Lifestyle

25 กันยา “วันจิตร ภูมิศักดิ์” ณ ประจันตคาม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จิตรถูกคุมขังอยู่นานจนถึงเดือนธันวาคม 2507 และปลายปี 2508 ตัดสินใจเข้าป่า เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในนาม สหายปรีชา

               ในวันคล้ายวันเกิด "จิตร ภูมิศักดิ์" ครบรอบ 87 ปี วันที่ 25 กันยายน 2560 เป็นปีแรกที่คณะบุคคลในนาม "คณะกรรมการเชิดชูเกียรติภูมิ จิตร ภูมิศักดิ์ ณ บ้านเกิด" จะได้จัดงา่นทำบุญรำลึกปัญญาชน นักคิด นักเขียน ที่ อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี

               เวลา 07.00 น. ถวายภัตราหารเช้าแด่ภิกษุสงฆ์วัดศรีประจันตคาม อ.ประจันตคาม และถวายสังฆทาน

               เวลา 10.00 - 11.30 น. มอบหนังสือดีที่ควรอ่านแก่ห้องสมุด ร.ร.ประจันตราษฎร์บำรุง

               “อภิเชษฐ์ ทองน้อย” ตัวแทนคณะผู้เตรียมการฟื้นฟูเกียรติภูมิจิตร ภูมิศักดิ์ ได้กล่าวถึงความเป็นมาในการจัดงานวันจิตร ภูมิศักดิ์ ต่อคณะครูและนักเรียน โดยให้ความสำคัญในการคิด การอ่าน การเขียนและการค้นคว้า ฯลฯ โดยมี “จิตร” เป็นต้นแบบ

               “ประยงค์ มูลสาร” หรือ “ยงค์ ยโสธร” หนึ่งในผู้ก่อการจัดงานรำลึก 25 กันยา ได้เปิดเผยว่า "การจะมีคณะกรรมการเชิดชูเกียรติภูมิขึ้นมา เพื่อฟื้นฟูจัดงาน “วันจิตรภูมิศักดิ์ 25 กันยา” ขึ้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สมควรทำ “วันตาย” ของจิตร มีงานรำลึกถึงมาหลายปีแล้ว บัดนี้ รำลึกถึงจิตรในวันเกิดกายบ้าง"

               "เรื่องงบประมาณค่าใช้จ่ายใดๆก็ไม่ได้กำหนดหรือจัดหากัน ใช้ทุนใครมันเท่าที่จำเป็น อันที่จริงมีเพื่อนมิตรและผู้ใหญ่บางท่านที่รู้ข่าวการจัดงาน อยากสนับสนุนเงินทองค่าใช้จ่าย พวกผมคณะเตรียมการก็ไม่ต้องการรบกวนท่าน ใครจะไปร่วมทำบุญด้วยก็ยินดี เมื่อต่อไปจัดตั้งคณะกรรมการเชิดชูเกียรติภูมิจิตร ภูมิศักดิ์ฯ ขึ้นเป็นรูปร่างเรียบร้อยแล้ว การดำเนินงานต่างๆ ก็ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการจะกำหนดต่อไปจิตรเป็นบุคคลสาธารณะ มีผลงานและชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และมีิองค์กรอย่างมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์รับผิดชอบ"

               สำหรับความเป็นมาเกี่ยวกับชีวิต “จิตร ภูมิศักดิ์” กับประจันตคามนั้น พอประมวลได้ดังนี้

               “ประจันตคาม” เป็นอำเภอเก่าแก่ อยู่ไม่ไกลจากเมืองปราจีนบุรี คามเดิมเรียกว่า “บ้านกบแจะ” หรือ “ด่านกบแจะ” สมัยอยุธยา

               เล่ากันตามพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ท้าวอุเทนท้าวสร้อยเพลี้ยเมืองแสน เป็นผู้รวบรวมไพร่พลที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ เมืองมหาชัย และอีกหลายเมืองทางฝั่งซ้าย ในครั้งที่ไทยยกกองทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ มาตั้งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ขึ้นที่ด่านกบแจะ

               ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกฐานะด่านกบแจะเป็นเมืองประจันตคาม โดยท้าวอุเทน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงภักดีเดชะ ว่าราชการเมืองประจันตคามตั้งแต่นั้นมา

               บรรพบุรุษชาวเมืองประจันตคาม จึงเป็น “ลาวเวียง” และไม่แปลกที่คนรุ่นลูกรุ่นหลาน ยังส่งสำเนียงภาษาลาว แปร่งๆเหน่อๆไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

               ปี 2472 สมัยที่ ร.อ.หลวงสารารักษ์สรการ (พฤติ เดชะคุปต์) เป็นนายอำเภอประจันตคาม ได้มีข้าราชการกรมสรรพาสามิตชื่อ “ศิริ ภูมิศักดิ์” พร้อมครอบครัว ย้ายมาเป็นนายตรวจสรรพสามิต โดยพวกเขาเช่าบ้านอยู่ในตลาดเก่า ริมคลองประจันตคาม

               วันที่ 25 กันยายน 2473 แม่แสงเงิน ภรรยานายตรวจสรรพสามิต ได้ให้กำเนิดลูกชายคนแรกและคนเดียวของครอบครัว ชื่อ “จิตร ภูมิศักดิ์”

               เนื่องจากบิดาต้องย้ายไปรับราชการยังจังหวัดต่างๆ ทำให้จิตรย้ายที่เรียนบ่อย จากกาญจนบุรี ไปสมุทรปราการ และพระตะบอง

               ช่วงที่ไทยเสียดินแดนพระตะบองให้แก่ฝรั่งเศส จิตรจึงกลับมาศึกษาชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ต่อด้วยโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด

               ช่วงอยู่มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2496 ได้รับตำแหน่งเป็นสาราณียกรของจิตร ภูมิศักดิ์” กับประจันตคามรับผิดชอบจัดทำหนังสือของมหาวิทยาลัย ฉบับ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

               จิตรถูกกล่าวหาว่า เขียนบทความทำลายชาติ ศาสนาและสถาบัน ก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน อาจารย์และนิสิตบางกลุ่มจึงเคลื่อนไหวให้ซักฟอกสอบสวนกันในหอประชุม จุฬาฯ ในตอนนั้นมีนิสิตกลุ่มหนึ่งเข้ามาทางด้านหลังแล้วจับจิตร โยนลงจากเวที หรือที่เรียกว่า “โยนบก” ทำให้จิตรบาดเจ็บต้องเข้า โรงพยาบาล พร้อมถูกลงโทษพักการเรียน

               ปี 2497 ระหว่างที่ถูกพักการเรียน จิตรไปสอนหนังสือที่โรงเรียนอินทรศึกษาอยู่ระยะหนึ่ง แต่สอนได้ไม่นานก็ถูกไล่ออก จึงไปทำงานหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ยุคนั้น สุภา ศิริมานนท์ เป็นรองผู้อำนวยการ

               ปี 2498 จิตรกลับเข้าเรียนอีกครั้งและสำเร็จปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต

               ปี 2500 จากนั้นเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ จนกระทั่งถูกจอมพลสฤษดิ์ สั่งจับในข้อหา “สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในและภายนอกราชอาณาจักร และกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์” เมื่อ 21 ตุลาคม 2501

               จิตรถูกคุมขังอยู่นานจนถึงเดือนธันวาคม 2507 และปลายปี 2508 ตัดสินใจเข้าป่า เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในนาม สหายปรีชา

               กระทั่งถูกอาสาสมัครและทหารล้อมยิงเสียชีวิตที่บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2509

               ผลงานในฐานะนักคิด นักเขียนที่มีการจัดพิมพ์เป็นเล่ม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ โฉมหน้าศักดินาไทย, ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ, โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา, สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา, บทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ปี 2473-2508 ฯลฯ

               จิตร ภูมิศักดิ์ มีชีวิตอยู่ในโลกเพียง 36 ปี จากวันเกิด 25 กันยายน 2473 ถึงวันตาย 5 พฤษภาคม 2509 

               จิตรได้รับการเคารพนับถือและยกย่องจากสังคมในฐานะนักปราชญ์ นักประวัติศาสตร์ นักภาษาศาสตร์ และนักคิดนักอุดมการณ์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ