ข่าว

เพื่อไทย ทุบโต๊ะหนุน 7 พรรคโหวต ธนาธร ชิงนายกฯ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ภูมิธรรม" เผย มติพรรคเพื่อไทย ไม่ขอส่ง 3 แคนดิเดตพรรค คู่ชิงเก้าอี้นายกฯ ยันรักษาสัญญา 7 พรรคร่วม 246 เสียงหนุนธนาธร

      


          ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ - 4 มิ.ย.62 -"ภูมิธรรม" เผย มติพรรคเพื่อไทย ไม่ขอส่ง 3 แคนดิเดตพรรค คู่ชิงเก้าอี้นายกฯ ยันรักษาสัญญา 7 พรรคร่วม 246 เสียงหนุนธนาธร พร้อมเตรียมประเด็นซักฟอกคุณสมบัติ บิ๊กตู่ คู่ชิง-ส.ว.ประโยชน์ขัดกัน
          เมื่อเวลา 16.10 น.- "นายภูมิธรรม เวชยชัย" เลขาธิการพรรค พท. , นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของพรรค และนางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ โฆษกพรรค ร่วมแถลงผลการประชุม ส.ส.พรรค ในการลงมติพิจารณาความเหมาะสมการเสนอชื่อบุคคลร่วมชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในนัดประชุม 2 สภาพรุ่งนีิ้ (5 มิ.ย.) 
        โดย "นายภูมิธรรม เวชยชัย" เลขาธิการพรรค พท.กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ คณะกรรมการบริหารพรรต และคณะวิปชั่วคราวของพรรคเพื่อไทยช่วงเช้า และช่วงบ่ายได้ประชุมร่วม ส.ส.พรรคทั้งหมดนั้น มี 2 ประเด็นใหญ่พิจารณา คือ 1.การเข้าไปทำหน้าที่ของเราในสภาผู้แทนราษฎร และ 2.พูดถึงเงื่อนไขพรรคต่อการตัดสินใจส่งผู้สมัครไปเป็นคู่แคนดิเดตชิงตำแหน่งนายกฯ หรือไม่

เพื่อไทย ทุบโต๊ะหนุน 7 พรรคโหวต ธนาธร ชิงนายกฯ

       


 

 

           ซึ่งตั้งแต่ต้น พรรคเพื่อไทยของเราได้รับชัยชนะในการเลืิอกตั้ง ได้เสียง ส.ส.อันดับหนึ่งจำนวน 137 เสียง แต่สุดท้ายเราถูกตัดเหลือ 136 เสียง โดยตามกระบวนการปนะชาธิปไตยเราควรป็นพรรคอันดับหนึ่งที่จะได้สิทธิเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ด้วยรัฐธรรมนูญฯ ที่มีปัญหา และที่หลายคนออกมาพูดโดยเฉพาะคนจากฝ่ายพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ออกมาพูดว่ารัฐธรรมนูญฯ นี้ดีไซน์มาเพื่อให้เขามาเป็นรัฐบาล ดังนั้นพรรคที่ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่งจริง จึงไม่อาจจัดตั้งรัฐบาลได้ง่ายเพราะต้องไปพิจารณาร่วมกับ ส.ว. 250 เสียงซึ่งเป็นฝ่ายที่ผู้มีอำนาจคัดสรรมา ดังนั้นหลังจากเราได้ ส.ส. 136 เสียงแล้ว เราได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เราก็ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาบได้ง่ายภายใต้กฎเกณฑ์กติกาที่พิกลพิการแบบนี้ ก็ได้ดึง ส.ส.พรรคแนวร่วมต่างๆ เพื่อจะร่วมมือกันจัดการให้มีรัฐบาลได้ตามเจตจำนงที่พี่น้องประชาชนได้แสดงออกมา ซึ่งทั้งหมด 7 พรรคตกลงกันโดยพรรคเพื่อไทยได้แสดความบริสุทธิ์ใจเพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมาย 3 ข้อ คือ 1.เราจะไม่สนับสนุนให้มีการสืบทอดอำนาจ ไม่อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำหน้าที่นายกฯ ต่อไป เพราะตลอด 5 ปีได้พิสูจน์มาแล้วว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้ประสบความสำเร็จที่จะนำพาประเทศให้หลุดพ้นจากปัญหาที่ประชาชนกำลังประสบอยู่
           2.เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การที่ให้ ส.ว.250 เสียงเข้ามาทำหน้าที่ตัดสินใจเรื่องนี้ไม่สามารถสะท้อนเจตจำนงที่ประชาชนทั้งประเทศได้เลืิอก ส.ส.มาเป็นตัวแทนของเขาให้ทำหน้าที่เป็นรัฐบาลอย่างที่เขาต้องการ 3.กฎ กติกาต่างๆ ที่ถูกออกแบบ เพื่ออีกฝ่ายอย่างที่เขาว่านั้น เป็นอุปสรรคต่อการเลือกตั้ง และทำให้เกิดปัญหาความยุ่งยากตามมา ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่าคนที่เคยมีอำนาจเดิมพยายามจะสร้างกลไกการสืบทอดอำนาจนั้นต่อไปดังนั้นเพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้โดยหลุดพ้นจากกรอบกติกาดังกล่าว เราจึงได้เสนอว่าพรรคเพื่อไทยจะไม่เห็นแก่ตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น เราอยากร่วมมือกันให้บรรลุเป้าหมาย 3 ข้อนี้  ซึ่งเราได้เริ่มต้นจับมือกัน 7 พรรคการเมืองและตกลงกันเรียบร้อยแล้วจะลงมติไปในทิศทางเดียวกันว่า ให้พรรคที่มีโอกาสจะเสนอตัวนายกฯ  ก็คือพรรคเพื่อไทยที่มีบัญชีรายชื่อแคนดิเดต 3 คน และพรรคอนาคตใหม่ (อ.น.ค.) แคนดิเดต 1 คน หารือกันว่าจะเสนอใครชิงตำแหน่งนายกฯ โดยทั้ง 7 พรรคร่วมนี้ ก็ให้พรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคขนาดใหญ่ที่สุดไปพิจารณาต่อ โดยวันนี้ (4 มิ.ย.) พรรคเพื่อไทยเราก็หารือกันตั้งแต่เช้า รวมทั้งหารือกับเหล่า ส.ส.ในพรรค เราจะไม่เสนอชื่อบุคคลากรของพรรคเราในการประชุมรัฐสภาเพื่อเป็นคู่แข่งโหวตเลือกนายกฯ เพรสะรู้ว่ากฎเกณฑ์ กติกาที่มีอยู่ปัจจุบันยังเป็นปัญหา โดยเรายืนยันจะยังสนับสนุนแนวทางของ 7 พรรคการเมืิอง ซึ่ง 7 พรรคการเมืองคงเปิดโอกาสให้พรรคอนาคตใหม่ ได้เสนอชื่อนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค อ.น.ค.เป็นคู่ต่อสู้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการโหวตชิงตำแหน่งนายกฯ โดยเราก็โหวตเลือกตามแนวทางของ 7 พรรคการเมืิองร่วมให้นายธนาธร เราจะรักษาสัญญาที่เราจะไม่เป็นเงื่อนไขและจะไม่รับตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อทำให้แนวร่วมของการร่วมมือกันที่อาจจะต้องมากกว่า 7 พรรคนั้น สามารถหาทางคลี่คลายกฎกติกา รัฐธรรมนูญฯ ที่เป็นปัญหาเป็ยอุปสรคต่อการเดินหน้าประเทศไทย ดังนั้นพรุ่งนี้พรรคเพื่อไทยเราจะไม่เสนอชื่อคนของเรา แต่พร้อมจะสนับสนุนแนวทาง 7 พรรคการเมือง โดยปฏิเสธโหวตเลือก พล.อ.ประยุทธ์ และปฏิเสธการสืบทอดอำนาจจากปัจจุบัน
           "เราเข้าใจดีว่าประชาชนหลายล้านคนในพื้นที่ต่างๆ กว่า 136 พื้นที่ในเขตเลือกตั้ง ได้ตัดสินใจเลือกและอยากสนับสนุนให้พรรคเพื่อไทย เป็นพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่ด้วยกติกาที่เป็นอยู่ไม่สามารถทำให้เราไปถึงเป้าหมายและชัยชนะตรงนั้นได้ แต่เราก็ไม่รู้ว่ากฎกติกาที่ค้าง กลางอยู่ ยังเป็นอุปสรรคและเป็นปมปัญหาที่ทำให้ประเทศไม่สามารถหลุดพ้นจากปัญหาทั้งหมดได้ เราจึงจำเป็นต้องรักษาความร่วมมือ ร่วมใจกัน เพื่อจะทำให้ปัญหาของประเทศนั้นหลุดพ้นจากปัญหาปัจจุบันได้ ดังนั้นวันนี้พรรคเพื่อไทยจึงมีมติชัดเจนร่วมกันทั้ง ส.ส.ทุกคนว่า วันพรุ่งนี้พรรคเพื่อไทยเราจะไม่เสนอชื่ิอในสภาฯ เป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีิ" 
           เมื่อถามย้ำถึงความเหมาะสมของแคนดิเดตเดิม 3 คนของพรรคคือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ , นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และนายชัยเกษม นิติสิริ 
           "นายภูมิธรรม" เลขาธิการพรรค พท.ชี้แจงว่า แคนดิเดตทั้ง 3 คน ของเรามีคุณสมบัติครบถ้วนและพร้อมตั้งแต่เริ่มแรกที่เราได้เลือกและตัดสินใจ แต่เราทราบดีว่าในกฎกติกาหลังจากที่ผลการเลือกตั้งออกมาแล้ว แม้เสียงของเราจะได้เป็นอันดับหนึ่งแต่ก็ไม่มากเพียงพอที่จะฝากกติกาที่วิกฤตและไม่เป็นปกตินี้ได้ ดังนั้นการร่วมมือกันของทุกพรรคการเมืองที่จะนำไปสู่การทำงานการเมืองอะไรในอนาคตได้จึงเป็นหัวใจสำคัญกับการที่เราจะจับมือร่วมกันของ7 พรรคการเมืองกับ 246 เสียง ยืนยันทั้ง 3 รายชื่อของเราไม่มีเงื่อนไขใด การตัดสินใจเช่นนี้ไม่ได้แปลว่าทั้ง 3 คนนั้นมีปัญหาและเป็นอุปสรรค เราเพียงต้องการดึงความร่วมมือประชาธิปไตย 7 พรรคการเมืองให้กว้างขวางขึ้นื อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าชาวบ้านจะเข้าใจในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ขณะที่แคนดิเดตนนยกฯิทั้ง 3 รายของพรรคก็เข้าใจเจตจำนงของพรรคว่าตัดสินใจเหนือความต้องการของบุคคลและถือเอามติพรรคนี้เป็นสำคัญ
           เมื่อถามถึงเสียง ส.ส.ในพรรค ที่สนับสนุนเสนอชื่อ คุณหญิงสุดารัตน์ ชิงตำแหน่งนายกฯ ด้วยน้้น "เลขาธิการพรรคเพื่อไทย" กล่าวว่า ความเห็นนั้นก็แตกเป็นหลายส่วน ซึ่งหลายส่วนยังรู้สึกว่าแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคก็มีคุณสมบัติครบถ้วน แต่เมื่ิอพิจารณาและเห็นว่าเรายังหวงแหนเรื่องความร่วมมือกันของ 7 พรรคการเมืองเพื่อวัตถุประสงค์ในการจะแก้ไขอนาคตข้างหน้า ที่เป็นปัจจัยสำคัญดังนั้นก็ได้ทำความเข้าใจกับทั้งหมดแล้ว และพร้อมทำตามมติพรรค
           เมื่อถามว่า เช่นนี้แปลว่าเลือกพรรคเพื่อไทย ได้อนาคตใหม่ ใช่หรือไม่ "เลขาธิการพรรคเพื่อไทย" กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ใช่ เราไม่ได้พูดว่าเลือกเราได้ใคร เรากำลังบอกว่าจะต้องร่วมกันฝ่าวิกฤติของรัฐธรรมนูญฯ ที่พิกลพิการนี้
           เมื่อถามย้ำว่า ในส่วนของนายชัชชาจิ สิทธิพันธุ์นั้น ส่วนหนึ่งเพราะพรรคจะเก็บตัวไว้ลงสมัครชิงผู้ว่าฯ กทม.ด้วยหรือไม่ "นายภูมิธรรม" กล่าวว่า ก็จะเป็นเรื่องหลังจากนี้ว่า แคนดิเดตนายกฯของพรรคเราแต่ละคน ใครจะยังมีบทบาทการเมืองในมิติใด หรือตำแหน่งหน้าที่อะไร แต่ยืนยันไม่เกี่ยวกับการตัดสินใจของพรรคในวันนี้ โดยนายชัชชาติ ยังคงเป็นสมาชิกพรรคร่วมทำงานกับพรรคต่อไป
           ส่วนกรณีจะมีงูเห่าในพรรคหรือไม่ "นายภูมิธรรม" กล่าวว่า งูเห่าก็เป็นเรื่องที่คาดการณ์กันไป ซึ่งพื้นฐานเรายังเชื่อมั่นในคนของเรา เชื่อว่าสิ่งที่พี่น้องประชาชนตัดสินใจมาก็ตัดสินใจดีที่สุดแล้ว ดังน้้นต่อจากนี้ก็จะเป็นเรื่องที่ปรากฏขึ้นเองว่าหากใครยังเป็นงูเห่าก็เท่ากับได้ตัดอนาคตของตัวเองและสุดท้ายก็จะปรากฏแก่สายตาประชาชนเอง
           ขณะที่ความพร้อมในการเตรียมประเด็นเพื่ออภิปรายนั้น "นายภูมิธรรม" เลขาธิการพรรคพื่อไทย กล่าวว่า เราก็กำลังอภิปรายกันดูอยู่ว่าแนวทางพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร แต่สิ่งสำคัญคือเรื่องความเหมาะสมของการจะเป็นผู้นำ จริงๆ เราอยากเห็นคนที่เสนอตัวเป็นนายกฯ ก็ควรแสดงวิสัยทัศน์ 
            เมื่อถามย้ำว่า ในการโหวตเลืิกนายกฯ จะอภิปรายคุณสมบัติ พล.อ.ประยุทธ์ ด้วยหรือไม่ "นายชูศักดิ์" ประธานที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องที่เราเตรียมและจะเสนอญัตติที่ประชุมรัฐสภา คือ เรื่องปัญหาคุณสมับติคนที่ถูกเสนอชื่อว่าถูกต้องตามรัฐธรรมนูญฯ มีคุณสมบัติต้องห้ามหรือไม่ และคงพูดถึงเรื่องความเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ในส่วนของ พล.อ.ประยุทธ์ โดยมีประเด็นว่าต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 160 หรือไม่
        ประเด็นที่ 2 ก็เชื่อว่าสมาชิกจะเสนอเรื่องสิทธิหน้าที่ของคนที่จะโหวต คือ ส.ส.500 คน และ ส.ว.250 คน ประเทศใดที่พูดกันมากขนาดนี้ก็คือ กรณีของ ส.ว. 250 คนนั้นถูกเสนอชื่อและคัดเลือกโดยพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้าคสช. ผ่านคณะกรรมการสรรหาที่ไม่ใช่ผู้ที่เป็นกลางทางการเมือง และไม่ใช่ผู้ทรงคุณวุฒิ
และสุดท้ายมาโหวตเลืิอกคนที่จะเลืิอกเข้ามา  โดยถือเป็นเรื่องความขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 114 บัญญัติไว้
          เมื่อถามย้ำว่า ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ ควรไปปรากฏตัวสภาฯ และร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้วยหรือไม่ "นายชูศักดิ์" ตอบว่า จริงๆ ไม่มีข้อบังคับประชุมสภา เขียนไว้โดยตรง ดังนั้นคงต้องขอมติจากที่ประชุม แต่ในอดีตนายกฯ ต้องเลือกมาจาก ส.ส.ดังนั้นเขาจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้รัฐธรรมนูญฯ แก้ว่าไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. ดังนั้นคนที่โหวตอาจไม่ได้มาจาก ส.ส.
           เมื่อถามอีกว่า เชื่อว่าประเด็นการอภิปรายจะมีมากเกินไป จนยังไม่สามารถจัดให้โหวตเบือกนายกฯ จบได้ภายในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ หรือไม่ 
           "นายชูศักดิ์"  กล่าวว่า หากมีการเสนอให้อภิปรายก็ควรจะเปิดให้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางพอสมควร ขณะที่ตนก็ไม่แน่ใจเชานกันว่าจะจบในวันเดียว

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ