ข่าว

สทนช. แจง 13 จว. อีสาน น้ำท่วมคลี่คลาย ชูบูรณาการความร่วมมือ ลดปชช.เดือดร้อน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เลขาธิการ "สทนช." เผยภาวะฝนตกหนักต่อเนื่องสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทบ 13 จังหวัดภาคอีสาน ส่วนการหาทางคลี่คลายสถานการณ์ ทางหน่วยได้เป็นเจ้าภาพ บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน จนทุกอย่างเริ่มคลี่คลาย ชี้พื้นที่ต่อไปที่ต้องระวัง ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ภาคตะวันออก ใต้ตอนบน 

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)   เปิดเผยว่า   ภาวะฝนตกหนักต่อเนื่องทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดอุทกภัยใน 13 จังหวัด   อาทิ  อุดรธานี สกลนคร อุบลราชธานี ขอนแก่น นครพนม อำนาจเจริญ และ ยโสธร  ทั้งยังเกิดน้ำล้นตลิ่งท่วมขังในหลายพื้นที่ อาทิ ด้านท้ายเขื่อนห้วยหลวงและริมฝั่งแหล่งน้ำธรรมชาติหนองหาร-สกลนคร จ.อุดรธานี ริมสองฝั่งแม่น้ำสงครามบริเวณ อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ด้านท้ายลำน้ำก่ำ จ.นครพนม เขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ที่ลุ่มต่ำริมฝั่งลำน้ำยัง จ.ยโสธร เป็นต้น     ในการคลี่คลายสถานการณ์   "สทนช." ได้เร่งประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดูแล 

 

 

 

 

 

 

ประกอบด้วย  ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ ขณะเดียวกับที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงยัง ต่ำกว่าตลิ่งบริเวณเขื่อนปากแม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี จึงสามารถสูบระบายน้ำส่วนเกินลงแม่น้ำโขงได้ในอัตรามากกว่า 200 ล้านลบ.ม.ต่อวัน  ขณะที่อ่างเก็บน้ำห้วยหลวงปรับลดการระบาย พร้อมกับฝนตกที่ลดลง   ส่วนการเข้าช่วยเหลือวางกระสอบทรายกั้นน้ำ แจกสิ่งของจำเป็นแก่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัย รวมถึงอำนวยความสะดวกด้านการสัญจร  ทำให้ขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย

 

 

 

 

ขณะที่จุดเฝ้าระวังที่สถานี M7 อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง 0.21 เมตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยถึงทรงตัว ทางจังหวัดได้มีการดำเนินการแจ้งเตือนล่วงหน้าให้กับประชาชนในพื้นที่เคลื่อนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง พร้อมกำหนดพื้นที่อพยพประชาชนแล้ว ตั้งแต่ก่อนมีการประกาศแจ้งเตือนของ กอนช.ฉบับที่ 18/2566     นอกจากการเข้าคลี่คลายสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว กอนช.ได้เฝ้าติดตามสภาพอากาศทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

 

.

หลายพท.ต้องเฝ้าระวัง

.

 

พบว่าสถานการณ์น้ำฝนและน้ำท่าในทั้ง 3 ลุ่มน้ำหลักอีสาน คือ ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล อย่างใกล้ชิดเพื่อทำการประเมินพื้นที่เสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ๆ มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตรในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วม พื้นที่ชุมชนเมือง  เพื่อบูรณาการข้อมูล วางแผนรับมือสถานการณ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดเตรียมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และสิ่งกีดขวางทางน้ำทั้งหมด รวมทั้งปรับแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสภาพฝนก่อนสิ้นฤดู ทั้งยังเตรียมการวางแผนเก็บกักน้ำเพื่อเป็นน้ำต้นทุนในฤดูแล้งหน้าด้วย

 

 

 

 "ด้วยสภาพอากาศที่ผันผวน หากเกิดสภาวะวิกฤติ กอนช.จะได้ออกประกาศแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงภัย ก่อนเกิดเหตุล่วงหน้าเป็นเวลา 3 วัน เพื่อการเตรียมความพร้อมอพยพ พร้อมกับศูนย์อำนวยการน้ำส่วนหน้า พร้อมออกปฏิบัติการเข้าประจำการพื้นที่เสี่ยง หากเกิดกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนเพื่อให้การช่วยเหลือทันเหตุการณ์ คาดว่าจะช่วยบรรเทาภัยทางน้ำให้กับประชาชนผู้อาศัยในพื้นที่เสี่ยงได้ล่วงหน้า ซึ่งขณะนี้ยังมีหลายพื้นที่ที่คงต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักต่อเนื่อง เช่น ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นที่ภาคตะวันออก และพื้นที่ภาคใต้ตอนบน  " 

 

สทนช. แจง 13  จว. อีสาน น้ำท่วมคลี่คลาย ชูบูรณาการความร่วมมือ ลดปชช.เดือดร้อน

 

 

 

 

 

 

สทนช. แจง 13  จว. อีสาน น้ำท่วมคลี่คลาย ชูบูรณาการความร่วมมือ ลดปชช.เดือดร้อน

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)  

 

 

 

 

 

ปัจจัยบวกเอื้อน้ำต้นทุนรับมือแล้ง

.

 

 เขา กล่าวว่า  ฝนที่ตกลงมาทำให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศสะสมตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 3,081 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คาดการณ์ว่าภายในวันที่ 26 ก.ย.นี้ จะมีน้ำไหลเข้าอ่างฯขนาดใหญ่สะสมรวม 3,174 ล้านลบ.ม. ส่งผลดีต่อปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อใช้การฤดูแล้ง 2566/67 อย่างไรก็ดีมีการคาดการณ์ว่าเมื่อเริ่มฤดูแล้ง ณ วันที่ 1 พ.ย.  66 จะมีน้ำใช้การทั่วประเทศจำนวน 2 หมื่นล้านลบ.ม. น้อยกว่าปีกลายอยู่ 1 หมื่นล้านลบ.ม.

 

 

 

 

จึงต้องวางแผนการใช้น้ำอย่างรัดกุมและเสนอมาตราการรองรับต่อคณะกรรมการน้ำแห่งชาติเพื่อให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้หน่วยงานต่าง ๆ ถือปฏิบัติต่อไป       แนวทางในขณะนี้  จึงขอให้ทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เตรียมความพร้อม ตรวจสอบความมั่นคง อาคารป้องกันริมน้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยง ประชาสัมพันธ์ข้อมูล และแจ้งเตือนประชาชน เตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ และปรับแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำปัจจุบัน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ