ข่าว

ครม. เห็นชอบ เสนอ อุทยานธรณีโคราชเป็นอุทยานธรณีโลก ยูเนสโก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ครม. เห็นชอบ เสนอ อุทยานธรณีโคราช เป็น อุทยานธรณีโลก ยูเนสโก ชำระเงินค่าสมาชิกเป็นรายปี ปีละ 1,500 ยูโร หรือราว 56,000 บาท

 

              เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ที่ ทำเนียบรัฐบาล  นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. เห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีโคราช เข้ารับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)

 

 

 

              ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยส่งใบสมัครต่อสำนักเลขาธิการยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน 2562

              การเป็นอุทยานธรณีของยูเนสโก ต้องเป็นพื้นที่ที่ประกอบด้วยแหล่งที่มีคุณค่าด้านธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยาและวัฒนธรรม มีการจัดการแบบองค์รวมระหว่างการอนุรักษ์ การให้ความรู้และการวิจัยพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัจจุบันอุทยานธรณีของยูเนสโกทั่วโลก มี 147 แห่ง ใน 41 ประเทศ สำหรับในภูมิภาคอาเซียน มีจำนวน 8 แห่ง ใน 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย 1 แห่ง เวียดนาม 2 แห่ง อินโดนีเซีย 4 แห่ง และไทย 1 แห่ง คือ อุทยานธรณีสตูล ซึ่งได้รับรองการเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561

อ่านข่าว - 18 พ.ย. 2553 รู้ยัง อังกะลุง ไมใช่ของไทย เข้าใจตรงกันนะ

 

 

 

              สำหรับอุทยานธรณีโคราช ที่จะเสนอต่อองค์กรยูเนสโก มีเนื้อที่ประมาณ 3,167 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครราชสีมา เฉลิมพระเกียรติ ขามทะเลสอ สูงเนิน และสีคิ้ว ซึ่งมีความเหมาะสมในการเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก เนื่องจากมีแหล่งธรณีวิทยา แหล่งธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรม รวม 35 แหล่ง โดยเฉพาะแหล่งธรณีวิทยาที่มีคุณค่าระดับนานาชาติ มีจำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย

              1. แหล่งอนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินไพลสโตซีนตอนต้นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความหลากหลายของชนิดและสีสัน 2. แหล่งไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์พันธุ์ใหม่ของโลก 3 สกุล และ 3 ชนิด รวมทั้งเต่าและจระเข้พันธุ์ใหม่ 1 สกุล 2 ชนิด

อ่านข่าว - ยูเนสโก ยก กรุงเทพฯ - สุโขทัย ติดโผ เมืองสร้างสรรค์แห่งใหม่

 

 

 

              3. แหล่งฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์มากที่สุดในโลก พบถึง 10 สกุล จาก 55 สกุล ที่พบทั่วโลก และ 4. แหล่งฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอายุ 200,000 ปี พบ 15 ชนิด ซึ่งมีความหลากหลายชนิดที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

              ประโยชน์ของการเป็นสมาชิกของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก คือ 1. ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในด้านแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมากขึ้น 2. สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและนำรายได้เข้าสู่ประเทศ 3. สร้างงานและกระจายรายได้ให้ประชาชนในท้องถิ่น

              ทั้งนี้ การเป็นสมาชิกของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก จะต้องชำระเงินค่าสมาชิกเป็นรายปี ปีละ 1,500 ยูโร หรือราว 56,000 บาท มีค่าใช้จ่ายในการประเมินอุทยาน และค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกและเครือข่ายในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ