ข่าว

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทุกปี ความชุ่มฉ่ำทำให้พืชผักหลากหลายชนิดเจริญงอกงามตามธรรมชาติ โดยเฉพาะ “เห็ดป่า” วัตถุดิบยอดฮิตที่หลายคนรอคอยมาทั้งปี เห็ดมีพิษกับเห็ดกินได้นั้นบางชนิดมีความคล้ายกันมากทั้งรูปร่างลักษณะและชื่อ หากคนเก็บเห็ดมากิน หรือขายสร้างรายได้เสริม ไม่สันทัด แยกชนิดเห็ดกินได้กับเห็ดพิษได้ยาก อาจทำให้เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตได้ดังที่เป็นข่าวเกิดขึ้นประจำ เนื่องจากความเข้าใจผิดในลักษณะรูปร่างที่คล้ายคลึงกันกับเห็ดที่เคยรับประทาน หรือมีการเก็บเห็ดปะปนกันมาจากบริเวณที่เคยเก็บ ซึ่งอาจมีทั้งเห็ดกินได้และเห็ดเบื่อ (เห็ดเมา หรือเห็ดพิษ) โดยนำมาคัดแยกในภายหลัง 

 

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

ทั้งนี้การเก็บเห็ดป่ามีองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นในชุมชน ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีจำนวนผู้รู้ลดลงเนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของชุมชน อีกทั้งการทำเกษตรกรรมแบบพึ่งพาสารเคมีโดยเฉพาะที่อยู่ใกล้บริเวณป่าที่เป็นแหล่งอาศัยของเห็ด อาจทำให้มีสารเคมีปนเปื้อนไปกับดอกเห็ดและทำให้เห็ดกินได้กลายเป็นพิษ จึงควรมีการคัดแยกเห็ดก่อนนำมารับประทาน

 

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

เช็กรายชื่อ 15 "เห็ด" กินได้ และ "เห็ดพิษ" 

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุรายชื่อ 15 เห็ดพิษ ดังนี้

1. เห็ดระโงกเหลืองก้านต้น 2. เห็ดกระโดงตีนตัน 3. เห็ดคล้ายเห็ดโคน 4. เห็ดข่า 5. เห็ดขี้ควาย 6. เห็ดตอมกล้วยแห้ง 7. เห็นระโงกหิน 8. เห็ดไข่ 9. เห็ดมันปูใหญ่ 10. เห็ดดอกกระถิน 11. เห็ดแดงก้านแดง 12. เห็ดเผาะ (มีราก) 13. เห็ดขี้วัว 14. เห็ดไข่หงษ์ 15. เห็ดโคนส้ม

 

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

ส่วน เห็ดกินได้ ดังนี้ 1. เห็ดแดงกุหลาบ 2. เห็ดไข่เหลือง 3. เห็ดระโงกขาว 4. เห็ดโคน 5. เห็ดโคนฟาน 6. เห็ดก่อเหลือง 7. เห็ดกูด 8. เห็ดไข่ 9. เห็ดตับเต่า 10. เห็ดน้ำแป้ง 11. เห็ดหล่มกระเจียว 12. เห็ดข้าวเหนียว 13. เห็ดพุงหมู 14. เห็ดเผาะ (ไม่มีราก) 15. เห็ดมันปู 16. เห็ดจั่น

 

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

“ชื่อของเห็ด แต่ละพื้นที่เรียกไม่เหมือนกัน บางชนิดหน้าคล้ายกับเห็ดที่กินได้ ถ้าคนเก็บไม่รู้จักดีพอ ส่วนมากคนไม่ตั้งใจเก็บมากินเพื่อทำร้ายตัวเอง ส่วนใหญ่เก็บเพราะคิดว่ากินได้ เช่น เห็ดระโงกขาวซึ่งเป็นเห็ดกินได้ กับเห็ดระโงกหินที่เป็นเห็ดพิษ ก็จะมีความต่างกันเล็กน้อยที่เยื่อหุ้มดอกเห็ด”

 

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

วิธีสังเกตเห็ดพิษ มีดังนี้

ลองจับเอาออกมาดมอยู่ก่อนค่ะ หากมีกลิ่นเหม็นแปลกๆ กลิ่นเอียน หรือกลิ่นหืนเเปลกๆ ไม่ควรเก็บมารับประทาน ให้ลองเอามีดปลายเเหลมๆ กรีดตามลำต้นของเห็ดเพื่อดูว่ามียางขาวข้นเป็นเมือกไหลออกมาหรือไม่? หากมีไม่ควรเก็บมาทาน หากเห็ดมีสีสันสดเกินไป หรือสีน้ำตาลไม่ควรเก็บมาทาน สังเกตลำต้นว่ามีแผ่นบางๆ หรือเกล็ดตามบริเวณหมวกของเห็ด หากมีลักษณะแบบนี้ไม่ควรเก็บมาทาน ดูว่าลำต้นมีวงเเหนหรือขนปุกปุยที่ลำต้นหรือไม่? หากมีก็ไม่ควรเก็บเช่นกัน

ในกรณีที่เก็บมาเเล้ว สามารถทดสอบได้โดยนำไปต้ม คือให้ใส่ข้าวสวยใหม่อต้มรวมกับเห็ด หรือหอมหัวใหญ่สับใส่ลงไป หากข้าวสวยหรือหอมหัวใหญ่เปลี่ยนเป็นสีดำ เเปลว่าเป็นเห็ดพิษ ไม่สามาถทานได้ หรือนำวัดสดุที่มีเงินแท้เป็นส่วนประกอบ เเล้วนำไปจุ่มในน้ำต้มเห็ด ถ้าเป็นเห็ดพิษ เงินจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ควรทิ้ง ไม่ควรทานเด็ดขาด และใช้ปูนสำหรับทานกับหมากมาป้ายที่ดอกเห็ด หากปูนเปลี่ยนสีเเปลว่าเป็นเห็ดพิษ ควรเลือกเห็ดที่มีรอยฟันสัตว์เเทะ เพราะหากเป็นเห็ดที่ไม่มีพิษ สัตว์จะมาทาน เราก้สามารถทานได้

 

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

ภัยเงียบ “เห็ดพิษ” ออกฤทธิ์ถึงตาย หลังกิน 4 ชั่วโมง
กรณีโชคร้าย กินเห็ดพิษเข้าไป หากเป็นเห็ดที่ไม่มีพิษแรง แพทย์พิษวิทยา กล่าวถึงลักษณะอาการ คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ แต่ถ้าเป็นเห็ดที่มีพิษ amatoxin หลังกิน 4 ชั่วโมง จะมีอาการเหมือนเห็ดที่ไม่มีพิษแรง หากไป รพ. ได้รับน้ำเกลือ ยา ก็จะดีขึ้น เหมือนสบายดี แต่ในระหว่างที่ดีขึ้นกลับมีภัยเงียบคุกคาม ตับจะค่อยๆ เริ่มอักเสบมากขึ้น จนตัวเหลือง ตาเหลืองจากนั้นตับเริ่มทำงานได้น้อยลง ทำให้การทำงานของร่างกายเปลี่ยนไป เข้าสู่วันที่ 3 จะเป็นวันที่พีคสุด เพราะตับถูกทำลายหนักจนทำงานไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น มีเลือดเป็นกรด เริ่มซึม การทำงานของตับ และไตอาจล้มเหลว จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น ไม่ควรซื้อยากินเอง หรือรักษาแบบพื้นบ้าน รีบนำส่ง รพ.ให้เร็วที่สุด และต้องแจ้งประวัติการรับประทานเห็ดโดยละเอียดทั้งชนิดและปริมาณ หากมีตัวอย่างเห็ดที่ยังเหลือมาด้วยยิ่งเป็นการดี กรณีล้วงคอ หรือกรอกไข่ขาวผู้ป่วยให้อาเจียน พึงอย่ากระทำ เพราะกลับยิ่งเพิ่มอาการหากทำไม่ถูกต้อง และเมื่อเกิดอาการเหล่านี้เราต้องรีบทำการช่วยเหลือเบื้องต้นทันที โดยเริ่มจากการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยการล้วงคอหรือกรอกไข่ขาว จากนั้นรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที

ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียหลังกินเห็ดให้รีบไป รพ. หรือ รพ.สต. เพื่อได้รับการประเมิน และได้รับการดูแลที่ถูกต้อง ปกติจะให้กินผงถ่านเข้าไปดูดซับพิษเพื่อไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย บางทีอาจล้างท้อง หรือตรวจเลือด อย่าล้วงคอเพื่ออาเจียนจะเกิดผลเสียตามมา เช่น ให้คนอื่นล้วงคอ แล้วอาจมีแผลในคอ บางคนกินไข่ขาวหรือของดิบ ก็ยิ่งทำให้ท้องเสียเพิ่ม หรือติดเชื้อได้” 

 

เช็ก15 "เห็ดพิษ-เห็ดกินได้" ป้องกันอันตราย ธรรมชาติดับชีวิต

ที่มา..กรมควบคุมโรค

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ