ข่าว

"จวก"นักการเมืองเห็นแก่ตัวรุมทึ้งกระทรวงหลัก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"จวก"นักการเมืองเห็นแก่ตัว รุมทึ้งกระทรวงหลัก เชื่อไปไม่รอด เต็มที่ไม่เกิน 1 ปี ผิดหวังปชป.-ภูมิใจไทยร่วมพลังประชารัฐ


8 มิถุนายน 2562 หลังเสร็จสิ้นการโหวตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ข่าวความเคลื่อนไหวกรณีการจัดตั้งรัฐบาลโดยเฉพาะการจัดสรรโควต้ากระทรวงหลักก็กลับมาเป็นประเด็นร้อนที่ต้องจับตามองอีกครั้ง 

 

เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่สนใจติดตามข่าวการเมือง“สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี ประชาชนคิดอย่างไร? กับ การอภิปรายเพื่อโหวตนายกรัฐมนตรี จำนวนทั้งสิ้น 1,128 คน ระหว่างวันที่ 6-8 มิถุนายน 2562

 

โดยเมื่อถามว่าประชาชนคิดอย่างไร? กรณี “พรรคประชาธิปัตย์” เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 1    รู้สึกผิดหวัง ไม่เป็นไปตามอุดมการณ์ของพรรค     63.32%
อันดับ 2    อยากเป็นฝ่ายรัฐบาล ต้องการตำแหน่งรัฐมนตรี    24.24%
อันดับ 3    เป็นการปฏิบัติตามมติของพรรค ต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่     21.29%

 

2. ประชาชนเห็นด้วยกับเงื่อนไข 3 ข้อที่พรรคประชาธิปัตย์ยื่นต่อพรรคพลังประชารัฐหรือไม่?

อันดับ 1    เห็นด้วย    61.79% เพราะจะได้ดำเนินการตามนโยบายที่หาเสียงไว้ เป็นข้อเสนอที่ทำเพื่อประชาชนและส่วนรวม สอดคล้องกับแนวทางการทำงานของพรรค ฯลฯ

อันดับ 2   ไม่เห็นด้วย    38.21%เพราะเป็นเพียงการหาเหตุผลและข้ออ้างในการเข้าร่วมรัฐบาล อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ปฏิบัติตามที่เสนอไว้ได้ ไม่น่าเกิดขึ้นได้จริง ฯลฯ

 

3. ประชาชนคิดอย่างไร?  กรณี “พรรคภูมิใจไทย” เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 1    เป็นการตัดสินใจที่ไม่เคารพเสียงประชาชน ไม่เป็นไปตามที่หาเสียงไว้ 58.20%
อันดับ 2    เลือกฝ่ายที่ได้เปรียบเพื่อผลประโยชน์ของพรรค 26.32%
อันดับ 3    ขอให้ทำตามนโยบายของพรรค ทำงานเพื่อบ้านเมือง  19.84%


4. ประชาชนคิดอย่างไร?  กรณี พรรคการเมืองแย่งกันเข้ามาบริหารกระทรวงหลัก
อันดับ 1    เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน เป็นกระทรวงที่มีงบประมาณมาก  72.27%
อันดับ 2    ควรคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถ เลือกให้ถูกคนถูกงาน   18.87%
อันดับ 3    ควรรีบจัดสรรและจัดตั้งรัฐบาลให้เร็วที่สุด  16.91%


5. ประชาชนคิดว่า “รัฐบาลใหม่” จะอยู่ครบวาระหรือไม่?

อันดับ 1    อยู่ไม่ครบวาระ  73.65% โดยคาดว่าอยู่ไม่เกิน 1 ปี 34.07%  ไม่เกิน 6 เดือน 20.02%  ไม่เกิน 2 ปี 12.95%   ไม่เกิน 1 ปีครึ่ง 6.61% เพราะเป็นรัฐบาลปริ่มน้ำ มีเสียงไม่มากเพียงพอ เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ถูกคัดค้านต่อต้าน ทำงานรูปแบบเดิมๆ สถานการณ์บ้านเมือง ณ วันนี้  ไม่มีเสถียรภาพที่แน่นอน ฯลฯ
อันดับ 2    อยู่ครบวาระ 4 ปี   26.35%เพราะรัฐธรรมนูญออกแบบมาเพื่อสานต่อการทำงานของ คสช. มี ส.ว. 250 เสียง มีการวางแผนเตรียมการไว้แล้ว ฯลฯ

                      

 

                                                                    

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ