ข่าว

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ขาวบ้านนครปฐมยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

            ชาวบ้านยังตั้งตารอผลสรุปการก่อสร้างสนามบินนครปฐม แม้ล่าสุดกรรมาธิการฯวฒิสภาได้ส่งหนังสือให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาในการพัฒนา 3 สนามบินหลักให้เต็มศักยภาพก่อนการมาสร้างแห่งใหม่ แต่ไม่มีใครสรุปได้ว่าจะเกิดสนามบินหรือไม่ โดยชี้ให้เห็นถึงการสูญเสียพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไปมากกว่า 3.5 พันไร่ แน่นอน

               ชาวบ้านในเขตอำเภอบางเลน และอำเภอนครนครชัยศรี หลายตำบลยังคงรวมตัวกันแสดงเจตนาชัดเจน เกี่ยวกับกับการคัดค้านการก่อสร้างสนามบินนครปฐม ที่กรมท่าอากาศยานได้มีการลงพื้นที่สำรวจมาตั้งแต่ปลายปี 61 บน ในจังหวัดนครปฐม โดยให้เหตุผลว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างคือ อำเภอบางเลน (ต.บางระกำ ต.ลำพญา) และอำเภอนครชัยศรี (ต.บางแก้วฟ้า ต.บางพระ ต.วัดละมุด) ห่างจากโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ประมาณ 5.3 กิโลเมตร และใช้ระยะเวลาในการเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที จากการออกแบบโครงการฯจะมีพื้นที่ขนาด 3,500 ไร่ ทางวิ่งขนาด 45×2,500 เมตร อาคารที่พักผู้โดยสาร 3 อาคาร พื้นที่ประมาณ 115,740 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 5,100 คนต่อชั่วโมง อาคารและลานจอดรถ จอดรถได้ประมาณ 4,200 คัน

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

 

                            โดยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563 ที่ผ่านกรมท่าอากาศยานได้มีการจัดทำการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 2 (ปัจฉิมนิเทศ) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม เพื่อสรุปการสำรวจและส่งต่อให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป แต่วันรุ่งขึ้นได้มีการกระแสข่าวออกมาว่าได้มีการตัดสินใจที่จะทำการก่อสร้างสนามบินนครปฐม ในพื้นที่ที่สำรวจ ในขณะที่มีข้อขัดแย้งกับชาวบ้านในพื้นที่ออกมาคัดค้านด้วยการสวมเสื้อและติดป้ายที่หน้าบ้านเรือนและถนนชุมชน ในการคัดค้านการก่อสร้างสนามบินตลอดระยะเวลา 1 ปีเศษที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลกับบริษัทที่รับเหมาการลงพื้นที่สำรวจความเหมาะสมในการก่อสร้างสนามบินกับข้อมูลที่ชาวบ้านมีนั้นยังขัดแย้งกันอยู่ในหลายประเด็น โดยเฉพาะการที่ชาวบ้านนั้นแสดงความวิตกนั้นมีหลายประเด็น เช่นการขาดพื้นที่ทำกิน ขาดที่อยู่อาศัย การสูญเสียแหล่งทำการเกษตรของจังหวัดซึ่งมีความสำคัญระดับประเทศเพราะมีความอุดสมสมบูรณ์สูง รวมถึงการส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องอากาศ น้ำและเสียง ยังไม่รวมถึงข้อมูลจำนวนประชากรที่ต้องถูกเวนคืนที่ดิน 200 ราย แต่ชาวบ้านบอกว่ามีผู้ที่เดือดร้อนมากกว่า 2,000 กว่าราย โดยยังเป็นสถานการณ์อึมครึมที่ยังสร้างความสับสนใจพื้นที่

               ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 63 ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ สว (กมธ๑) 000๙/00๔๖๔ จากคณะกรรมาธิการคมนาคมวุฒิสภา ซึ่งตอบรับการพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน ในเรื่องดังกล่าวโดยสรุปประเด็น ในการประชุมคณะกรรมมาธิการคมนาคม วุฒิสภา ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ ในการรับฟังข้อเท็จจริง จากกรมท่าอากาศยาน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีผลการพิจารณา ให้มีการพัฒนาขยายศักยภาพของสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภา ให้เต็มศักยภาพเสียก่อนเนื่องจากยังมีศักยภาพในการรองรับการบริการได้อีกเพื่อแทนการก่อสร้างสนามบินในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและยังมีผลต่อสิ่งแวดล้อมในจังหวัดนครปฐม กระทรวงคมนาคมจึงควรทบทวนความเหมาะสมดังกล่าวโดยฟังความคิดเห็นจากประชาชน รวมถึงมีการตั้งข้อสังเกตให้กระทรวงคมนาคมมีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อให้มีการสะดวกในการใช้บริการทั้ง 3 สนามบินดังกล่าวด้วย

               โดยนางพิมนิภา รักอุดมการณ์ อายุ 68 ปี อยู่บ้านเลขที่ 24 ม.8 ต.บางระกำ อ.บางเลน บอกว่า ตนเองมีที่ทำนำ 12 ไร่ 2 งานโดยแซมการปลูกไม้ดอก ซึ่งตอนแรกก็ไม่รู้ว่าสถานที่ก่อสร้างจะมาตรงกับบ้านตัวเองโดยเมื่อปลายปี 61 ได้เห็นมีคนมาสำรวจพื้นที่แต่ก็ไม่รู้ว่ามาทำอะไรกัน จนมีการเอากล้องมาตั้งวัดสำรวจชาวบ้านก็ยิ่งสงสัยจึงได้มีออกไปหาข่าวหาข้อมูลกันเอง โดยมีการเรียกชาวบ้านไปประชุมครั้งแรกที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม และมาที่อำเภอบางเลน ก็มีการเรียกประชุมอีก จนแน่ชัดว่าที่ดินของเรากว่า 3.5 พันไร่จะถูกนำไปก่อสร้างสนามบิน โดยในการประชุมก็บอกว่าคะแนนของการสำรวจในแปลงที่ 2 คือที่พื้นที่เราได้รับการโหวดให้ได้รับคะแนนสูงสุดในการก่อสร้าง ซึ่งเราก็ถามไปว่ามีที่ใดบ้างและเอาคะแนนจากส่วนใดมาตัดสินก็ไม่ได้รับคำตอบ แต่ชาวบ้านก็ไม่ได้ร่วมให้คะแนน ซึ่งประชาชนนั้นมีส่วนร่วมแต่ประชาชนได้ออกเสียงเลย วันนี้ก็ท้อเพราะเราไม่รู้ต่อสู้กับใคร แต่เหตุผลที่ค้านก็คิดว่าเรามีเหตุผลพอสมควรแต่เขาจะฟังเราหรือไม่

               นางสำอาง เกิดโพชา อายุ 58 ปี อยู่บ้านเลขที่ 53/2 ม.14 ต.บางระกำ อ.บางเลน บอกทั้งน้ำตาว่า เดิมที่ที่บ้านทำนาและสวนต้นไทร และสวนผลไม้ โดยสวนไทรตอนนี้มียอดจำหน่ายออกต่างประเทศเดือนละ 4-5 แสนบาท เพราะทางต่างประเทศต้องการมา ซึ่งจะให้ย้ายถิ่นไปอยู่ที่อื่นนั้นจะให้ไปทำอะไร เราทำนาทำสวนมาตั้งแต่ยุคปู่ย่าตายาย โดยโฉนดที่ยังเก็บไว้ก็ตั้งแต่สมัยของรัชกาลการที่ 5 ที่ทรงพระราชทานไว้ ทุกวันนี้เครียดมากเพราะพื้นที่ที่นี่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดนครปฐม หรือจะว่าในประเทศก็ได้ เพราะได้มีน้ำจากแม่น้ำท่าจีนมาหล่อเลี้ยงทั้งปี สามารถทำนาได้ถึงปีละ 4 ครั้ง มีสวนผลไม้ ดอกไม้ และมีสินค้าเกษตรส่งออกไปได้มากมาย แต่กรมท่าอากาศยานคิดได้อย่างไร ที่จะเอาอู่ข้าวอู่น้ำของจังหวัดนครปฐม  ไปทำสนามบิน ไปเอาปูนมาแทนแหล่งเกษตร คืนตนเองก็จะขอสู้เพื่อถิ่นที่อยู่ต่อไปแน่นอน ซึ่งมีคนเฒ่าคนแก่เครียดจนเสียชีวิตไปแล้วก็มี

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

 

             ด้านนายคณฑี เอี่ยมสะอาด อายุ 54 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ต. บางระกำ อ.บางเลน บอกว่าวันนี้หลังจากเราได้เดินหน้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานต่างๆ เริ่มตั้งแต่จังหวัดนครปฐม ไปจนถึงรัฐบาล ล่าสุดก็ได้ไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมาธิการคมนาคมวุฒิสภา ซึ่งก็มีหนังสือตอบรับว่าได้รับพิจารณาเรื่องดังกล่าวทำให้ชาวบ้านใจชื้นขึ้นมาบ้างแต่ก็ไม่รู้ว่าหนังสือที่ได้รับมานี้จะมีผลมากน้อยต่อคณะรัฐมนตรีที่จะเดินหน้าสร้างสนามบินหรือไม่ ซึ่งให้สื่อลงไปดูพื้นที่ได้ว่าพื้นที่ 3.5  พันไร่ ที่จะก่อสร้างสนามบินทุกตารางนิ้วชาวบ้านได้ใช้ทำการเกษตรเต็มพื้นที่ เรามีความหลากหลายทางการเกษตร ที่นี่เคยได้รับการยกให้เป็นครัวโลกที่จะส่งผลผลิตทางการเกษตรไปให้ทั้งประเทศและต่างประเทศ มันน่าเสียดายมากเพราะนอกจากพื้นที่ 3.5 พันไร่ที่จะมีผลกระทบโดยตรงโดยรอบที่จะมีการก่อสร้างอื่นๆอีกนั้นก็จะมีเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยผลที่น่าห่วงคือการที่จะมีการถมที่ดินที่สนามบินจะส่งผลทำให้ที่นี่ซึ่งเป็นแก้มลิงที่รับน้ำจากกรุงเทพจะไม่มีที่พักน้ำ ซึ่งเมื่อปี 54 นั้นที่นี่ก็รองรับช่วยคนกรุงเทพหลายล้านคนมาแล้ว ถ้ามีอะไรมากั้นทางน้ำก็ย่อมจะส่งผลกระทบแน่ๆ โดยจะมีการปิดคลองย่อยอีก 4 คลองที่เข้าชุมชน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่นี่เสียหายทั้งหมด ตรงนี้บอกว่าหากระทรวงคมนาคมจะยืนยันก่อสร้างจริงก็ถือว่าน่าเสียดาย

               “วันนี้ชาวบ้านเห็นหนังสือของกรรมาธิการฯแล้วก็ดีใจแบบใจชื้นขึ้นมานิดหน่อยแต่ก็ไม่คิดว่ากระทรวงคมนาคมจะล้มเลิกการก่อสร้างเพราะทุกครั้งที่มีการคัดค้านหรือมีข้อมูลว่าจะติดขัดไม่ก่อสร้าง ก็จะมีข่าวว่าเคาะแล้วๆมาตลอดจนชาวบ้านเราชิน ยืนยันว่าพวกเราจะต่อสู้หากยังมีชีวิตเพื่อจะเก็บที่ดินไว้ให้ลูกหลานมาทำการเกษตรกันในอนาคตเพราะถ้าหมดที่นี่แล้วจะไปหาที่ดินที่สร้างความสมบูรณ์ได้จากที่ไหนได้อีก วันนี้รับว่าชาวบ้านยังสับสนกับเรื่องนี้” นายคณฑีกล่าวปิดท้าย

               ขณะที่ นางอำภา บุญขจร อายุ 67 ปี อยู่บ้านเลขที่ 22/1 ม.8 ต.บางระกำ อ.บางเลน บอกว่ามีที่ดิน 40 กว่าไร่ ทำทั้งนา และปลูกไม้พยุง ซึ่งบอกว่าเห็นหนังสือจากกรรมาธิการแล้วดีใจ เพราะเสียดายพื้นที่การเกษตร เพราะที่ดินที่ถูกเวนคืนคนที่ถูกเวนคืนก็จะย้ายไปแล้ว แต่คนที่อยู่โดยรอบจะอยู่อย่างไร เพราะน้ำจะมาท่วมรอบข้างอีกแน่นอน โดยชาวบ้านก็พยายามมาถามถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ การที่กรรมาธิการฯ ได้ออกหนังสือมาให้ก็ดีใจ เพราะที่ผ่านมาก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ สนามบินยังสร้างมลภาวะหลายเรื่องให้กับการเกษตรด้วย ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำท่าจีนเราทำการเกษตรได้ทั้งปี วันนี้แม้จะชะลอไป 10 ปี ก็ยังได้หายใจคล่องคอเราไม่ได้คัดค้านแต่ขอให้ไปทบทวนที่เหมาะสม กว่านี้อย่าทำลายพื้นที่เกษตรที่สมบูรณ์เลยตรงนี้ถือว่าน่าเป็นห่วงเพราะพวกเราก็ไม่รู้จะย้ายไปอยู่ที่ไหน ที่ต้องหนีสนามบิน

               ขณะเดียวกัน ชาวบ้านได้พาลงดูพื้นที่การทำนา สวนและไร่การเกษตร ที่เป็นจุดก่อสร้างสนามบิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่ได้รับการพิจารณาการก่อสร้างสนามบินนั้นเป็นพื้นที่การเกษตรทั้งหมด โดยยังเป็นการแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยที่จะต้องสูญเสียไปในอนาคต โดยทุกคนที่ได้รับผลกระทบต่างรอคอยคำตอบที่ชัดเจนท่ามกลางกระแสความสับสนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยหลายรายยังยืนยันที่จะเก็บที่ดินเอาไว้แม้ว่าจะได้ราคามาเพียงใดก็ตาม และยังคงมีความสงสัยว่าพื้นที่ใกล้เคียงเช่ง อำเภอกำแพงแสน ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนการบินกำแพงแสน อยู่แล้วหากมีการขยายออกไปน่าจะเหมาะสมกว่าเพราะไม่ใช่พื้นที่น้ำท่วม โดยเป็นที่ดอนไม่เคยประสบปัญหาอีกทั้ง พืชเกษตรก็ยังเป็นกลุ่มของอ้อย เป็นหลักแต่ทำไมถึงไม่เลือกในการพิจารณาดังกล่าวเพื่อให้ชาวบ้านได้กระจ่างในเรื่องดังกล่าวด้วย

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

ชาวบ้านยังสับสนสร้างสนามบินหรือไม่หวั่นเสียพื้นที่เกษตร

 

 ปนิทัศน์ มามีสุข   นส.ปณิดา มามีสุข ผู้สื่อข่าวภูมิภาค  จ.นครปฐม

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ