Lifestyle

กล้ามเนื้อบั้นเอวเชื่อมต่อหลังกับสะโพก มากมายที่พบปัญหา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กล้ามเนื้อบั้นเอวเชื่อมต่อหลังกับสะโพก มากมายที่พบปัญหา คอลัมน์...  เสียงเตือนจากร่างกาย

 

 


          ฉบับนี้เรามารู้จักกับกล้ามเนื้ออีกหนึ่งมัด ที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างหลังกับกระดูกเชิงกราน และกระดูกเชิงกรานเชื่อมกับชายโครงล่างสุด เสมือนเป็นกำแพงที่โอบล้อมช่องท้องด้านหลังไว้ จากการวางตัวของกล้ามเนื้อมัดนี้ จึงทำให้เมื่อมีปัญหามักเกิดอาการได้หลายอย่างค่ะเป็นต้นว่า

 

 

          ปวดหลัง บริเวณบั้นเอว อาจร่วมกับร้าวลงขาหรือสะโพก
          บางเคสจะรู้สึกหายใจลึกๆ ไม่ได้ หายใจไม่สุด เจ็บแปล๊บที่บั้นเอว
          บางเคสบิดขยับตัวก็เสียวแปล๊บบริเวณบั้นเอวต่อกับสะโพก
          อาการปวดอาจร้าวลงสะโพกนิดๆ
          บางเคสเมื่อเกร็งมากจะทำให้ท้องอืด ขับถ่ายยาก ลมคั่งในช่องท้อง
          นอนตื่นมาใหม่อาจรู้สึกปวดเสียวบั้นเอว เมื่อพลิกตัวลุกขึ้น
          นั่งหรือเดินนานๆ ก็มักมีอาการปวดตึงร้าวไปทั้งบั้นเอว
ฯลฯ


          มาดูเหตุผลกันค่ะว่าทำไมเวลาที่กล้ามเนื้อมีปัญหาถึงได้กระทบหลายระบบดังที่ได้กล่าวมาค่ะ ????


          ส่วนใหญ่แล้วการทำงานของกล้ามเนื้อนี้คือมีการหดตัวต่อเนื่องตลอดเวลาทั้งในท่ายืน เดิน และนั่ง นั่นหมายถึงตัวเขาเองก็ต้องเกร็งมาก จึงมีผลทำให้ล้า และเกิดอาการปวดหลังได้ง่าย กล้ามเนื้อมัดนี้เสมือนเชือกที่ขึงจาก...

          ขอบเชิงกราน    ไปเกาะที่ปุ่มกระดูกด้านข้างของกระดูกสันหลัง(Lumbar facet)
          ขอบเชิงกราน ไปเกาะที่ชายโครงชิ้นล่างสุด (12th Rib)
          ชายโครง ไปที่ปุ่มกระดูกด้านข้างของหลัง

 

          ดังนั้นเมื่อเกร็งตัวมาก จึงทำให้มีผลต่อการหายใจ เมื่อเราหายใจเข้าชายโครงจะขยายออกเพราะปอดดึงอากาศเข้า แต่หากชายโครงถูกจำกัดด้วยการเกร็งของกล้ามเนื้อมัดนี้ ก็ทำให้การหายใจติดขัดได้


          อีกประการหนึ่งกล้ามเนื้อมัดนี้เป็นเสมือนกำแพงอยู่ผนังช่องท้องด้านหลัง มีเยื่อพังผืดในผนังช่องท้องเชื่อมโยงอยู่ หากกล้ามเนื้อมัดนี้เกร็งมากก็มักทำให้ไปขัดขวางการเคลื่อนไหวของสำไล้ ซึ่งอาจกระทบต่อการทำงานของอวัยวะในช่องท้อง อาจทำให้มีอาการท้องอืด ขับถ่ายยาก ลมคั่งในช่องท้องได้

 



          นอกจากนี้แล้วกล้ามเนื้อมัดนี้หากเกร็งตึงค้างในท่าที่ผิดนานๆ เช่น คนที่นั่งไขว่ห้าง ก็มักทำให้กล้ามเนื้อทั้งสองฝั่งไม่สมดุล เป็นเหตุให้เชิงกรานบิด หรือยก และส่งผลให้กระดูกสันหลังบิดเอียง หรือที่เรียก กระดูกสันหลังคดได้ (Lumbar Scoliosis) และส่งผลต่อเนื่องถึงการบาดเจ็บและการทำงานที่ผิดปกติได้อีกมากมายในร่างกายเราค่ะ เห็นหรือยังคะว่า กล้ามเนื้อมัดนี้เขามีบทบาท หน้าที่ และส่งผลกระทบต่อร่างกายได้มากมายเลย การที่เราจะสร้างตัวเขาให้แข็งแรงไว้ก็น่าจะทำให้ช่วยสร้างภูมิต้านทานอาการปวดต่างๆ ในร่างกายเราได้อีกมากเลยนะคะ ไว้ฉบับหน้ามาแชร์ให้ฟังนะคะ ว่าร่างกายเรานี้ มีกล้ามเนื้อมัดไหนอีกที่เราควรทำความรู้จักกับเขาอีกค่ะ ไว้พบกัน สวัสดีค่ะ


          ฟรี! 15 ท่านแรกเพียงส่งชื่อ เบอร์โทรมาที่ Line@ariyawellness หรือโทร.09 2326 9636 รับสิทธิในการตรวจคัดกรองอาการปวดหลัง ว่าอาการที่ปวดนั้นมาจากสาเหตุอะไร


          ***ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณเพ็ญพิชชากร แสนคำ นักกายภาพบำบัดจาก คลินิกกายภาพบำบัดอริยะ ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) โทรศัพท์ 092-3269636 www.ariyawellness.com Facebook: Ariya Wellness Center สถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ***


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ