Lifestyle

"ปลูกถ่ายไต" ได้ไหม มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอะไรบ้าง ในช่วงโควิด-19

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ช่วงโควิด-19 ทำให้การ "ปลูกถ่ายไต" ชะงักไปทั่วโลก แต่ผู้ป่วยอย่าสิ้นหวังเมื่อวงการแพทย์ก้าวไกล แม้ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะโรคไตมีโรคประจำตัวสามารถปลูกถ่ายไตได้ เพียงแต่มีเงื่อนไขและข้อจำกัด

เกี่ยวกับเรื่องนี้ พญ.พิชชาพร นิสสัยสรการ นิสสัยสรการอายุรแพทย์โรคไตและผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายไต เมืองบอสตัน  รัฐแมสซาชูเซตส์สหรัฐอเมริกา ให้รายละเอียดว่า สำหรับในช่วงโควิด-19 ในต่างประเทศประสบความยากลำบากในการปลูกถ่ายไตเนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่

 

อุปสรรคที่สำคัญที่สุดช่วงโควิดระบาดคือ“ความไม่รู้”ช่วงแรก ๆ วงการแพทย์จึงไม่มีพื้นความรู้เกี่ยวกับโรคเลย ไม่ทราบว่ามาจากไหน ติดต่อกันอย่างไร อาการเป็นอย่างไร ใครเป็นกลุ่มเสี่ยง และที่สำคัญจะต้องรักษาอย่างไร มีอาการแทรกซ้อนเป็นอย่างไร 

ทั้งหมดนี้ทำให้การปลูกถ่ายอวัยวะหยุดชะงักลงทั่วโลกโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกามีการปลูกถ่ายไตจากผู้ที่มีชีวิตลดลงถึง 70%และมีข้อจำกัดในการปลูกถ่ายไตจากผู้ป่วยสมองตายมากถึง 80%ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรด้านการแพทย์ไม่เพียงพอ โดยส่วนใหญ่ถูกจัดสรรให้กับผู้ป่วยโควิด-19 

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ มีความจำเป็นที่ต้องได้รับยากดภูมิอย่างมากในช่วงแรกหลังการผ่าตัด ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่าง ๆ สูง เมื่อมีโควิด-19 ระบาดความกังวลด้านนี้จึงมากขึ้น
 

รวมไปถึงการตรวจเชื้อโควิด-19ในระยะแรกยังไม่เป็นมาตรฐาน มีความเสี่ยงที่จะนำโรคจากผู้บริจาคอวัยวะไปสู่ผู้รับการปลูกถ่ายไตได้ จะเห็นได้ว่าโควิด-19 นั้นส่งผลกระทบต่อทุกขั้นตอนของการปลูกถ่ายอวัยวะเป็นอย่างมาก

ในขณะนี้เป็นช่วงวิกฤตของการติดเชื้อโควิด-19 การปลูกถ่ายไต แต่เราได้เริ่มมีความรู้ มีการทำงานวิจัย เกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น รวมไปถึงอัตราการแพร่ระบาดของโรคลดลงในพื้นที่ที่มีการฉีดวัคซีน

การปลูกถ่ายไตจึงค่อยๆ ฟื้นตัว และหลาย ๆ โรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา เริ่มกลับมาทำการปลูกถ่ายมากขึ้นแล้ว มีการคัดกรองอาการของโรค และทำการตรวจเชื้อโควิดแบบด่วน ทั้งในผู้บริจาค และผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะก่อนการผ่าตัด

 

ในปัจจุบันการปลูกถ่ายไตหลัก ๆ มีการรับบริจาค 2 วิธี คือ

1.ผู้บริจาคสมองตาย หมายถึงผู้ป่วยที่เพิ่งจะเสียชีวิต สมองตาย แต่อวัยวะอื่นๆ ยังทำงานอยู่ สามารถนำไต และอวัยวะ อื่นๆ ไปปลูกถ่ายให้ผู้อื่นได้ และ

2.ผู้บริจาคที่มีชีวิตอยู่ เป็นการรับบริจาคจากญาติ หรือ เพื่อนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีความประสงค์ที่จะบริจาคให้ผู้ป่วย ซึ่งจะมีเทคนิคการผ่าตัดคล้ายกันทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย มีการผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็กในผู้บริจาคไต 

และนอกจากนี้ รพ. บางแห่งในสหรัฐอเมริกามีการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์(โรบอต)ส่วนในกรณีที่ผู้บริจาคและผู้รับไตมีเนื้อเยื่อหรือกรุ๊ปเลือดไม่เข้ากัน จะมีระบบจัดสรรแลกเปลี่ยนคู่บริจาคให้เนื้อเยื่อหรือกรุ๊ปเลือดตรงกันเพื่อลดโอกาสการต่อต้านไตที่ปลูกถ่ายให้

ในกรณีที่ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะโรคไตที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ก็ยังสามารถปลูกถ่ายไตได้ โดยสาเหตุของโรคไตวายในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ที่รอการผ่าตัดปลูกถ่ายไตนั้นมาจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นส่วนใหญ่ 

หากเปรียบเทียบระบบการคัดกรองการเปลี่ยนถ่ายไตของสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยในช่วงโควิด-19 จะมีความคล้ายคลึงกัน คือทั้งผู้บริจาคและผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจะต้องไม่มีอาการของโรคโควิด-19 คือ

ต้องไม่มีไข้ ไอ หอบ อาเจียน ท้องเสีย ไม่ได้กลิ่น ไม่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงโรค และจะต้องมีการตรวจเชื้อโควิด-19 แบบเร่งด่วน เพื่อยืนยันว่าไม่ติดเชื้อโควิด-19 ก่อนเข้าห้องผ่าตัด

ดังนั้นผู้ที่บริจาคและผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจะต้องได้รับคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 กับคนไข้ก่อนหรือหลังของการปลูกถ่ายไตจะเป็นการดีที่สุด

ที่มาข้อมูล : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ตะคริว"สัญญาณผิดปกติร่างกาย

รู้ไว้ "5 สารอาหาร" เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย ตัวช่วยให้ห่างไกลไวรัส

"นอนไม่หลับ"เสียงบำบัดตัวช่วยเพื่อผ่อนคลาย

"เหงื่อออกที่มือ" สัญญาณผิดปกติส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตอย่างไร

การใช้ยา "ฟ้าทะลายโจร" ในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ