Lifestyle

ป่วย "โรคหัวใจ"การออกกำลังกายที่เหมาะสม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้ที่เป็น"โรคหัวใจ" การออกกำลังกาย คือเครื่องมือ ที่จะทำให้ กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดทำงานมีประสิทธิภาพ หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ  แต่การออกกำลังกายก็มีข้อจำกัด เพื่อความปลอดภัย

 

 

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย ในผู้ที่เป็น"โรคหัวใจ " มีผลดีก็คือ ทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง, อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง,การเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง, ป้องกันการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ ,   ป้องกันการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ,  ป้องกันการเกิดโรคอ้วน , 


 

 

 

 

การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้เป็น "โรคหัวใจ"   การเดินเร็ว เหมาะสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจที่สูงอายุ เพราะไม่ทำให้รู้สึกเหนื่อยจนเกินไป การเดินเร็วสัปดาห์ละ 1-3 ชั่วโมง จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจได้ถึงร้อยละ 30 ,  การวิ่ง ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ออกแรงสูบฉีดเร็วขึ้น ลดความเครียด และยังช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ แข็งแรงด้วย

 

การเล่นเทนนิส  ในผู้ที่เป็น"โรคหัวใจ"  ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณแขนและขา, การว่ายน้ำ ช่วยให้มีผลดีต่อสุขภาพหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและมีความยืดหยุ่น  อย่างไรก็ดีผู้เป็นโรคหัวใจที่เริ่มต้นออกกำลังกาย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อประเมินสภาพร่างกาย โรคแทรกซ้อน การเฝ้าติดตามการเต้นของหัวใจ รวมถึงการแนะนำให้เรียนรู้อาการหรือสัญญาณเตือนภัยต่างๆ ในขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย

 

หลังจากการเฝ้าติดตามแล้วหากไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น แพทย์จะอนุญาตให้ออกกำลังกายได้ แต่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อประเมินผลจากการออกกำลังกาย    ความถี่ในการออกกำลังกาย แนะนำให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง  ความหนักของการออกกำลังกาย ให้พิจารณาเป็นรายบุคคล เพราะสภาพโรคหัวใจที่ต่างกันย่อมมีความรุนแรงต่างกัน

 

ในการกำหนดความแรงของการออกกำลังกายแพทย์จะเป็นผู้กำหนดโดยมีการทดสอบทั้งก่อนออกกำลังกาย ขณะออกกำลังกาย หรือภายหลังการออกกำลังกาย เพื่อหาความเหมาะสมแก่ผู้ป่วยโดยความแรงของการออกกำลังกายเริ่มตั้งแต่ร้อยละ 50-80 ของอัตราการเต้นหัวใจเป้าหมาย ระยะเวลาในการออกกำลังกายประมาณครั้งละ 20-30 นาที 

 

 

ป่วย "โรคหัวใจ"การออกกำลังกายที่เหมาะสม

 

 

ป่วย "โรคหัวใจ"การออกกำลังกายที่เหมาะสม

 

 

 

 

ข้อแนะนำสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจที่ต้องการออกกำลังกาย :  ไม่ควรออกกำลังกายในขณะท้องว่าง ก่อนออกกำลังกายควรเว้นระยะหลังจากการรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง    ควรออกกำลังกายในร่ม หากเวลาดังกล่าวมีสภาพอากาศร้อน  อย่ากลั้นหายใจในขณะออกกำลังกาย ในระหว่างออกกำลังกายพยายามหายใจให้ปกติ ควรสังเกตการหายใจไม่ให้ติดขัด  และสามารถพูดคุยได้โดยไม่เหนื่อยหอบ

 

สถานที่ในการออกกำลังกายควรมีเครื่องมือและเจ้าหน้าที่พร้อม เพื่อความปลอดภัย ในการออกกำลังกายควรใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนาเกินไป    ควรออกกำลังกายในเวลาเดียวกันทุกวัน  อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ก่อนการออกกำลังกายควรดื่มน้ำประมาณ 1 แก้ว  การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องออกแรงมากเกินไป แต่ควรเน้นที่ระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสม

 

 

ไม่ออกกำลังกายหากรู้สึกไม่สบาย  ไม่ควรออกกำลังกายหรือหยุดออกกำลังกายทันที เมื่อมีอาการดังนี้ คือ เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยผิดปกติ  ทั้งหมดนี้คือข้อแนะนำ อันจะทำให้การออกกำลังหายของผู้ป่วยจากโรคหัวใจปลอดภัย และได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ 

 

ภาพประกอบจาก 

https://pixabay.com/th/

 

 

 

 

ป่วย "โรคหัวใจ"การออกกำลังกายที่เหมาะสม

 

 

ป่วย "โรคหัวใจ"การออกกำลังกายที่เหมาะสม

 

 

ป่วย "โรคหัวใจ"การออกกำลังกายที่เหมาะสม

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ