ข่าว

เปิดข้อมูล.."อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดข้อมูล"อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย แห่งใหม่ล่าสุด กว่า 5 กิโลเมตร เสร็จสมบูรณ์แล้ว

วันนี้ขอมาฉลองอีกหนึ่งความสำเร็จของวิศวกรชาวไทย ซึ่งได้ก่อสร้าง อุโมงค์หินลับ ซึ่งเป็นอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ยาวกว่า 5.2 กิโลเมตร ซึ่งขุดเจาะสำเร็จเป็นขั้นตอนสุดท้ายในวันนี้ 15 มิถุนายน 64 ที่ผ่านมา  อุโมงค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟทางคู่สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ (ทางคู่โคราช)  เลยขอ Repost วิธีการก่อสร้างอุโมงค์ทางคู่กว่า 5.2 กิโลเมตรนี้ กว่าจะเปิดให้เราได้ใช้ มีขั้นตอนอย่างไร มีความปลอดภัยขนาดไหน และมาตรฐานในการออกแบบเป็นอย่างไร

วิธีการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ และความคืบหน้าอุโมงค์รถไฟช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ยาวที่สุดถึง 5.2 กิโลเมตร ขอมาพูดถึงรูปแบบและวิธีการก่อสร้างเก็บไว้เป็นข้อมูลให้เพื่อนๆกันอีกซักตอนนึง วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟในโครงการรถไฟทางคู่ สายโคราช ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ

 

เปิดข้อมูล.."อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

 

เปิดข้อมูล.."อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

ส่วนของอุโมงค์ในช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ นี้อยู่ในสัญญาที่ 3 ของโครงการทางคู่สายอิสาน มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ในโครงการมีทั้งหมด 3 อุโมงค์  ได้แก่ 

- อุโมงค์มาบกะเบา 5.20 กิโลเมตร เป็นอุโมงค์ทางเดี่ยว ขนานกัน
- อุโมงค์มวกเหล็ก 0.26 กิโลเมตร เป็นอุโมงค์ทางคู่
- อุโมงค์คลองขนานจิต 1.17 กิโลเมตร เป็นอุโมงค์เป็นอุโมงค์ทางเดี่ยว ขนานกัน

ระยะทางอุโมงค์รวม 6.63 กิโลเมตร

ผู้รับเหมาก่อสร้างในสัญญานี้ คือ กิจการร่วมค้า ITD-RT มูลค่าสัญญา 9,290 ล้านบาท คุณอ่านไม่ผิดหรอกครับ เรากำลังจะมีอุโมงค์รถไฟยาว 5.2 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ก่อนสะพานรถไฟมวกเหล็กที่หลายๆคนตื่นเต้นซะอีก แต่มันอยู่ในดิน คนไม่เห็นเลยไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไหร่

เรามาดูว่าเค้าก่อสร้างอุโมงค์รถไฟลอดเขากันยังไง ก่อนอื่นต้นมาปูพื้นฐานกันก่อนว่าวิธีก่อสร้างอุโมงค์รถไฟลอดใต้เขากับ อุโมงค์รถไฟใต้ดินในเมืองมันต่างกันมาๆ เพราะสภาพแวดล้อมของดินและหินที่รอบรถไฟต่างกันมา  ซึ่งอุโมงค์รถไฟที่เราสร้างในโครงการรถไฟทางคู่สายอิสานสภาพแวดล้อมเป็นภูเขาหินปูนเป็นหลัก ซึ่งต่างจากดินในกรุงเทพซึ่งเป็นดินอ่อน โดยเฉพาะดินเหนียว จึงทำให้ใช้วิธีก่อสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งวิธีที่เราใช้ในการขุดเจาะอุโมงค์ในโครงการทางคู่สายอิสานนี้ ใช้กระบวนการชื่อว่า The New Austrian tunneling method (NATM) หรือ Sequential excavation method (SEM) ในการก่อสร้าง 

 

เปิดข้อมูล.."อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

โดยการใช้การระเบิดหินในอุโมงค์เป็นขุด มีกระบวนการดังนี้

1. เจาะผนังอุโมงค์ที่ต้องการเจาะตามตำแหน่งซึ่งถูกคำนวณไว้ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อความแม่นยำ ของเส้นทางอุโมงค์ และบรรจุระเบิดเข้าในตำแหน่ง เรียกกว่า Drill and Charge

2. ทำการระเบิดตามตำแหน่ง และจุดที่ได้วางระเบิดไว้ เรียกกว่า Blast

3. เมื่อระเบิดเอาหินออกมาตามตำแหน่งและปริมาณที่ต้องการ ก็ทำการขนถ่ายหินที่ระเบิดได้ออกมา เรียกว่า Mucking 

4. ปูลวดเหล็กและตาข่าย บนผนังอุโมงค์ และฉีดคอนกรีตทับผิวเพื่อป้องกันผนังอุโมงค์ถล่ม ในเบื้องต้น เรียกว่า Steel rib, Wire mesh, shortcrete application (ฉีดคอนกรีตบนผนังอุโมงค์)

5. เมื่อผนังคอนกรีตแห้งได้ผนังที่แข็งแรงระดับหนึ่ง ก็ทำการเจาะ ผนังอุโมงค์ในด้านรัศมีของอุโมงค์ และยึดด้วยน๊อต เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับผนังอุโมงค์ เรียกว่า Rock Bolting 

 

เปิดข้อมูล.."อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

แล้วก็เริ่มกลับไปทำในกระบวนการที่ 1 ใหม่แล้วทำไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ระยะของอุโมงค์ตามที่ต้องการซึ่งโดยทั่วไปในโครงการ จะมีความเร็วโดยเฉลี่ยในการขุดประมาณ 2.5-3 เมตร/วัน  ในส่วนงานภายในอุโมงค์หลังจากที่ด้านหน้างได้ก่อสร้างไปแล้วก็ต้องมีการปรับพื้นอุโมงค์ ให้เป็นตามความต้องการของโครงการ  พร้อมกับทำผนังอุโมงค์ให้เรียบ ตามรูปแบบอุโมงค์ที่ออกแบบไว้ตามมาตรฐาน โดยการใช้แบบมาตรฐานในการวางและเทคอนกรีตเพื่อปรับผิว เรียกว่ากระบวนการ Final Lining Concrete 


สำหรับ รูปแบบ ของอุโมงค์ในโครงการรถไฟทางคู่มี 2 แบบ คือ

- อุโมงค์ทางเดี่ยวขนานกัน หมายถึง 1 อุโมงค์ มีทางรถไฟ 1 ทางแต่ มี 2 อุโมงค์ขนานกัน

- อุโมงค์ทางคู่ หมายถึง 1 อุโมงค์ มี 2 ทางขนานกันภายในอุโมงค์

ซึ่งทั้ง 2 แบบ มีทั้งข้อดีข้อเสียต่างกัน 

- อุโมงค์ทางเดี่ยว ขนานกัน 

 

เปิดข้อมูล.."อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

ข้อดี
- ถ้ามีรถไฟตกรางภายในอุโมงค์ จะไม่กระทบอุโมงค์อีกฝั่ง 
- การอพยพ สามารถใช้อุโมงค์ขนานกันในการอพยพได้

ข้อเสีย
- มีค่าก่อสร้างที่แพงกว่า
- การกู้รถไฟที่ตกรางภายในอุโมงค์ทำได้ยากเพราะอุโมงค์มีขนาดเล็ก
- มีปัญหาเรื่องแรงดันภายในอุโมงค์กับรถไฟความเร็วสูง

ทำให้นิยมก่อสร้างในอุโมงค์ที่มีความยาวมากๆ 

 

เปิดข้อมูล.."อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

- อุโมงค์ทางคู่

ข้อดี
- ราคาถูก
- ซ่อมบำรุงง่าย 
- มีพื้นที่กว้าง
- กู้รถไฟที่ตกรางได้ง่ายเพราะมีที่กว้างกว่า
- ไม่มีปัญหาเรื่องแรงดันกับรถไฟความเร็วสูงเพราะอุโมงค์มีขนาดกว้าง

ข้อเสีย
- ถ้าเกิดรถไฟตกรางต้องปิดรถไฟทั้งสายเพื่อกู้รถไฟ
- การอพยพผู้โดยสารทำได้ยาก เพราะไม่มีอุโมงค์คู่ขนาน

ทำให้อุโมงค์ทางคู่เหมาะกับอุโมงค์ระยะสั้น ความคืบหน้าล่าสุดของอุโมงค์รถไฟช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ

ตอนนี้โครงการส่วนของสัญญาที่ 3 งานอุโมงค์มีความคืบหน้า 41.21%  ซึ่งเร็วกว่าแผน 0.39% หวังว่าเราจะได้ใช้อุโมงค์ ที่ยาวที่สุดในประเทศถึง 5.2 กิโลเมตร ตามแผนในต้นปี 65 นะครับ

 

เปิดข้อมูล.."อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

เปิดข้อมูล.."อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

เปิดข้อมูล.."อุโมงค์หินลับ" อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ITD-RT RIGHT TUNNELLING CO.,LTD 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ