ข่าว

24 พื้นที่กรุง PM 2.5 เกินมาตรฐาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ กทม. 1 ต.ค. 24 พื้นที่ ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐาน วราวุธ ขอโทษคนกรุง แนะลดใช้รถยนต์

 

              จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกรมควบคุมมลพิษร่วมกับกรุงเทพมหานคร ขอรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ดังนี้

 

 

 

              1. ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ตรวจวัดได้ระหว่าง 40 - 81 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พบส่วนใหญ่เกินเกณฑ์มาตรฐาน (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) เกือบทุกพื้นที่ ยกเว้น เขตพญาไท และเขตบางนา / จังหวัดนนทบุรี บริเวณ อ.ปากเกร็ด / จังหวัดปทุมธานี บริเวณ อ.คลองหลวง / จังหวัดสมุทรปราการ บริเวณ อ.บางเสาธง และ อ.เมือง / จังหวัดสมุทรสาคร บริเวณ อ.เมือง / จังหวัดนครปฐม บริเวณ อ.เมือง ปริมาณฝุ่นละอองมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้ามากนัก คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

              2. กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า สาเหตุเนื่องจากสภาพอากาศ  ช่วงเช้าลมสงบ อากาศมีความชื้นสูง จึงทำให้ฝุ่นละอองสะสมเพิ่มขึ้น

              3. จากสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 สูงเกินมาตรฐานดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งเตือน ให้ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทางสุขภาพที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ได้แก่ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ในพื้นที่ที่ฝุ่นละอองเกินมาตรฐานควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านเป็นเวลานาน ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละออง รวมถึงป้องกันโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นไปตามหลักการป้องกันไว้ก่อน
 

 

 

              4.  คพ. ได้แจ้งประสาน กทม. บก.จร. กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินมาตรการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ "การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง" ที่ได้ผ่านความเห็นชอบจาก กก.วล. แล้วรวมทั้งขอความร่วมมือประชาชนงดการเผาในที่โล่งทุกชนิด บำรุงรักษาเครื่องยนต์ไม่ให้เกิดควันดำ ใช้ระบบขนส่งสาธารณะทดแทนการใช้รถส่วนบุคคล ตรวจสอบและไม่ใช้รถขนส่งสาธารณะที่มีควันดำ และขอความร่วมมือสถานที่ก่อสร้างและโรงงานอุตสาหกรรมควบคุมและลดการระบายฝุ่นและมลพิษทางอากาศ

              ขณะที่ สำนักสิ่งแวดล้อม โดยกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันอังคารที่ 1 ต.ค. 62 เวลา 08.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 55 - 81 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) 
จำนวน 24 พื้นที่ ได้แก่

              1. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) ตรวจวัดได้ 65 มคก./ลบ.ม.

              2. เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบก ใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง ตรวจวัดได้ 56 มคก./ลบ.ม.

 

 

 

              3. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 ตรวจวัดได้ 69 มคก./ลบ.ม.

              4. เขตปทุมวัน บริเวณริมถนนจามจุรีสแควร์ เยื้อง MRT สามย่าน ตรวจวัดได้ 68 มคก./ลบ.ม.

              5. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่พลาซ่า ตรวจวัดได้ 55 มคก./ลบ.ม.

              6. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอยถนนเซนต์หลุยส์ ตรวจวัดได้ 69 มคก./ลบ.ม.

              7. เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก ตรวจวัดได้ 78 มคก./ลบ.ม.

              8. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ ตรวจวัดได้ 64 มคก./ลบ.ม.

              9. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตรวจวัดได้ 64 มคก./ลบ.ม.

              10. เขตบางกะปิ ข้างป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ ตรวจวัดได้ 56 มคก./ลบ.ม.

              11. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ ตรวจวัดได้ 60 มคก./ลบ.ม.

              12. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ ตรวจวัดได้ 55 มคก./ลบ.ม.

              13. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ตรวจวัดได้ 67 มคก./ลบ.ม.

              14. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย ตรวจวัดได้ 60 มคก./ลบ.ม.

              15. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ตรวจวัดได้ 66 มคก./ลบ.ม.

 

 

 

              16. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร ตรวจวัดได้ 58 มคก./ลบ.ม.

              17. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย ตรวจวัดได้ 60 มคก./ลบ.ม.

              18. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ ตรวจวัดได้ 78 มคก./ลบ.ม.

              19. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ ตรวจวัดได้ 75 มคก./ลบ.ม.

              20. เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน ตรวจวัดได้ 67 มคก./ลบ.ม.

              21. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม ตรวจวัดได้ 65 มคก./ลบ.ม.

              22. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด ตรวจวัดได้ 81 มคก./ลบ.ม.

              23. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน ตรวจวัดได้ 59 มคก./ลบ.ม.

              24. เขตราชเทวี บริเวณสำนักงานเขตราชเทวี ตรวจวัดได้ 70 มคก./ลบ.ม.

              ทั้งนี้ ในช่วงเช้ากรุงเทพมหานครมีเมฆฝนและมีฝนเล็กน้อย ทิศทางลมเป็นลมทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้ คาดว่าในวันนี้การกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณอาจจะยังไม่มากนัก แต่พอจะช่วยให้ฝุ่นละอองที่ปกคลุมในพื้นที่กรุงเทพมหานครอยู่ในขณะนี้เบาบางลง

              ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศปานกลาง - เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สำหรับคำแนะนำในการปฏิบัติตน ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย N95 หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ สามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศได้ทางเว็บไซต์ www.bangkokairquality.com และ www.air4bangkok.com

 

 

 

24 พื้นที่กรุง PM 2.5 เกินมาตรฐาน

 

 

 

              เมื่อเวลา 08.30 น. ที่ ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวขอโทษชาวกรุงเทพมหานครต่อสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดซ้ำในหลายเขตพื้นที่ซึ่งมีค่าเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เนื่องจากมีแรงกดอากาศมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเดิมคาดว่าจะมาในเดือนธันวาคมถึงมกราคม แต่ในเดือนตุลาคมก็มาแล้ว ซึ่งเหมือนฝาชีที่ครอบกรุงเทพฯ เอาไว้ ดังนั้นมาตรการเร่งด่วนในช่วงนี้ จึงขอประชาชนและเด็กเล็กใส่หน้ากากอนามัย และขอความร่วมมือประชาชนในเขตเมืองลดการใช้รถยนต์บนถนนซึ่งจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง

              นายวราวุธ เปิดเผยว่า วันนี้เตรียมเซ็นมาตรการลดปัญหาฝุ่นละออง ญ? 2.5 เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในวันนี้ ภายหลังนายกรัฐมนตรีเรียกประชุมด่วนและกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในสามด้าน 1. การดูแลเชิงพื้นที่ ที่มีการเกิดมลพิษแตกต่างกันทั้งกลุ่ม 9 จังหวัดภาคเหนือเกิดจากการเผาไหม้ทางการเกษตร กรุงเทพฯ ปริมลฑล ภาคกลางเกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และภาคใต้ เกิดจากพัดพามาจากประเพื่อนบ้าน 2. มาตรการลดการผลิต PM 2.5 ในระยะสั้น

 

 

 

24 พื้นที่กรุง PM 2.5 เกินมาตรฐาน

 

 

 

              นายวราวุธ กล่าวต่อว่า และ 3. มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมมลพิษ ถ้ายังต่ำกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลุกบาศก์เมตร ทุกอย่างยังสามารถดำเนินการได้ปกติ แต่ถ้าขึ้นไปถึง 50 - 75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรก็ต้องเข้าสู่ช่วงเฝ้าระวัง แต่หากเข้าถึงระดับ 75 - 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นขั้นอันตรายก็จะมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละพื้นที่มีอำนาจตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร เช่น การสั่งปิดโรงเรียน หรือไม่อนุญาตให้รถยนต์วิ่งผ่าน และหากเกิน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรถือว่าเข้าขั้นวิกฤตก็จะนำเรื่องเข้าคณะกรรมการ เพื่อขอเสนอมาตรการต่อนายกรัฐมนตรีเพิ่มความเข้มข้น รวมถึงมาตราการตรวจวัดที่ปัจจุบันมีเครื่องอยู่แต่ยังไม่เพียงพอ และบางส่วนยังไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งต้องทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้

              ส่วนมาตรการเฝ้าระวังจะแบ่งออกเป็นระยะสั้นและระยะยาว ในระยะสั้นต้องประสานกระทรวงพลังงานขอให้มีการใช้น้ำมันที่มีคุณภาพมากขึ้น เพิ่มมาตรฐานเครื่องยนต์ขึ้นไปถึง ยูโร 5 เพื่อลดการผลิตมลภาวะ รวมถึงการควบคุมการวางฝังเมืองและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- นัดล้างตา ส่ง เผดิมชัย เลือกซ่อมเขต 5 นครปฐม

- สร้างจิตสำนึก อนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ

- ศึกสามพรานเดือด สามมิตร หนุน ปชป. ลบเหลี่ยม บ้านใหญ่

- (คลิป) บิ๊กป้อม ปัดตัวกลางคุยส่ง ส.ส. ลงเลือกตั้งซ่อม นครปฐม

- วัน มาแล้ว เชียร์ เผดิมชัย โค่น เด็กทอน

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ