Lifestyle

ภัยใกล้ตัว"หมดสติ"ขณะออกกำลังกาย ความเสี่ยงกับทุกช่วงอายุ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เหตุนักฟุตบอลวัย 29 ปี ทีมชาติเดนมาร์กหมดสติขณะลงแข่งขันฟุตบอล กลายเป็นคำถามที่น่าสนใจว่า แท้จริงแล้วอาการ"หมดสติ"หรือวูบ ขณะออกกำลังกาย มีปัจจัยใดที่เป็นข้อบ่งชี้ถึงที่มาของการเกิดอาการ

การออกกำลังกายและเกิดอาการ"หมดสติ"กลายเป็นภัยใกล้ตัว ที่น่าเป็นห่วงคือบางรายถึงขั้นเสียชีวิต  ในกรณีที่ไม่ได้รับการดูแล  หรือปฐมพยาบาล  "คมชัดลึก" ขอนำเสนอข้อมูล ที่มาจากการศึกษาของ   1412 Cardiology @JarvisChaisiriLancelotWipat1412   ถึงปัจจัยบ่งชี้ การหมดสติระหว่างการออกกำลังกาย  

 

ภัยใกล้ตัว"หมดสติ"ขณะออกกำลังกาย ความเสี่ยงกับทุกช่วงอายุ

การ"หมดสติ"  ระหว่างออกกำลังกาย   (exercise-related syncope)  แบ่งออกเป็นสองช่วง 
1)ขณะออกกำลังกาย เช่น กำลังวิ่ง ปั่นจักรยานอยู่ แล้วมีอาการ หมดสติไปเลย 
2) เกิดอาการภายหลังการออกกำลังกาย

 

กรณีที่ 1 "หมดสติ"ขณะออกกำลังกาย (effort syncope)  ปัจจัยชี้นำประกอบด้วย    ภาวะน้ำตาลต่ำ  ไม่ทานอาหาร  แล้วออกแรงทันที หรือ ออกกำลังกายต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานจะมีโอกาสเป็นได้มากขึ้น โดยเฉพาะหลังกินยาเบาหวานบางกลุ่มที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

 

อากาศร้อนเกินไป (heat-related syncope)  ภายใต้องค์ประกอบ 1.  Heat Stroke เป็นภาวะที่กลไกควบคุมอุณหภูมิของร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิไว้ได้   ภาวะนี้ทำให้อุณหภูมิในร่างกายขึ้นไปสูงเกิน 40 องศา  ส่งให้อวัยวะและเนื่อเยื่อในร่างกายทำงานไม่เป็นปกติ ส่งผลให้ระดับการรู้ตัวลดลงหรือหมดสติไป  สาเหตุเกิดจากการอยู่ในที่ๆมีอากาศร้อนเป็นเวลานาน  อาการนี้เกิดได้ทุกกลุ่มอายุ  วิธีสังเกต คือ  มีอาการซึมลง พูดไม่ชัด เดินไม่ตรง คลื่นไส้   เริ่มพูดไม่รู้เรื่อง ตัวร้อน หมดสติหมดสติไปในที่สุด 


 
2. Heat Syncope  หมดสติ  หลังออกกำลังกายกลางแดด Heat Syncope แตกต่างจาก Heat Stroke  กล่าวคืออุณหภูมิในร่างกายปกติ ระบบควบคุมอุณหภูมิยังทำงานได้ดี แต่เกิดอาการ เพราะความดันต่ำลงฉับพลัน จากปฏิกิริยาตอบสนองที่ผิดปกติของหลอดเลือดส่วนปลาย ต่อความร้อน และการออกกำลังกาย เกิดการขยายตัวฉับพลันทำให้ความดันตกลงไปชั่วคราว  มีผลต่อเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำให้หมดสติไป 
อาการนี้จะเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้น และฟื้นขึ้นมา

 

 

ภัยใกล้ตัว"หมดสติ"ขณะออกกำลังกาย ความเสี่ยงกับทุกช่วงอายุ

3. Heat Exhaustion  พบในนักกีฬาที่ออกกำลังกายกลางแดดต่อเนื่อง  อุณหภูมิในร่างกายไม่สูงเหมือน Heat Stroke และไม่ถึงกับหมดสติไปเหมือน Heat Syncope  ระดับการรู้ตัวไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะรู้สึกหน้ามืด  ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจจะกลายเป็น Heat Stroke ได้เช่นกัน

 

ปัจจัยจากการอุดกั้นทางออกของเลือดจากหัวใจห้องล่าง  ทำให้หัวใจบีบเลือดออกไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายได้ในปริมาณที่จำกัด ขณะพักอาจจะพอ แต่ถ้าต้องการมากกว่านี้ เช่นขณะออกกำลังกายอาจจะไม่พอ แรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายที่ลดต่ำลงขณะออกกำลังกาย จะส่งผลลบต่อการทำงานของระบบไหลเวียน  

 

การอุดกั้นที่ว่านี้พบได้ในหลายๆโรคเช่น ลิ้นหัวใจ  , ผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนา จนอุดกั้นทางออกของเลือด, ภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดแดงปอด ซึ่งโรคดังกล่าวอาจจะไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน  ผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้บางครั้งอาจมีการทำงานชดเชย ของระบบประสาทอัตโนมัติดี  ทำให้บดบังอาการในขณะออกกำลังไม่หนักมากนัก แต่จะมีอาการหลังหยุดออกแรง เนื่องจากการถอนการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ชดเชยเอาไว้ 

 


กรณีแรงดันในหลอดเลือดแดงที่ปอดสูง และความดันในหลอดเลือดปอดที่สูงอยู่แล้ว จะสูงขึ้นมากไปอีกขณะออกกำลังกาย จนทำให้การทำงานของระบบไหลเวียนผิดปกติไป , มีการอุดตันหลอดเลือดหัวใจฉับพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่ถูกเลี้ยงโดยเส้นเลือด   หยุดทำงานไป การทำงานของหัวใจเสียไป เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ 

 

ภัยใกล้ตัว"หมดสติ"ขณะออกกำลังกาย ความเสี่ยงกับทุกช่วงอายุ

 

ภัยใกล้ตัว"หมดสติ"ขณะออกกำลังกาย ความเสี่ยงกับทุกช่วงอายุ

 

2.อาการหมดสติที่เกิดหลังออกกำลังกาย    สามารถเกิดขึ้นได้  กับผู้ที่ร่างกายปกติ  ไม่มีโรคประจำตัว  โดยเฉพาะถ้าชีพจรเต้นเร็วมาก หรือ ออกกำลังในระดับสูง  ประกอบการร่างกายขาดน้ำ  พักผ่อนไม่เพียงพอ    การที่หัวใจเต้นแรงและเร็วในขณะที่เลือดในห้องหัวใจค่อนข้างน้อย มีโอกาสกระตุ้นรีเฟลกซ์ชนิดหนึ่งในร่างกายขึ้นมา  ซึ่งมีผลทำให้ชีพจรเต้นช้าลงและความดันโลหิตต่ำ กรณีนี้เทียบได้กับ ขับรถมาเร็วๆแล้วหยุดทันที   จะเกิดการถอนตัวของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ความดันโลหิตต่ำฉับพลัน  มีโอกาสที่จะหมดสติได้   แต่ภาวะนี้ได้ไม่พบบ่อยนัก

 

ส่วนในผู้ที่ปกติที่แข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว  แต่มีภาวะการตอบสนองของหัวใจและหลอดเลือดที่ผิดปกติซ่อนอยู่  กลุ่มนี้อาจจะออกกำลังได้เหมือนปกติ  แต่ถ้า  เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ  ไม่สบาย  ดื่มน้ำน้อย  ก็อาจเกิดได้ อาการนี้มาจากหลอดเลือดส่วนปลายจะขยายตัวทั่วทั้งร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลงฉับพลัน หรือ หัวใตเต้นช้าลง  เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง เกิดอาการวูบ  แต่ไม่ถึงกับหมดสติ

 

ในคนที่มีโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก หรือลิ้นหัวใจไมตรัลตีบรุนแรง  เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาอุดกั้นทางออกของเลือดจากหัวใจ หรือ มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดปอด  หัวใจของคนในกลุ่มนี้ จะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างจำกัด ทำให้มักจะมีอาการหน้ามืดหรือหมดสติได้ขณะออกแรงหรือกำลังวิ่งอยู่  อย่างไรก็ตามยังมีบางกลุ่มโดยเฉพาะถ้าอายุยังไม่มากนัก ร่างกายอาจชดเชยเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญผ่านทางระบบประสาทอัตโนมัติ ในขณะที่กำลังออกแรง  เมื่อหยุดวิ่งกะทันหัน กลไกชดเชยอันนี้หายไป ก็อาจจะเกิดอาการหน้ามืดได้ทันที และ มักจะเป็นรุนแรงถึงขั้นหมดสติ ในที่สุด  1412 Cardiology @JarvisChaisiriLancelotWipat1412   ระบุ

 

สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงจากอาการหมดสติ ควรคำนึงถึง การเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการออกกำลังกาย ด้วยการอบอุ่นร่างกาย  ทราบถึงศักยภาพตนเอง ไม่หักโหมจนฝืนร่างกาย  เลือกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อากาศถ่ายเท ไม่ร้อนอบอ้าว และใช้ระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสม 

 

ขณะที่คำแนะนำสำหรับกรณีที่พบผู้มีอาการหมดสติ  คือการให้นอนลง ให้ศีรษะต่ำกว่าตัวเล็กน้อยหรือนอนราบ ขยายเสื้อผ้าให้หลวม ให้อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทปกติ  ไม่ร้อน ให้ผู้ป่วยดมแอมโมเนีย ประคบเย็นตามร่างกาย  ให้ดื่มน้ำเย็น หากอาการไม่ดีขึ้น ให้นำส่งโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยหมดสติและไม่หายใจ ให้ทำการปั๊มหัวใจ และนำตัวส่งโรงพยาบาล

 

ภัยใกล้ตัว"หมดสติ"ขณะออกกำลังกาย ความเสี่ยงกับทุกช่วงอายุ

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ