลิกประกาศคำสั่งคสช.​จำนวน 17 ฉบับที่ตกค้าง นอกจากนั้นพบว่าคำสั่ง ประกาศ คสช. ยังถูกฝังไว้ในพระราชบัญญัติ ซึ่งถือเป็นมรดกบาป ที่ทำให้ประเทศไทยมีระบบกฎหมาย 2 ระบบคู่กันโดยไม่รู้ตัว และมีเนื้อหาขัดกับรัฐธรรมนูญ 2560  และทำให้ประเทศไทยกลายเป็นรัฐทหาร  เพื่อให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมือง จึงสมควรตั้งกมธ. ศึกษาคำสั่ง ประกาศ คสช. เพื่อแปรกฎหมายที่ถูกต้องตามระบบ และกฎหมายปกติ หากฉบับใดละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง ให้ยกเลิกและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ

 

"ผมได้ยินข่าวว่า ส.ส. ซีกรัฐบาล ที่แม้ลงชื่อเสนอญัตติ น่าจะลงมติไม่เห็นด้วย ทั้งที่ ส.ส.ที่เสนอญัตติขอตั้ง กมธ.​ ควรยกมือสนับสนุน หากส.ส.เสนอญัตติ ลงคะแนนไม่ตั้งจะแปลก ผมมองว่าขณะนี้เสียงปืนเริ่มเงียบลงแล้ว กฎหมายควรได้ส่งเสียง  ถึงเวลาที่ส.ส. ต้องยืนตรงอย่างทะนงกับอำนาจเผด็จการ ผมมองว่าประเทศไทยไม่อาจสถานปนารัฐธรรมนูญ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ หากระบอบเผด็จการฝังตัว หรือมีมรดก คสช. ดังนั้นจึงเป็นภาระกิจที่ส.ส.ต้องลงมติแทนราษฎร เพื่อตั้งกมธ. วิสามัญเพื่อศึกษาผลกระทบฯ"นายปิยบุตร อภิปราย 


ขณะที่นายชัยวุฒิ อภิปรายเสนอญัตติของตนเองเฉพาะผลกระทบต่อผู้บริหารท้องถิ่นว่า จำนวน 8 ฉบับให้หยุด หรือพักการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหาร ข้าราชการท้องถิ่น  มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 400 คน ขณะที่ปลดล็อคไปแล้ว 23 คน ซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่ากระทบสิทธิและมนุษยชน ทั้งนี้ในกมธ.กระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ​ สภาได้ศึกษาและเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจง

 

พบว่าภายในเดือนพฤศจิกายนนี้กระบวนการตรวจสอบจะแล้วเสร็จ ดังนั้นเชื่อว่าภายในสิ้นปี 2562 จะปลดล็อคให้ผู้บริหารท้องถิ่นกลับมาดำรงตำแหน่งได้ ดังนั้นตนมองว่าการใช้กมธ.สามัญเพื่อศึกษาประเด็นคำสั่งหรือประกาศคสช. ที่มีผลกระทบกับประชาชนจะแก้ปัญหาได้รวดเร็ว และตนขอให้ส.ส.ร่วมลงมติไม่เห็นด้วยกับการตั้งกมธ.วิสามัญ เพราะกลไกของกมธ.สามัญ สามารถทำได้ ทั้งนี้ตนขอถอนญัตติที่เสนอดังกล่าวออกจากวาระ 

 

ทั้งนี้ นายชวน กล่าวว่า ญัตติที่บรรจุวาระหากจะถอนต้องขออนุญาตจากสภา และได้สอบถามความเห็นจาก ส.ส. ทั้งนี้ไม่มีบุคคลใดเห็นเป็นอื่น นายชวนจึงให้ถอนญัตติด่วน เรื่อง ตั้งกมธ.วิสามัญ เรื่องการดำเนินการกับผู้บริหารท้องถิ่นและผู้มีตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ระหว่างถูกตรวจสอบตามคำสั่ง คสช. ซึ่งนายชัยวุฒิ และคณะเสนอ พร้อมระบุว่าคนที่ลงชื่อเสนอญัตติไม่มีสิทธิอภิปราย​​ จากนั้นได้เรียกให้นายสาทิตย์ อภิปรายเสนอญัตติของตนเองและคณะต่อไป

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ