เรื่องน่ารู้ สำหรับ "ผู้หญิงมีบุตรยาก" ผลงานวิจัยชี้ควรทำอย่างไร
ถ้าพูดถึงในยุคสมัยนี้ ปี 2021 หลายๆครอบครัว คงจะมีปัญหาในเรื่องของการมีบุตรยาก ซึ่งเกิดจากในหลายปัจจัย การรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ และ ได้รับวิตามิน รวมถึง แร่ธาตุที่เพียงพอ "ก่อนการตั้งครรภ์"
ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อโอกาสในการท้องได้ง่ายขึ้น และ ยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่สมบูรณ์อีกด้วย ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องของการมีบุตรยาก ครอบครัวที่มีบุตรยากในวงการบันเทิง ต้องยกให้กับ ครอบครัวของ นักร้อง นักแสดงยุค 90 “เจมส์ เรืองศักดิ์” กับ “ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” ที่มีลูกแบบธรรมชาติไม่สำเร็จ จนต้องหันมาพึ่งวิธีทางวิทยาศาสตร์ รวมถึง ศึกษาค้นคว้า งานวิจัยเพิ่มเติม จนประสบความสำเร็จในเรื่องของการมีบุตรยาก
โดย “เจมส์ เรืองศักดิ์ และ “ครูก้อย นัชชา” ได้ทำการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับการมีบุตรยากเพิ่มเติม จากในวารสาร “Clinical Medicine Insight Woman’s Health” เมื่อปี 2019 ได้รวบรวมผลการศึกษา ถึงความสำคัญของ “micronutrients” ซึ่งได้แก่ วิตามิน และ แร่ธาตุที่จำเป็นที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์ ช่วยส่งผลดีต่อการตั้งครรภ์ 5 ประการ ดังนี้
1. ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ (oocyte quality and maturation)
2. การปฏิสนธิ ( fertilization)
3. การฝังตัวของตัวอ่อน (implantation)
4. การเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo development)
5. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์
จากการศึกษางานวิจัย พบว่า วิตามินและแร่ธาตุที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่
- กรดโฟลิก (Folic)
กรดโฟลิกจำเป็นอย่างมากต่อหญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากความพิการของทารกแต่กำเนิด ได้แก่ หลอดประสาทไม่ปิด , ปากแหว่งเพดานโหว่ , ความผิดปกติของแขนขา , หัวใจพิการแต่กำเนิด , ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ , ไม่มีรูทวารหนัก และ กลุ่มอาการดาวน์
2. โคเอ็นไซม์ คิว10 (Coenzyme Q10)
โคเอ็นไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) จัดเป็นสารจำพวกวิตามิน หรือคล้ายวิตามิน ซึ่งถือเป็นขุมพลังงานสำคัญในชีวิตประจำวัน ที่คอยเติมความสดชื่นแข็งแรงให้แก่เซลล์ เพราะถ้าหากร่างกายขาด Coenzyme Q10 เซลล์ในร่างกายจะหยุดทำงานทันที!! Q10 มีบทบาทสำคัญในกระบวนการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนหลังไข่ถูกปฏิสนธิ และ ยังชะลอการเสื่อมของเซลล์ไข่
3. น้ำมันปลา (Fish Oil)
น้ำมันปลา เป็นไขมัน หรือ น้ำมันที่สกัดจากเนื้อเยื่อของปลาแซลมอน น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมัน โอเมก้า-3ในส่วนของการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) นั้น โอเมก้า 3 ช่วยเพิ่มการสร้าง nitrix oxide ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะสืบพันธุ์ได้ดีขึ้นมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มคุณภาพเซลล์ไข่ โดยเฉพาะผู้หญิงวัย 35 ขึ้นไปที่เซลล์ไข่เริ่มเสื่อมคุณภาพ ประสิทธิภาพในการทำงานของรังไข่ลดลง ควรทานโอเมก้า 3 ให้เพียงพอ นอกจากนี้โอเมก้า 3 ยังมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มคุณภาพของสเปิร์ม
4. วิตามินและแร่ธาตุรวม (Multivitamin & Minerals)
วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อการเสริมภาวะเจริญพันธุ์อีก 20 ชนิด ได้แก่
วิตามิน B รวม ช่วยให้เซลล์ไข่มีคุณภาพ ป้องกันภาวะตกไข่ผิดปกติ ช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้เป็นปกติ บำรุงสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์
วิตามิน C : ให้สารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยฟื้นฟูเซลล์ไข่และป้องกันไข่ไม่ให้เกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระ และจำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนและช่วยให้ไข่ตกอย่างปกติ
วิตามิน D : ลดความเสี่ยงการเป็น PCOS (ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ , ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง) และยังมีงานวิจัยชี้ว่า วิตามินดี ช่วยเพิ่มอัตราการฝังตัวของตัวอ่อน โดยสรุปว่า ผู้หญิงที่ได้รับวิตามินดีเสริม มีอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้รับวิตามินดีเสริม
วิตามิน E : วิตามินอีเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม ช่วยนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายทำให้เลือดไหลเวียนดี หากร่างกายขาดวิตามินอีจะส่งผลให้เกิดความเสียหายในการสร้างเซลล์อสุจิและการสร้างเซลล์ไข่
วิตามิน K1 : ช่วยในกระบวนการสร้างเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ
Inositol: อิโนซิทอล ช่วยให้รังไข่ทำงานเป็นปกติ ส่งผลต่อการผลิตไข่ที่มีคุณภาพ ช่วยแก้ปัญหาไข่ใบเล็ก ช่วยรักษาระดับอินซูลิน เยียวยาและป้องกัน PCOS ลดความเสี่ยงเบาหวาน นอกจากนี้นโนซิทอลยังเป็นตัวช่วยให้ตัวอ่อนพัฒนาอย่างสมบูรณ์
Zinc: ธาตุสังกะสีช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงทำงานเป็นปกติ ตั้งแต่กระบวนการผลิตเซลล์ไข่ การแบ่งเซลล์ การช่วยให้เซลล์ไข่เจริญเติบโตสมบูรณ์ และสุกพร้อมปฏิสนธิ
Manganese: แมงกานีสช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ ทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ วงจรการตกไข่เป็นปกติ มีงานวิจัยศึกษาพบว่าผู้หญิงที่ได้รับแมงกานีสไม่เพียงพอมีความเสี่ยงภาวะไข่ไม่ตกสูงขึ้น
Selenium: ซีลีเนี่ยมช่วยปกป้อง และชะลอความเสื่อมถอยของเซลล์ไข่ โดยทำงานร่วมกับวิตามินอีในการรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติ เสริมสร้าง follicular fluid ที่ห่อหุ้มเซลล์ไข่ ทำให้เซลล์ไข่สมบูรณ์ ป้องกันการแท้ง
Iron: ธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง มีงานวิจัยศึกษาพบว่าผู้หญิงที่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอจะลดความเสี่ยงภาวะไข่ไม่ตกได้ถึง 50%
Copper: แร่ธาตุทองแดงเป็นตัวช่วยให้ร่างกายผลิตเอนไซม์และฮอร์โมนอย่างเป็นปกติ ช่วยให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ช่วยในเรื่องระบบการเผาผลาญของร่างกายให้เป็นปกติ และกระตุ้นให้ร่างกายใช้ธาตุเหล็กเพื่อสร้างฮีโมโกลบิน
Chromium: โครเมี่ยมช่วยรักษาระดับอินซูลินในร่างกาย ลดภาวะดื้ออินซูลิน ลดฮอร์โมนเพศชายเทศโทสเตอโรน ช่วยเยียวยาและป้องกันภาวะ PCOS
Iodine: ไอโอดีนจะถูกใช้ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการใช้พลังงานของร่างกาย และควบคุมการทำงานต่างๆ ของเซลล์ทุกชนิด โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อและเซลล์สืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของเซลล์ทุกชนิด โดยเฉพาะในช่วงเป็นทารกในครรภ์ (ต่อเซลล์สมอง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และกระดูก) ช่วยให้ตัวอ่อนเติบโตอย่างเป็นปกติ
Beta Carotene: เบต้าแคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงและปกป้องเซลล์ ข่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและป้องกันการแท้งในระยะเริ่มต้น
Kelp Powder: ผงสาหร่ายเคลป์ หรือสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล คือสาหร่ายที่มีคุณประโยชน์อย่างมาก อุดมไปด้วยไอโอดีน (Iodine) และวิตามินหลากหลายได้แก่ A, B, E, D และ K มีส่วนช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติเป็นสาเหตุหนึ่งของการมีบุตรยาก
ดังนั้นผู้หญิงวางแผนตั้งครรภ์ ควรได้รับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ และได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอ "ก่อนการตั้งครรภ์" โดยเน้นอาหาร 70% วิตามิน 30% “อาหารก็ต้องกิน วิตามินก็ห้ามขาด” บำรุงก่อนเตรียมตั้งครรภ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีบุตรยากควรมีการเตรียมความพร้อมในการบำรุงร่างกายให้ดี ก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) หรือการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF / ICSI) ยิ่งบำรุงอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และต่อเนื่อง โอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์และเป็นครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะมีมากขึ้นนั่นเอง
ขอขอบคุณที่มาจากข้อมูล “ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์”