ข่าว

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พิธีกรรม "ปะชิ-ปะซะ" เพื่อเลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง ที่วัดป่าอาเจียง จ.สุรินทร์ พิธีกรรมโบราณ หนึ่งเดียวในโลกที่หาดูได้ยากยิ่ง (ชมคลิป)

พิธีกรรม “ปะชิ-ปะซะ” เป็นพิธีกรรมโบราณของชาวกวย หรือชาวกูย หรือที่คนไทยหลายคนเรียกว่า ชาวส่วย ที่ส่วนหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลกระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ หรือที่รู้จักกันในนาม “หมู่บ้านช้าง” ที่บ้านตากลาง ต.กระโพ  ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีการเลี้ยงช้างมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

 

พิธีกรรม “ปะชิ” เป็นพิธีกรรมการเลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้างของชาวกวย  เพื่อให้มีการสืบทอดวิชาคล้องช้าง  และพิธีกรรมต่างๆตามที่ครูบาใหญ่ได้ศึกษาเรียนรู้มา  เพื่อที่จะไม่ให้วิชาความรู้ต่างๆนั้นหายสาบสูญไป  ส่วนพิธีการ “ปะซะ” ก็คือพิธีการปัดรังควานสิ่งชั่วร้าย โดยในครั้งนี้เราจะมารู้จักกับพิธี “ปะชิ” ซึ่งจะมีลำดับชั้นต่างๆดังนี้

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 


 

เริ่มจากลำดับแรกคือ “ควาญมะ” คือเด็กหนุ่มที่สนใจอยากเรียนรู้ในการจับช้าง โดยการสมัครเข้าร่วมในพิธีกรรมต่างๆตั้งแต่ต้น เป็นคนรับใช้แบกหามในคณะที่ออกจับช้าง  โดยการหุงหาอาหารและทำงานทั่วไป และได้ออกป่าจนมีความชำนาญ จนเป็นที่ยอมรับก่อนจะขอเลื่อนชั้นขึ้นมาเป็น “ควาญจา” ซึ่ง “ควาญจา” ก็จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์จับช้างพอสมควร “ควาญจา” จะมีหน้าที่คอยเป็นผู้หยิบเครื่องมือต่างๆให้กับหมอช้างในขณะที่ออกคล้องช้างในป่า  ซึ่งการเป็นควาญจา ไม่ต้องผ่านการปะชิ หรือยกครู  และต่อมาเมื่อได้ออกทำงานร่วมกับหมอช้างจนชำนาญ ผู้ที่เป็น “ควาญจา”ก็จะสามารถขอเลื่อนขึ้นมาเป็น “หมอเสดียง” ซึ่ง “หมอเสดียง” จะต้องผ่านพิธี “ปะชิ” จากครูบาก่อน ซึ่งครูบาจะประสิทธิประสาทวิชาให้  ซึ่งคนที่จะเป็น “หมอเสดียง” จะต้องเคยช่วยหมอช้างจับช้างป่ามาแล้วจนชำนาญ ซึ่ง “หมอเสดียง”  จะมีหน้าที่ช่วยเป็นลูกมือให้กับครูบาในพิธีกรรมต่างๆ และจะต้องสามารถจับช้างป่าได้อย่างน้อย 5 เชือกขึ้นไป  ก่อนจะขอเลื่อนขึ้นมาเป็น “หมอสดำ” ซึ่งก็จะต้องผ่านพิธี “ปะชิ” จากครูบาเช่นเดียวกัน  ซึ่ง “หมอสดำ” จะต้องมีความชำนาญในการจับช้าง และเคยควบคุมการจับช้างด้วยตนเองมาก่อนด้วย  โดย “หมอสดำ” จะเป็นตำแหน่งรองจาก “ครูบา”   ซึ่งตำแหน่ง “ครูบา” คือตำแหน่งสูงสุดของหมอช้าง ซึ่งจะต้องมีความชำนาญในพิธีกรรมต่างๆในการคล้องช้าง การดูลักษณะช้าง และจะต้องสามารถจับช้างได้มากกว่า 20 เชือกขึ้นไป  และต้องผ่านพิธี “ปะชิ”ก่อน จึงจะเลื่อนขึ้นมาเป็น “ครูบา” ได้  ซึ่งตำแหน่ง “ครูบา” คือตำแหน่งหัวหน้าสูงสุดในการออกจับช้างป่า มีอำนาจระงับข้อพิพาทต่างๆ และชำระความผิด ตลอดจนควบคุมการจัดการผลประโยชน์ที่เกิดจากการจับช้างในแต่ละครั้ง  และเป็นที่เคารพของหมอและควาญช้างทุกคน 

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

ซึ่งพิธีกรรม “ปะชิ”   ก็จะเริ่มต้นด้วยการ เช่นไหว้ผีปะกำ  และผู้ปะชิจะต้องแสดงความสามารถในการจับช้างป่า การบังคับช้าง ให้หมอปะชิดู  ก่อนที่หมอปะชิจะทำพิธีกรรมปะชิให้  แต่ในปัจจุบัน การทำพิธี “ปะชิ” เลื่อนตำแหน่งหมอช้าง ก็ไม่มีให้เห็นมานานแล้ว  เนื่องจากไม่มีการออกจับช้างป่าเหมือนในอดีตอีกแล้ว  จนกระทั่งเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ที่วัดป่าอาเจียง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์  ก็ได้มีการจัดพิธีกรรม “ปะชิ” เลื่อนตำแหน่งหมอช้างขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้มีการสืบทอดตำแหน่งนี้ต่อจากครูบา  เนื่องจากครูบาที่เคยออกจับช้างป่าจริงๆต่างมีอายุมากแล้ว  เกรงว่าพิธีกรรมโบราณนี้จะสูญหายไปไม่มีใครสืบทอด  จึงได้จัดพิธีกรรมนี้ขึ้นมาอีกครั้ง  

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

 

ซึ่งการทำพิธี “ปะชิ” ในครั้งนี้  มีผู้มาขอเลื่อนเป็น “ควาญจา” 7 คน และขอเลื่อนเป็น “หมอเสดียง” 4 คน ซึ่งการทำพิธีก็เป็นไปตามขั้นตอนในแบบพิธีกรรมโบราณ  เพียงแต่การจับช้างป่าไม่ได้มีขึ้นจริง  มีแต่เพียงได้นำเอาช้างเลี้ยงในหมู่บ้าน  เอามาให้ผู้ที่จะขอ “ปะชิ” เลื่อนตำแหน่ง ได้ใช้อุปกรณ์ เชือกปะกำทำการคล้องช้างให้ครูบาดูเท่านั้น  ก่อนจะทำจะพิธี “ปะชิ” ให้  เพื่อที่จะได้อนุรักษ์พิธีกรรมนี้ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้รู้ได้เห็นต่อไป 

 

ซึ่งพิธีกรรม “ปะชิ – ปะซะ” นับว่าเป็นพิธีกรรมโบราณของคนเลี้ยงช้างที่มีมานานหลายชั่วอายุคนแล้วของชาวกวย หรือชาวกูย ที่นี่ ซึ่งนับว่าหาดูได้ยากยิ่งนัก เพราะนับตั้งแต่ไม่มีการออกจับช้างป่ามา  ก็ไม่มีการทำพิธีนี้อีกเลย  จนกระทั่งมาถึงวันนี้ จึงได้มีการทำพิธีนี้ขึ้นมาเพื่อให้มีการสืบทอดพิธีกรรมโบราณนี้ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ดูและเรียนรู้ต่อไป ซึ่งพิธีกรรมนี้  นับว่าเป็นพิธีกรรมโบราณ หนึ่งเดียวในโลกที่หาดูได้ยากยิ่งอีกด้วย

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

เปิดภาพหา พิธีกรรมโบราณ "ปะชิ-ปะซะ"เลื่อนลำดับตำแหน่งหมอช้าง

 

ภาพ/ข่าว ชูชัย  ดำรงสันติสุข จ.สุรินทร์ รายงาน

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ