Lifestyle

เด็กไทยวัย 3 ปีแรกมีภาวะเติบโตไม่เหมาะสม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยจัดการประชุม ครั้งที่ 13 ในหัวข้อ"โภชนาการและวิถีชีวิตเพื่อสุขภาวะ" เพื่อชีวิตยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี

          ภาวะโภชนาการเด็กไทยในช่วงวัยต่ำกว่า 5 ปี ยังคงประสบปัญหาการเจริญเติบโตไม่เหมาะสม มีทั้งมากไปและน้อยไป โดยเฉพาะในช่วงวัย 1-3 ปี สาเหตุมาจากการขาดสมดุลด้านโภชนาการโดยได้รับสารอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตไม่เพียงพอ ซึ่งข้อมูลนี้ได้รับการเผยแพร่ในการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 13 

เด็กไทยวัย 3 ปีแรกมีภาวะเติบโตไม่เหมาะสม

เด็กไทยวัย 3 ปีแรกมีภาวะเติบโตไม่เหมาะสม

          จัดโดยสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยใช้แนวคิดเรื่อง “โภชนาการและวิถีชีวิตเพื่อสุขภาวะ” เพื่อชีวิตยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี เด็กจำเป็นต้องได้รับสารอาหารจำเป็นครบถ้วนสมดุลเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา และช่วงเวลาสำคัญที่สุดในการวางรากฐานสุขภาพดีให้ลูกก็คือในระยะเวลาหนึ่งพันวันแรกของชีวิต (แรกเกิดถึง 3 ปี)

เด็กไทยวัย 3 ปีแรกมีภาวะเติบโตไม่เหมาะสม

รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ

เด็กไทยวัย 3 ปีแรกมีภาวะเติบโตไม่เหมาะสม

          ภายในงาน รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ นายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อจำแนกภาวะโภชนาการไม่เหมาะสมที่มีทั้งขาดและเกินตามอายุในช่วง 5 ปีแรก ภาวะที่พบสูงมากคือ โภชนาการเกินหรือภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก และช่วงหลังขวบปีแรกคือวัย 1-3 ปี จะพบภาวะขาดโภชนาการส่งผลให้เด็กมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น โดยจะเห็นเส้นกราฟไต่ระดับคาบเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ซึ่งภาวะโภชนาการเกินกำลังเป็นปัญหา หากปล่อยให้ลูกอ้วนไปเรื่อยตั้งแต่อายุ 3-6 ปี โอกาสเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานในเด็กจะสูงมาก ผลสำรวจพบว่ามีอัตราเสี่ยงถึง 1.6 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อโตเป็นวัยรุ่นก็จะเป็นวัยรุ่นที่เป็นเบาหวาน มีอัตราเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากถึง 6.4 เปอร์เซ็นต์

เด็กไทยวัย 3 ปีแรกมีภาวะเติบโตไม่เหมาะสม

เด็กไทยวัย 3 ปีแรกมีภาวะเติบโตไม่เหมาะสม

เด็กไทยวัย 3 ปีแรกมีภาวะเติบโตไม่เหมาะสม

           ทั้งนี้นายกสมาคมโภชนาการ กล่าวอีกว่า การแก้ไขภาวะแคระแกร็นในเด็ก มีการศึกษาพบว่าถ้าจัดอาหารตามวัยให้ลูกกินได้หลากหลายจะช่วยประกันได้ว่าเด็กเล็กตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจะได้รับสารอาหารเพียงพอ ทางองค์การยูนิเซฟจึงได้จัดทำตัววัดคุณภาพอาหารในแต่ละวันที่เด็กต้องได้รับควรเป็นอาหาร 4 ใน 7 กลุ่ม ดังนี้คือ 1.ข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ 2.ถั่วและพืชตระกูลถั่ว 3.นมและผลิตภัณฑ์นม 4.เนื้อสัตว์ ปลา หมู ตับ เครื่องใน 5.ไข่ 6.ผักผลไม้ที่มีวิตามินเอสูง และ 7.ผลไม้อื่นๆ ส่วน “ภาวะน้ำหนักเกิน” พบว่ามาจากการที่เด็กเล็กได้รับโปรตีนมากกว่าความต้องการของช่วงวัย จึงมีความเสี่ยงที่จะอ้วนและเจ็บป่วยด้วยโรคในกลุ่ม NCD เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ มีคำแนะนำในทางวิชาการ คือควรจำกัดปริมาณนมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ไม่ให้กินเกินวันละ 1-2 แก้ว หรือให้กินนมโปรตีนต่ำ (Yong Child Fomula) แทนการกินนมวัว

เด็กไทยวัย 3 ปีแรกมีภาวะเติบโตไม่เหมาะสม

เด็กไทยวัย 3 ปีแรกมีภาวะเติบโตไม่เหมาะสม

        อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่พบว่าการกินนมเสริมสารอาหารจะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของเด็ก แต่มีความกังวลในประเด็นที่เด็กจะชอบกินนมมากกว่ากินอาหารตามวัยทั่วไป ซึ่งการให้ลูกกินนมมากกว่าอาหารมื้อหลักไม่ใช่พฤติกรรมการกินที่ดีนัก หลายครอบครัวอาจไม่พร้อมที่จ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ลูกกินนมเสริมสารอาหาร ตรงนี้จึงให้ถือเป็นอาหารทางเลือก แต่สิ่งสำคัญคือให้คุณแม่ยึดหลักสมดุลการจัดอาหารตามวัยครบคุณค่าห้าหมู่ที่หลากหลายและให้ลูกกินนมร่วมด้วยทุกวัน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ