Lifestyle

7 โรค บำบัดอาการได้จาก"ครอบแก้ว "

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศาสตร์ของแพทย์แผนจีน นอกจากการ"ฝังเข็ม"แล้ว การรักษาด้วยวิธี "ครอบแก้ว" หรือ ครอบกระปุก ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่สามารถนำมาใช้เพื่อรักษาอาการของบางโรค ผ่านหลักการสร้างความสมดุล

ในการรักษาอาการของแพทย์แผนจีน นอกจากการ “ฝังเข็ม”แล้ว  ศาสตร์อีกแขนงหนึ่งคือ “ครอบแก้ว” หรือ ครอบกระปุก เป็นวิธีการรักษาโดยใช้แก้ว หรือ กระปุกมาลนไฟให้ร้อน เพื่อไล่อากาศ จากนั้นจึงครอบลงบนผิวหนัง ซึ่งจะมีแรงดูดจากสุญญากาศ ทําให้เกิดเลือดคั่งขึ้นในบริเวณนั้น อุปกรณ์ครอบจะติดแน่นกับบริเวณผิว และดึงกล้ามเนื้อ เส้นประสาท เส้นเลือด ที่อยู่ถายใต้ บริเวณที่ครอบ ทําให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาท ฮอร์โมน ระบบหมุนเวียนเลือดสมดุล ไม่ติดขัด

"ครอบแก้ว "สามารถรักษาได้หลายโรคหลายอาการ เช่น ไอ ไข้หวัด หอบหืด ลมพิษ ทั้งยังนิยมนำมาใช้เพื่อลดต้นขา ลดหน้าท้อง  โดยอาการที่แพทย์แผนจีน นิยมนำเอาการครอบแก้ว มาใช้รักษามากที่สุด คือ อาการปวดที่บริเวณต่าง ๆ ตามร่างกาย เช่น อาการปวดบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ เอว ขา หัวเข่า

 

ศาสตร์การแพทย์จีน เชื่อว่า สาเหตุของการเกิดอาการปวดต่างๆเกิดมาจาก "เสียชี่" หรือ พิษต่าง ๆ จากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย ( พิษในศาสตร์การแพทย์จีน คือ ความเย็น ความชื้นต่าง ๆ)  เมื่อได้รับพิษเข้ามาอุดกั้นภายในเส้นเลือดและเส้นลมปราณต่างๆ แล้ว  จะทำให้เส้นเลือดหรือพลังติดขัดเลือดลมเดินได้ไม่สะดวก ก่อให้เกิดอาการปวดตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย  ดังนั้น "ครอบแก้ว" จึงเป็นการดูดเอาพิษจากภายนอกออกจากร่างกาย เพื่อให้เลือดลมไหวเวียนดีขึ้น  ส่งผลให้อาการปวดต่างๆทุเลาลง

 

 

7  โรค บำบัดอาการได้จาก"ครอบแก้ว "

โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยการครอบแก้ว

  1. โรคระบบทางเดินหายใจ - โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หอบหืด ปอดบวม ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอด อักเสบ
  2. โรคระบบทางเดินอาหาร  กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ปวดระบบประสาทกระเพาะ อาหารไม่ย่อย กรดเกินในกระเพาะอาหาร 
  3. โรคระบบหมุนเวียนเลือด  ความดันโลหิตสูง
  4. โรคระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย  ปวดกระดูกต้นคอ ข้อไหล่ปวดไหล่สะบัก ปวดข้อศอก ตําแหน่งจุด จุดที่กดเจ็บ หรือ บริเวณข้อต่อต่างๆปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้นกบ ปวดสะโพก ตําแหน่งจุด ตามจุดที่ปวดต่างๆ หรือรอบๆข้อต่อต่างๆปวดเข่า ปวดข้อเท้า ปวดส้นเท้า ตําแหน่งจุด ตําแหน่งที่ปวด และรอบๆข้อต่อ

 

    5. โรคระบบประสาท ปวดหัวจากระบบประสาท ตําแหน่งจุด จางเหมิน ซีเหมิน และบริเวณปวดชายโครง ปวดเส้นประสาทไซแอทิค

    6. โรคสตรี ปวดท้องประจําเดือน

    7. โรคอายุรกรรมภายนอก  ฝีหนอง

 

 

7  โรค บำบัดอาการได้จาก"ครอบแก้ว "

"สี"จากการครอบแก้ว เมื่อทำการรักษาโดยการครอบแก้วเสร็จแล้ว บริเวณของผิวหนังที่โดนครอบแก้วจะเกิดเป็นรอยจ้ำสีม่วง ๆ ขึ้น ซึ่งความเข้มของรอยจ้ำดังกล่าว สามารถบอกได้ถึงลักษณะอาการปวดตรงบริเวณนั้น ๆ ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยยิ่งมีสีที่เข้มมาก  แสดงได้ว่าบริเวณดังกล่าวมีอาการปวดมากเป็นพิเศษ (รอยจ้ำ ๆ ของผิวหนังบริเวณที่โดนครอบแก้ว จะเป็นรอยอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วจะจางหายไปเอง)

 

หลังครอบแก้ว หากไม่ปรากฏรอย หรือ มีรอยแต่จางหายไปย่างรวดเร็ว แสดงว่า สุขภาพโดยรวมยังไม่มีปัญหา ยกเว้น กรณีผู้ป่วยที่มีรูปร่างอ้วน หรือ เป็นโรคโลหิตจาง ซึ่งมักจะไม่เกิดรอยจากการครอบแก้ว  หากเกิดรอยเป็นเวลาหลายวันโดยไม่จางลง  แสดงว่าอาการได้สะสมเกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน ต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างต่อเนื่องในการครอบแก้ว

 

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการครอบแก้ว  สภาพร่างกายของผู้ที่จะครอบแก้ว ถ้าสภาพร่างกายอ่อนแอเกินไปไม่เหมาะ  เพราะเป็นวิธีการระบาย จะทําให้คนที่ร่างกายพร่อง ยิ่งพร่องมากขึ้น  ,สตรีมีครรภ์  คนป่วยโรคหัวใจ   สตรีมีครรภ์ จะทําให้แท้งได้ง่าย  ผู้ป่วยโรคหัวใจ หากได้รับการกระตุ้นแบบนี้อาจทําให้โรคหัวใจกําเริบได้  เช่นเดียวกับคนชรา , คนไข้ที่บริเวณผิวหนังมีแผลเปิดและโรคผิวหนัง ไม่ควรครอบแก้ว   ส่วนเวลาในการครอบแก้ว ไม่ควรครอบไว้นานเกินไป ปกติเวลาที่เหมาะสมอยู่ในช่วงเวลา 8 นาที

 

7  โรค บำบัดอาการได้จาก"ครอบแก้ว "

 

7  โรค บำบัดอาการได้จาก"ครอบแก้ว "

 

ภาพจาก pixabay.com/th/

 

เรียบเรียงเนื้อหาจาก https://www.huachiewtcm.com/
ขอขอบคุณข้อมูลจาก แพทย์จีน รติกร อุดมไพบูลย์วงศ์ (หมอจีน เวิน เจิน ฮุ่ย)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ