ข่าว

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง" ถามไม่ให้ปลูกข้าวแล้วจะทำไรกิน หนี้เยอะทั้งสหกรณ์และธ.ก.ส.  ต้นทบดอกเบี้ย วอน! รัฐบาลเห็นใจ

 

 

        เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจ “ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง” ถามไม่ให้ปลูกข้าวแล้วจะทำไรกิน หนี้เยอะทั้งสหกรณ์และธ.ก.ส.  ต้นทบดอกเบี้ย วอน! ฐบาล เห็นใจ ชลประทานจังหวัดพร้อมเขื่อนสิริกิติ์ แจงปีนี้น้ำน้อยกว่าปี61 โดยเฉพาะ 4 เขื่อนหลัก เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ต้องช่วยกันประหยัดน้ำ หันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 62 ที่ศาลาประชาคมจังหวัดอุตรดิตถ์ นายธนากร  อึ้งจิตรไพศาล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานเปิดการประชุมการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งแม่น้ำน่าน ปี 2562/2563 โครงการชลประทานอุตรดิตถ์ สำนักชลประทานที่3 เรื่องแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง 2562/63 ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ด้วยสำนักวาง แผนและโครงการพิเศษมีมาตรการบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งประกอบด้วย 1.ลุ่มเจ้าพระยามีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่ออุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศน์ แต่ไม่สามารถสนับสนุนการเพาะปลูกได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดมาตรการในการบริหารจัดการน้ำ ดังนี้ 1.1 ประตูระบายน้ำที่รับน้ำจากแม่น้ำน่านในลุ่มเจ้าพระยาจะเปิดรับน้ำเฉพาะการอุปโภคบริโภคเป็นการชั่วคราว 1.2 ขอความร่วมมือไม่ให้สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเพื่อการเกษตรสูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูก และขอความร่วมมือไม่ให้เกษตรกรทำการปิดกั้นลำน้ำหรือสูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกเช่นกัน 1.3 ลดการเพาะเลี้ยงในบ่อปลา บ่อกุ้ง เขตโครงการชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลดการเลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำน่าน1.4 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้มีการปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำ คูคลองและแหล่งน้ำต่างๆ

ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับปริมาณน้ำต้นทุน และการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โครงการชลประทานอุตรดิตถ์ จึงได้จัดให้มีการประชุมการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/2563 และการใช้น้ำในสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งใช้น้ำจากแม่น้ำน่าน จำนวน 88 แห่ง มีหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ 5 หน่วยงาน อาทิ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอุตรดิตถ์, ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์, เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์, ตัวแทนเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์, ตัวแทนประมงจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมบรรยายถึงหลักและเหตุผลของสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงในช่วงรอบปีที่ผ่านมา รวมถึงสถานการณ์ในเขื่อนสิริกิติ์ที่มีปริมาณน้อย ต้องการให้เกษตรกรลดการปลูกพืชที่ใช้น้ำมาก เช่น การปลูกข้าวนาปลังซึ่งเป็นข้าวปลูกนอกฤดูการทำนาปกติ ให้หันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน เช่น ข้าวโพด ถั่ว

โดยมีตัวแทนจากกลุ่มผู้ใช้น้ำและกลุ่มสถานีสูบน้ำ ผู้บริหารและตัวแทนท้องถิ่นระดับเทศบาล อบต.จาก 3 อำเภอ ประ กอบด้วย อำเภอพิชัย อำเภอตรอนและอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมรับฟังการประชุมการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งแม่น้ำน่าน ปี 2562/2563 แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง 2562/63 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในครั้งนี้ จำนวนกว่า 100 คน

ที่ประชุมได้นำสไลด์ฉายภาพพร้อมบรรยายถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบันชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังพร้อมเปรียบเทียบสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 อ่าง ปี 2562 กับปี 2561 ให้ฟังว่า ปริมาณน้ำในปี 2561 มีต้นทุนน้ำอยู่ที่ 57,966 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 80% และมีน้ำใช้การได้ 33,424 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น71% ในปี 2562 นี้ มีต้นทุนน้ำใช้งานได้เพียง 46,339 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 65% ต่ำกว่าปีที่แล้ว 15% มีปริมาณน้ำใช้การได้ 22,829 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 48% มีต้นทุนการใช้น้ำน้อยกว่าปีที่แล้วถึง 23% สรุปคือมีปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2561 ในปี 2562-3โดยเฉพาะ 4 เขื่อนหลัก ตั้งแต่เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 ปริมาณน้ำทั้งหมดมีจำนวน 19,241 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 77% มีน้ำใช้การ 12,545 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 69% เทียบกับวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 11,741 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 47% มีน้ำใช้การเพียง 5,045 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 28% ถือมีปริมาณน้ำที่น้อยมาก

น้ำที่ถูกปล่อยออกจากเขื่อนทั้ง 4 แห่งนั้น เป็นการรักษาระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติและน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะน้ำประปา จึงมีความจำเป็นที่ประชาชนจะต้องช่วยกันประหยัดน้ำและใช้น้ำอย่างประหยัดด้วยการปลูกพืชใช้น้ำน้อยจนกว่าจะถึงฤดูฝนหรือมีฝนตกลงมา

สำหรับลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ได้แก่ ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา นครนายก สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เป็นพื้นที่ที่ต้องให้ความร่วมมือในการประหยัดน้ำและหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปลังที่ใช้น้ำมาก

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

 

 

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังบรรยายการประชุมชี้แจง การบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งแม่น้ำน่าน แผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง 2562/63 ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมได้พูดคุยซักถามถึงอุปสรรและปัญหาหลังภาครัฐออกมาตรการขอความร่วมมือสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเข้าพื้นที่แปลงเกษตร เพื่อช่วยกันประหยัดน้ำในการทำนาและหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย ตัวแทนเกษตรกร

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

 

 

 

นายขันชัย  บางโม้ เกษตรกรหมู่ 2 ต.วังแดง อ.ตรอน ได้ลุกขึ้นกล่าวว่า ในปี 2558 จังหวัดอุตรดิตถ์ถูกบังคับห้ามสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า แต่ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกกลับสูบน้ำเพื่อทำการเกษตรกันมาก ถ้าจะห้ามก็ต้องห้ามหมดทั้งประเทศ ดูว่าคนไทยจะอยู่กันได้รึป่าว ตอนนี้เกษตรกรก็แย่กันอยู่แล้วยังห้ามทำนาปลังอีก อยากให้ช่วยพิจารณาด้วย การปลูกพืชใช้น้ำน้อยบางพื้นที่เป็นดินเหนียวไม่สามารถปลูกพืชใช้น้ำน้อยได้ ปลูกพืชใช้น้ำน้อยลงทุนไปก่อนทั้งหมด ผลผลิตออก

มาออกฟักแต่ไม่มีเมล็ด ที่ลงทุนไปไม่ได้คืน ผลสุดท้ายทางการก็ช่วยเหลืออะไรไม่ได้ ข้าวปีนี้เกวียนละกว่า 6,000 บาท เงินจะซื้อกับข้าวกินก็ยังไม่พอ 5-7 เดือนไหนจะหนี้สินสหกรณ์ หนี้สิน ธ.ก.ส.และหนี้สินกองทุนหมู่บ้าน ทั้งดอกและต้น เกษตรกรจะอยู่กันได้อย่างไร อุตรดิตถ์อยู่ต้นน้ำไม่ได้ทำ แต่ปลายน้ำทำกันเพียบ อยากให้ภาครัฐช่วยพิจารณาปัญหาของเกษตรกรด้วย

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

 

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไม่พอใจภาครัฐ "ไม่ให้สูบน้ำไฟฟ้าทำนาปลัง"

นายบุญส่ง  คำมิ่ง เกษตรกรหมู่5 วังแดง อ.ตรอน ลุกขึ้นกล่าวทันทีว่า เข้าใจเรื่องที่ภาครัฐต้องการนำน้ำไปดันน้ำเค็มทางทะเลและน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค อยากให้พิจารณาช่วยเกษตรกรในการปลูกข้าวอายุสั้น 3 เดือน เพราะตนมีหนี้สินสหกรณ์ 430,000 บาท หนี้ ธ.ก.ส. 320,000 บาทที่ต้องใช้ ยังไม่รู้เลยว่าจะใช้ดอกเบี้ยยังไง ภาครัฐส่งเสริมให้มีการปลูกถั่ว พื้นที่ตนเองปลูกได้ที่ไหนเพราะเป็นดินเหนียว มีลูกกำลังเรียน 2 คน ต้องจ่ายให้ไปโรงเรียนต่อคนวันละ 100 บาท ไม่ได้ 100 ไม่ยอมไปโรงเรียน ขอความกรุณาแจ้งไปถึงรัฐบาลบิ๊กตู่ด้วย ให้กลับมาดูแลภาคประชาชน มีน้ำกักเก็บต้องแบ่งกันใช้ ตนสูบน้ำเข้านาก็ต้องปล่อยลงคลองลงแม่น้ำ

ในขณะที่ นายปิยภัทร  สายเมฆ ผู้อำนวยการชลประทานอุตรดิตถ์ ขอความร่วมมือเกษตรกรให้ความร่วมมือ เนื่องจากชลประทานอุตรดิตถ์ได้รับนโยบายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมา จำเป็นต้องปฏิบัติตามนโนบายของกระทรวงฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่าสงบงเรียบร้อย ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดเกิดขึ้น หลังเสร็จสิ้นการประชุมกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้คาดหวังว่าสิ่งที่เรียกร้องไปนั้น จะทำให้รัฐบาลเข้าใจถึงปัญหาของเกษตรกรมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาเรื่องหนี้สินหากไม่ได้ปลูกข้าวทำนาปลัง เกษตรกรพื้นที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอตรอนและอำเภอพิชัย ส่วนใหญ่ 80% ยึดอาชีพเพาะปลูกข้าวทำนากันและมีรายได้หลักจากการทำนาหาเลี้ยงครอบครัว

ภาพ/ข่าว  สมภพ  สินพิพัฒนฤดี ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จังหวัดอุตรดิตถ์

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ