
เขาสมอแคลง ในนิทานท้องถิ่นพิษณุโลก
มีนิทานท้องถิ่นเรื่อง บึงราชนก ของชาวบ้านวังทอง จ.พิษณุโลก เล่าว่า แต่เดิม บึงราชนกเคยเป็นเมืองมาก่อน ต่อมามีปลาหมอขนาดยักษ์เกิดขึ้น ชาวเมืองก็ไปจับมาแข่งกันกิน จึงเกิดอาเพศทำให้เมืองถล่มทลายเป็นบึงราชนก ลูกสาวเจ้าเมืองได้ขี่ม้าไปจนถึงสถานที่แห่งหนึ่งก
สุจิตต์ วงษ์เทศ อธิบายว่า นิทานเรื่องนี้ มีโครงเรื่องที่คล้ายคลึงกับนิทานของกลุ่มชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชาวล้านช้าง ซึ่งอาจจะแสดงได้ว่า บริเวณพื้นที่โดยรอบเขาสมอแคลง เคยมีการติดต่อกับกลุ่มชนทางภาคอีสานและลาวสองฝั่งโขง โดยมีลำน้ำแควน้อยและลำน้ำวังทองเป็นเส้นทางคมนาคม นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางโบราณคดีมาสนับสนุนคือ เครื่องปั้นดินเผาแบบไหหินสีเทาและสีดำอันเป็นภาชนะที่ชาวบ้านล้านช้างในเขต จ.เลย อุดรธานี และหนองคาย นิยมใช้ (หนังสือ กรุงสุโขทัย มาจากไหน? มติชนพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2548)
ในพงศาวดารเหนือตอนสร้างเมืองพิษณุโลก กล่าวถึงเขาสมอแคลงว่าเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จทำประทับฉันจังหันตามนิมิตของพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก แต่ก่อนเรียกว่า พนมสมอ ต่อมาเรียก เขาสมอแครง ใช้บรรจุพระธาตุเจ้าทั้งสอง
จุฑารัตน์ เกตุปาน สันนิษฐานว่า คำว่า “สมอ” อาจมาจากคำในภาษาเขมรว่า ถมอ แปลว่า หิน, ก้อนหิน “สมอแคลง” จึงหมายถึงหินตะแคง หรือภูตะแคง (เอกสารประวัติการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ เขาสมอแคลง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก)
เขาสมอแคลง ตั้งอยู่ที่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เป็นเขาสูงสามารถมองเห็นตัวเมือง ถ้ายิ่งมีประวัติบอกเล่าด้วยคงกลายเป็นจุดที่น่าทำความรู้จักอีกแห่งหนึ่ง
"เรือนอินทร์ หน้าพระลาน"