ข่าว

เคล็ดลับ ดับ "กลิ่นตัว"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เคล็ดลับดับ"กลิ่นตัว" 9 วิธีในการกำจัดกลิ่น ลองทำตามคำแนะนำกันได้เลย

กลิ่นรักแร้ หรือ "กลิ่นตัว" เป็นกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกสถานการณ์ ซึ่ง "กลิ่นตัว" ที่เกิดขึ้นนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญต่อบุคลิกภาพและความมั่นใจของ เพราะ"กลิ่นตัว" เป็นสิ่งที่นอกจากตัวเองแล้ว คนรอบข้างที่ได้ "กลิ่นตัว" ของคนอื่นส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะบอกกันได้ตรงๆ 

เคล็ดลับ ดับ "กลิ่นตัว"

 

 

"กลิ่นตัว" เกิดจากสารที่สร้างมาจากต่อมกลิ่น (apocrine gland) ซึ่งพบมากที่บริเวณรักแร้และหัวหน่าว ต่อมกลิ่นพบได้ตั้งแต่เกิดแต่จะเริ่มทำงานในช่วงวัยรุ่น มีหน้าที่ในมนุษย์คือการสร้างกลิ่นซึ่งเป็นลักษณะทางเพศแบบหนึ่ง สารที่หลั่งจากต่อมกลิ่นประกอบด้วย กรดไขมันหลายชนิด (fatty acid, sulfanyl alkanols และ steroid ) มีลักษณะเหลวข้นไม่มีกลิ่น เมื่อหลั่งออกมาด้านนอกของผิวหนังสารดังกล่าวจะถูกเชื้อแบคทีเรีย (Corynebacteria spp.) เปลี่ยนให้เป็นสารที่มีกลิ่นซึ่งคือแอมโมเนียและกรดไขมันสายสั้น   

 

เคล็ดลับ ดับ "กลิ่นตัว"

 

ในทางการแพทย์ กลิ่นตัว จะมาจากต่อมกลิ่น ต่างกับเหงื่อที่มาจากต่อมเหงื่อ กลิ่นตัวอาจมาร่วมกับภาวะเหงื่อออกมากหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ กลิ่นตัวต่างจากกลิ่นเหงื่อ เนื่องจาก ปกติเหงื่อที่หลั่งมาจากต่อมเหงื่อจะไม่มีกลิ่น บางภาวะอาจทำให้เหงื่อมีกลิ่นได้ เช่น กระเทียม แกง หรือยาบางชนิด 

 

เคล็ดลับ ดับ "กลิ่นตัว"

การรักษาและป้องกันการมีกลิ่นตัว

            1. การรักษาสุขอนามัยให้สะอาด การล้างบริเวณรักแร้บ่อยๆ ด้วยน้ำสะอาดจะลดปริมาณสารก่อกลิ่นที่หลั่งจากต่อมกลิ่นได้ การล้างด้วยสบู่ฆ่าเชื้อจะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียแต่ไม่ควรล้างบ่อยเพราะอาจเกิดการระคายเคือง

            2. หลีกเลี่ยงภาวะที่ร้อนจัด ภาวะอบอับชื้น

            3. การใช้ยาระงับกลิ่นกาย  (deodorants)  ซึ่งจะมีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น สารลดเหงื่อ สารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สารลดกลิ่นที่สร้างขึ้น และน้ำหอมจะช่วยลดกลิ่นตัวได้

            4. การใช้ยาระงับเหงื่อ (antiperspirants) ส่วนมากจะมีส่วนประกอบของโลหะเช่น อลูมิเนียมคลอไรด์  ( aluminium chloride) ซึ่งจะไปอุดท่อต่อมเหงื่อ ลดการหลั่งเหงื่อ ทำให้ผิวหนังแห้งและแบคทีเรียที่ก่อกลิ่นตัวเติบโตไม่ดี สามารถช่วยลดกลิ่นตัวได้

            5. การใช้น้ำหอมฉีดพ่นเพี่อกลบกลิ่นตัว แต่ต้องระวังการผื่นแพ้น้ำหอมที่อาจเกิดได้

            6. การโกนขนบริเวณรักแร้เพื่อป้องกันแบคทีเรียและการสะสมของสารก่อกลิ่น

            7. สบู่ฆ่าเชื้อ เพื่อลดแบคทีเรีย

            8. การฉีดโบท๊อก เพื่อลดการสร้างสารก่อกลิ่น

            9. การผ่าตัดเอาต่อมกลิ่นออก เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี แต่อาจมี ผลข้างเคียงหลังการรักษา เช่น มีแผลเป็น การติดเชื้อ เป็นต้น

 


ขอบคุณข้อมูล  อ.พ.ญ.จรัสศรี  ฬียาพรรณ

                     ภาควิชาตจวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ