ข่าว

กนอ.ตั้งวิสาหกิจบริการอุตฯ  รองรับนิคมฯเขตศก.พิเศษสงขลา 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดย...  สมชาย สามารถ

 

             

          สงขลา -  การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จับมือชุมชนจัดตั้งวิสาหกิจบริการภาคอุตสาหกรรม รองรับนิคมอุตสาหกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา เผยชาวบ้านเห็นด้วยอยู่ร่วมกัน การก่อสร้างคืบหน้าปรับพื้นที่ส่งมอบงานงวดแรก นักลงทุนไทย-ต่างประเทศ 9 รายสนใจ
              
 

 

 

          เมื่อวันที่ 5 ก.ค.62 ที่ผ่านมา ณ ห้อง ประชุม ก.ยศ.ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดสงขลา นายวิชชา ทรงประยูร ผู้อำนวยการงานชุมชนสัมพันธ์ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) พร้อมเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษา ศาสตราจารย์นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ เข้าพบนายอำพล พงษ์สุวรรณ  รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เพื่อรายงานผลการดำเนินงานในพื้นที่จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา (สะเดา)

 

          นายวิชชา กล่าวว่า  ทางงานชุมชนสัมพันธ์ได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชุมชนพื้นที่ ซึ่งเขาเข้าใจและพูดกับเราว่าจะร่วมกับอุตสากรรมได้ แต่จะอยู่อย่างไรนั้น เราต้องคุยกันและประคับประคอง  ซึ่งทางงานชุมชนสัมพันธ์ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 ช่วงปลายปีจนถึงปัจจุบัน   ซึ่งชุมชนมีความเข้าใจต้องการที่พัฒนาพื้นที่ของเขาพร้อมไปด้วยกับการนิคมอุตสาหกรรมแอห่งประเทศไทย

 

 

กนอ.ตั้งวิสาหกิจบริการอุตฯ  รองรับนิคมฯเขตศก.พิเศษสงขลา 

วิชชา ทรงประยูร


                 

          ซึ่งการดำเนินที่จะเดินไปกับชุมชนของ กนอ.ที่จะดำเนินการต่อไปหลังจากนี้ ก็คือการลงพื้นที่เรื่องวิสาหกิจบริการภาคอุตสาหกรรมในส่วนกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มอายุที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มแรงงาน  แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มแรงงานก็จะเข้าไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมในนิคมฯ  แต่ในส่วนที่อยู่บ้านหรือว่างงานเราจะมีเรื่องการบริการวิสาหกิจบริการภาคอุตสาหกรรมโดยจัดตั้งเป็นวิสากิจชุมชน บริหารงานโดยชุมชนเอง
             

          "หลังจากที่พาชุมชนไปดูงานแล้ว เขาบอกว่าเขาอยากบริหารเอง เพราะว่าสิ่งที่เราให้เขา เราก็อยากให้เขาบริหารด้วยตัวเอง เพื่อให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของ และมันก็อยู่กับเขา มันไม่ได้ตกอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่ง  แต่จะตกอยู่กับวิสาหกิจฯทั้งหมดที่เราจัดตั้งขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวมตัวของชุมชนเพื่อดำเนินการ"


                            

          นายวิชชา  นอกจากก็ยังจะมีกิจกรรมด้านอาชีพในเรื่องอื่นๆ ที่เราจะลงมาทำเกือบตลอดเวลา เพราะมีอาชีพอื่นๆที่หลากหลาย รวมไปถึงการให้ความรู้ เราก็จะมีให้ เรื่องการบริหารจัดการนิคมฯ เรื่องมาตรฐานการจัดการ เราก็จะสอบให้ เราก็บอกให้  ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเริ่มลงมาในพื้นที่มากขึ้น  ซึ่งปัจจุบันเราก็ลงพื้นที่เกือบทุกเดือน   เนื่องจากในขณะนี้นิคมฯเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดาก็เริ่มมีการปรับพื้นที่ไปแล้ว
            

          "เท่าที่ทราบมีการปรับพื้นที่ และ ก็มีการส่งมอบงานงวดแรกไปแล้ว ทุกภาคส่วนในพื้นที่จะได้รับทราบความคืบหน้าของโครงการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการส่งข้อมูลความคืบหน้าโครงการเป็นระยะๆ ส่วนความสนใจของนักลงทุนในปัจจุบันที่สนใจเข้ามาลงทุนในนิคมฯแห่งนี้ประมาณ 9 ราย มีทั้งนักลงทุนมาเลเซียและไทย" ผู้อำนวยการงานชุมชนสัมพันธ์ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าว

 

กนอ.ตั้งวิสาหกิจบริการอุตฯ  รองรับนิคมฯเขตศก.พิเศษสงขลา 


                  

          นายอำพล กล่าวว่า นิคมฯที่ทาง กอน.รับไปดำเนินการในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งสองรระยะมีไม่ถึง 1,000 ไร่ ระยะแรก 629 ไร่ก็กำลังปรับพื้นที่  ส่วนระยะที่สองพื้นที่ 298 ไร่ ทางจังหวัดกับอำเภอกำลังดำเนินการเพื่อทำการส่งมอบให้ กนอ.ในเกือนก.ย. ซึ่งเป็นพื้นที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับ 300,000 ไร่ ในมีการประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล
               

          ประกอบกับ กนอ.มีนโยบายชัดเจนว่า  อุตสากรรมที่จะมาลงในนิคมฯเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา คืออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ก็เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ซึ่งตรงกับพื้นที่อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ กนอ.ให้ความสำคัญแม้ว่าพื้นที่ตั้งของนิคมฯจะมีพื้นที่ไม่มากและผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจะไม่มาก
              

          โดยมีการจัดทีมลงพื้นที่เพื่อที่จะสอบถามพี่น้องประชาชนว่า ประชาชนเขาคิดอย่างไร  ซึ่งเป็นจุดที่ดี เพราะเราต้องบอกข้อเท็จจริงกับพี่น้องประชาชน   และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ต้นน้ำ เขาจะทราบข้อมูลพร้อมกับเรา มีปัญหาอะไรที่มันจะต้องกระทบกับชุมชนเขาจะได้รู้ เพื่อนำไปพูดต่อบอกต่อ
            

 

กนอ.ตั้งวิสาหกิจบริการอุตฯ  รองรับนิคมฯเขตศก.พิเศษสงขลา 

อำพล พงษ์สุวรรณ

 

          "ชาวบ้านต้องได้ประโยชน์ ซึ่งทาง กนอ.ก็มีโครงการต่างๆ ที่จะเข้าไปช่วยชุมชนอยู่แล้ว  ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย อุตสาหกรรมกับชาวบ้านก็อยู่กันได้ ชาวบ้านก็จะดูว่า สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตในสังคมมันไม่ถูกกระทบ แล้วเขาก็สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ สามารถรักษาสภาพแวดล้อมให้เหมือนเดิมได้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรมาก" รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าว
 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ