ไลฟ์สไตล์

"ภูเก็ต" กับสถาปัตยกรรม "ชิโน-โปรตุกิส"

13 ส.ค. 2564

"การเดินทางคือการเรียนรู้" ประโยคนี้ฟังยังไงก็ไม่ตกยุคจริง ๆ เพราะไม่ว่าคนเราจะเดินทางเพราะต้องการจะไปท่องเที่ยว ไปทำธุรกิจ ไปเรียนต่อ สิ่งหนึ่งที่ติดตัวเราไปด้วยคือวัฒนธรรมที่หล่อหลอมเราขึ้นมาซึ่งทำให้สังคมเกิดอะไรใหม่ ๆ อย่างสถาปัตยกกรรม "ชิโน-โปรตุกิส"

เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมอาคารบ้านเรือนในตัวเมืองภูเก็ตจึงมีความเป็น ชิโน-โปรตุกิส (Sino-Portuguese) หรือสถาปัตยกรรมที่มีสไตล์ผสมผสาน ระหว่างการตกแต่งแบบจีนเข้ากับแบบโปรตุเกส







\"ภูเก็ต\" กับสถาปัตยกรรม \"ชิโน-โปรตุกิส\"

 

 

ขอย้อนกลับไปตอนปี พ.ศ. 2054 ตอนที่ชาวโปรตุเกสได้มายึดครอง แหลมมลายู หรือมาเลเซียในปัจจุบัน ซึ่งในเวลาก่อนหน้าที่ชาวโปรตุเกส จะเข้ามา ชาวจีนได้ย้ายถิ่นฐานมาทำการค้าขายกับชาวมาเลย์ก่อนหน้านั้นแล้ว ส่งผลให้ชาวจีน และมาเลย์มีความสัมพันธ์ทีดีต่อกัน จนเกิดเป็นการสร้าง ครอบครัวร่วมกัน




เมื่อชาวโปรตุเกสเข้าในแหลมมลายูก็ได้มาทำการค้าบริเวณท่ามะละกา พวกเขาก็ได้นำ ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนวิทยาการตะวันตกติดตัวเข้ามาด้วย จึงเกิดเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมระหว่าง 3 เชื้อชาติ 

ในช่วงเวลาที่โปรตุเกสอาศัยอยู่นั้นเองก็ให้มีการดำเนินการสร้างที่พักอาศัยเพิ่มเติมด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบเป็นแนวตะวันตกสไตล์โปรตุเกสโดยให้ช่างชาวจีน นำแบบแปลนของที่ออกแบบไว้ไปดำเนินการก่อสร้าง แต่ด้วยความรู้และประสบการณ์ความเชื่อของช่างชาวจีนทำให้ผลงานการ ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเพี้ยนไปจากในแบบแปลนที่ชาวโปรตุเกสคิดไว้ เพราะช่างชาวจีนได้ลงลวดลายสัญลักษณ์รวมถึงลักษณะรูปแบบ บางส่วนของ ตัวอาคารตามคติความเชื่อของจีน จึงเกิดการผสมผสานกันระหว่าง สถาปัตยกรรมโปรตุเกสและจีน
จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นอย่างที่ เรารู้จักกันว่า ชิโน-โปรตุกิส





\"ภูเก็ต\" กับสถาปัตยกรรม \"ชิโน-โปรตุกิส\"

 

 

แล้วสถาปัตยกรรม ชิโน-โปรตุกิส เข้ามาประเทศเมืองภูเกตได้อย่างไร
 

ในยุคของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็จ  (เจ้าเมืองภูเก็ตในสมัยรัชการที่ 5) ท่านเป็น ผู้ที่พัฒนา เมืองภูเก็ตให้เจริญในทุกด้านโดยเฉพาะ ในด้าน การวางผังเมือง ภูเก็ตใหม่ ที่ได้นำรูปแบบมาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งมาเลเซียเองก็ได้รับ อิทธิพลการวางผังเมืองสมัยใหม่ของตะวันตกมาปรับใช้ ดังนั้นความคิดริเริ่ม ของ นายคอซิมบี้ ณ ระนอง นับเป็นการวางผังเมืองใหม่จากปรับจาก ที่ถนนภายในภูเก็ตที่เป็นดินลูกรังสายเล็ก  สำหรับเกวียน และทางเดินเท้า และมีบ้านเรือนกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปอย่างไม่เป็นระเบียบ ให้มีความเป็นระบบระเบียบมากขึ้น



\"ภูเก็ต\" กับสถาปัตยกรรม \"ชิโน-โปรตุกิส\"




ผลจากการวางผังเมืองใหม่ประกอบกับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเมืองภู เก็ตและ ปีนัง ที่เจริญเฟื่องฟู ทำให้ศิลปวัฒนธรรม วิทยาการใหม่ๆ รวมไปถึงรูปแบบการก่อสร้าง อาคารบ้านเรือนแบบ ชิโน-โปรตุกิส แพร่เข้ามาสู่เมืองภูเก็ตด้วยเช่นกัน
 



ขอบคุณที่มาบทความและรูปภาพจาก:
https://www.silpa-mag.com
https://unsplash.com