ข่าว

นักศึกษาอาชีวอุตรดิตถ์เจ๋ง คิดประดิษฐ์หลอดชีวภาพจากผงวุ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักศึกษาอาชีวอุตรดิตถ์เจ๋ง คิดประดิษฐ์หลอดชีวภาพจากผงวุ้นเพื่อลดการใช้หลอดที่ทำมาจากพลาสติก

               

                ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ นายไพฑูรย์ ตัณทรานนท์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ นายศิริชัย นาระกันทา รอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ นายกฤษติภณ เผดิมดี  รองผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ พร้อมกับ ครูที่ปรึกษาโครงงาน ครูจันทร์จิรา ภมรศิลปธรรม ครูรวิสรา อ่อนคำพา ครูบุศรา คงศักดิ์ ได้จัดโชว์ โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาคุณสมบัติของหลอดชีวภาพจากผงวุ้น วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ระดับภาค ภาคเหนือ ครั้งที่ 30 ระหว่างวันที่ 17 - 19 ธันวาคม 2562 ณ วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย

ซึ่งมีนักศึกษาคือ นางสาวนลาวัลย์  แก้วกองทรัพย์  นางสาวรัตนพร  วัฒนธำรงศักดิ์  นางสาวหงส์เหม  บุญกิตติวศิน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปี1 ปีพุทธศักราช 2562 ได้ร่วมกันจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นซึ่งมีแนวคิดว่าพลาสติกยังเป็นภัยอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เนื่องจากพลาสติกใช้เวลานานในการย่อยสลาย และก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สร้างสภาวะโลกร้อน ย่อยสลายยาก

นักศึกษาอาชีวอุตรดิตถ์เจ๋ง คิดประดิษฐ์หลอดชีวภาพจากผงวุ้น

นักศึกษาอาชีวอุตรดิตถ์เจ๋ง คิดประดิษฐ์หลอดชีวภาพจากผงวุ้น

 

เป็นสาเหตุให้สัตว์น้ำเสียชีวิต เมื่อขยะพลาสติกลอยอยู่ในน้ำ ลักษณะของพลาสติกอาจคล้ายกับแมงกะพรุนหรืออาหารอื่น ๆ ตามธรรมชาติของสัตว์ทะเล ทำให้สัตว์ทะเลสับสนหรือเข้าใจผิดว่าเป็นอาหารจึงกินเข้าไป ทำให้เสียชีวิต จึงมีการรณรงค์งดการใช้พลาสติกในร้านค้าสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ และมียกเลิกการใช้พลาสติกในประเทศไทย เช่น พ.ศ. 2562 ยกเลิกการใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม พ.ศ. 2565 ยกเลิกหลอดพลาสติก จากประเด็นดังกล่าวจึงมีการรณรงค์ให้พัฒนาพลาสติกชีวภาพ ในรูปแบบต่าง ๆ จากแหล่งทรัพยากรที่ใช้ไม่มีวันหมด ปลูกทดแทนได้ (renewable plastic) นั่นคือ การเลือกผลิตพลาสติกจากพืชที่ปลูกใหม่ทดแทนได้หรือรีไซเคิล วัตถุดิบที่เป็นพลาสติกชีวภาพ (bioplastic) ที่สามารถสลายตัวได้  และประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในด้านแหล่งวัตถุดิบที่เป็นพืชปริมาณมาก จึงมีศักยภาพในการผลิตพลาสติกที่ทำจากพืช (bio-based plastic)  ในปี พ.ศ. 2559 Christine Figgener ผู้เชี่ยวชาญด้านเต่าทะเลแห่ง Texas A&M University ทำงานช่วยเหลือสัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณชายฝั่งของคอสตาริกาประเทศในภูมิภาคอเมริกากลางและทีมนักวิทยาศาสตร์พบเต่าทะเลได้สังเกตเห็นหลอดที่จมูกของเต่าเพศผู้ ซึ่งอธิบายว่าเต่ามีโอกาสดูดกลืนหลอดขณะกินอาหารอื่น ๆ เข้าไป และพยายามสำรอกหลอดออกจากปากพร้อมกับน้ำทะเล แต่อาจจะสำลัก ไอหรือจามไปออกผิดช่องทางจมูก เพราะช่องจมูกของเต่าทะเล เชื่อมต่อโดยตรงกับเพดานปาก โดยผ่านท่อโพรงจมูกยาว เต่าหญ้ากินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น กุ้ง ปลา แมงกะพรุน ปู หอย, สาหร่ายทะเลและหญ้าทะเล เต่ามักเข้าใจผิดคิดว่า ถุงพลาสติกหรือแก้วพลาสติกที่ลอยตามน้ำมาเป็นแมงกะพรุน และแก้วพลาสติกมักมีหลอดพลาสติกติดมาด้วย โดยพบว่าเต่าทะเลมากกว่า 90% ได้กินพลาสติกรวมทั้งหลอดพลาสติก

นักศึกษาอาชีวอุตรดิตถ์เจ๋ง คิดประดิษฐ์หลอดชีวภาพจากผงวุ้น

นักศึกษาอาชีวอุตรดิตถ์เจ๋ง คิดประดิษฐ์หลอดชีวภาพจากผงวุ้น

ฐานข้อมูลขยะทะเลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ทำการศึกษาขยะทางทะเลและเผยข้อมูลประเภทขยะที่พบมากที่สุด ในปีพ.ศ.2558  พบว่าประเภทขยะทางทะเลมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ถุงพลาสติก 13%  หลอด 10%  ฝาขวดน้ำ 8% และภาชนะบรรจุอาหาร 8%  หลอดพลาสติกเป็นขยะทางทะเลที่พบมากเป็นอันดับ 2 และพบว่าหลอดพลาสติกถูกใช้มากกว่า 500 ล้านหลอดต่อวัน ในขณะที่หลอดพลาสติกรีไซเคิลไม่ได้ และใช้เวลานานถึง 200 ปีในการย่อยสลาย(Move World Together, มปป.)   จึงมีการรณรงค์ลดการใช้หลอดพลาสติกกันอย่างกว้างขวาง หลายหน่วยงานและภาคประชาชน ให้เลือกใช้หลอดที่สามารถนำกลับมาใช้หลายครั้ง เช่น หลอดสแตนเลส หลอดซิลิโคน หลอดแก้ว หรือเลือกหลอดที่ได้จากพืชธรรมชาติ เช่น หลอดไม้ไผ่ หลอดฟางข้าว หลอดจากแป้งสาลี หลอดจากแป้งข้าวเจ้า ประกอบกับมีการผลิตแก้วจากวุ้นสาหร่ายที่บริโภคได้จากประเทศอินโดนีเซีย จึงทำให้คณะผู้จัดทำมีความสนใจที่จะศึกษาการนำผงวุ้นมาทำหลอดพลาสติกชีวภาพ เนื่องจากคุณสมบัติในการอุ้มน้ำ ให้สารคงรูปที่มีลักษณะแข็ง ยืดหยุ่น  น่าจะให้คุณลักษณะของหลอดชีวภาพที่สามารถนำไปใช้งานได้ และเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำวัสดุจากธรรมชาติมาผลิตเป็นหลอดชีวภาพ ช่วยลดการใช้ปริมาณหลอดพลาสติกลงได้ในปัจจุบันหลอดพลาสติกเป็นขยะทางทะเลที่พบมากเป็นอันดับ 2 และพบว่าหลอดพลาสติกถูกใช้มากกว่า  ล้านหลอดต่อวัน ในขณะที่หลอดพลาสติกรีไซเคิลไม่ได้ และใช้เวลานานถึง 200 ปีในการย่อยสลาย จึงมีการรณรงค์ลดการใช้หลอดพลาสติกกันอย่างกว้างขวาง หลายหน่วยงานและภาคประชาชนเลือกใช้หลอดที่สามารถนำกลับมาใช้หลายครั้ง เช่น หลอดสแตนเลส หลอดซิลิโคน หลอดแก้ว หรือเลือกหลอดที่ได้จากพืชธรรมชาติ เช่น หลอดไม้ไผ่ หลอดฟางข้าว หลอดจากแป้งสาลี หลอดจากแป้งข้าวเจ้า ประกอบกับมีการผลิตแก้วจากวุ้นสาหร่ายที่บริโภคได้ คณะผู้จัดทำมีความสนใจที่จะศึกษาการนำผงวุ้นมาทำหลอดพลาสติกชีวภาพ เนื่องจากคุณสมบัติในการอุ้มน้ำ ให้สารคงรูปที่มีลักษณะแข็ง ยืดหยุ่น  น่าจะให้คุณลักษณะของหลอดชีวภาพที่สามารถนำไปใช้งานได้และเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำวัสดุจากธรรมชาติมาผลิตเป็นหลอดชีวภาพ ช่วยลดการใช้ปริมาณหลอดพลาสติกลงได้และจะเป็นตัวแทน

ทางวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์ได้เป็นตัวแทน ระดับภาคเหนือเข้าร่วมประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษาระดับชาติ ในระหว่างวันที่ 17 - 19 สิงหาคม 2563 ณ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

นักศึกษาอาชีวอุตรดิตถ์เจ๋ง คิดประดิษฐ์หลอดชีวภาพจากผงวุ้น

นักศึกษาอาชีวอุตรดิตถ์เจ๋ง คิดประดิษฐ์หลอดชีวภาพจากผงวุ้น

ณัฐวัฒน์  ราชประสิทธิ์  ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จังหวัดอุตรดิตถ์ 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ