Lifestyle

ข้อเข่าเสื่อม...ทางเลือกใหม่ในการรักษา (ตอนแรก)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ข้อเข่าเสื่อม...ทางเลือกใหม่ในการรักษา (ตอนแรก) คอลัมน์...  ป้องกันดีกว่ารักษา

 

 


          ฉบับที่แล้ว...เราได้ทราบถึงอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม และการดูแลรักษาเบื้องต้น โดย นพ.กิตติพงศ์ พงศ์แพทย์พิพัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก Addlife Total Check-Up Center ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) สำหรับฉบับนี้เรามาลงลึกถึงรายละเอียดของทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ใช้ยาและไม่ผ่าตัด หรือบางท่านเรียกว่า “Non-pharmacological modalities and Non-surgical treatment” ซึ่งในเบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้แก้ไขที่สาเหตุของโรคและรักษาอาการควบคู่กันไป เช่น ลดน้ำหนัก ปรับท่าทางการนั่ง หมั่นบริหารกล้ามเนื้อบริเวณข้อสะโพกกับข้อเข่า รวมถึงดูแลร่างกายให้กระดูกแข็งแรง แต่อย่างไรก็ตามใน    ปัจจุบันมีทางเลือกใหม่ในการรักษามากมาย ยกตัวอย่างเช่น

 

 

          1.การออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก (Exercise, Strengthening and Weight management) การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าเรายังต้องการการรักษาโดยการไม่ผ่าตัดและชะลอการผ่าตัดเพราะการที่กล้ามเนื้อแข็งแรงจะเป็นตัวช่วยการกระจายแรงไม่ให้ลงไปกระทำกับข้อต่อโดยตรง จากรายงานการวิจัยส่วนใหญ่พบว่า การออกกำลังกายในระดับปานกลางมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของปัญหาข้อเข่าเสื่อม แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายนั้นมีผลในการป้องกันการเสื่อม

 

          โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมควรเป็นการผสมผสานการพัฒนาความอดทนและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ มีบางรายงานการวิจัยพบว่าในผู้ป่วยโรคข้อเข้าเสื่อมมักจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงกว่าคนปกติได้ถึงสี่เท่า ดังนั้นการลดปัญหาการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ และการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ แม้ว่าการออกกำลังกายจะแสดงให้เห็นว่ามีประโยชน์ แต่การเพิ่มแรงก็อาจส่งผลเสียต่อการเกิดสึกหรอที่เข่าได้เช่นกัน

 

          ดังนั้นโปรแกรมการออกกำลังกายควรเกี่ยวข้องกับการรับน้ำหนักต้องกระทำและเป็นไปอย่างแบบค่อยเป็นค่อยไปความจำเพาะและความสามารถของคนไข้แต่ละราย โดยอาจพัฒนาระยะเวลาการฝึกให้ยาวนานขึ้น หรือค่อยๆ เพิ่มแรงต้านอย่างค่อยเป็นไปตามลำดับ การเน้นเรื่องของความเสี่ยงต่อการล้ม การควบคุมความเร็วในการเดิน การพัฒนาเพิ่มความสมดุล และความสามารถในการใช้งานและรับน้ำหนักตัว การออกกำลังกายเพื่อหวังผลในการลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะมีการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวเพียง 1% ก็สามารถลดแรงกระทำที่ผิวข้อได้ และยังส่งผลให้ระดับความเจ็บปวดที่ข้อเข่าของคนไข้ลดลง แต่แม้กระนั้นการออกกำลังกายไม่ควรเน้นไปที่การฝึกกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าแต่เพียงอย่างเดียว เพราะปัจจุบันพบว่าการเสริมสร้างกล้ามเนื้อสะโพกและกระดูกเชิงกรานสามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกได้ ดังนั้นแนวคิดของการรักษาด้วยการออกกำลังกายด้วยวิธีการรักษาแบบองค์รวมก็เป็นอีกวิธีที่ได้ประโยชน์

 

 


          2.การเพิ่มความมั่นคงให้กับข้อต่อและการฝึก (Stability, Proprioception and Neuromuscular training) ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักมีปัญหาความไม่มั่นคงของข้อต่อ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอาการและความเจ็บปวดบริเวณข้อ มีการเคลื่อนไหวที่จำกัดทำให้มีปัญหาในการทำของกิจกรรมต่างๆ ในทางกายวิภาคศาสตร์ข้อต่อหัวเข่าถูกสร้างมาให้มีความเสถียรจากการรวมตัวกันของโครงสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ทั้งที่ใช้เป็นแบบคงที่ในการสร้างความมั่นคง และแบบไดนามิกที่เพื่อใช้ในการเคลื่อนไหว การเสื่อมของความแข็งแรงและการรับความรู้สึกของข้อต่อ (proprioception) อาจส่งผลให้เกิดการขาดความสมดุลของระบบดังกล่าว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฝึกระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หลายการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการเน้นการฝึกเสถียรภาพและความมั่นคงของข้อต่อของข้อเข่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษามากกว่าการฝึกการออกกำลังกายที่เป็นแบบมาตรฐานของการดูแลข้อในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรง แต่ไม่ใช่ในผู้ที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนั้นหากจะฝึกความมั่นคงของข้อต่อต้องผ่านการฝึกแบบมาตรฐานมาก่อนและมั่นใจว่าความสามารถถึงระดับที่พร้อมจะฝึกความมั่นคงแล้วจึงจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และปลอดภัย


          3.การบำบัดด้วยมือ (Manual therapy) การรักษาด้วยวิธีนี้จะเกี่ยวข้องกับเทคนิคการรักษาของนักกายภาพบำบัดที่มีทักษะการใช้มือโดยการทำเทคนิคต่างๆ ในการรักษาเนื้อเยื่อเกี่ยวพันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว (ROM) และลดความเจ็บปวด-ลดการอักเสบ การปรับเปลี่ยนกล้ามเนื้อในการออกแรง และการเพิ่มการไหลเวียน เพื่อที่จะช่วยปรับปรุงการท่าทางการทำงานและการเคลื่อนไหว มีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ พบว่าการใช้ทักษะนี้สามารถลดอาการปวดได้ 20%–40% หลังจากการรักษาไปเพียงสองถึงสามครั้ง


          ฉบับต่อไปเราจะมาพูดการรักษาข้อเข่าเสื่อมในรูปแบบอื่นๆ กันต่อนะคะ...


          โปรโมชั่นพิเศษตลอดเดือนธันวาคมนี้ แอดไลฟ์ ขอมอบบัตรตรวจประเมินท่าทางและโครงร่างกาย (Posture Analysis)....โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มูลค่า 1,200 บาท พร้อมส่วนลดและสิทธิพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติมอีกมากมาย


          *** ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.กิตติพงศ์ พงศ์แพทย์พิพัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก Addlife Total Check-Up Center ชั้น 1 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) โทรศัพท์ 0-2677-7077 www.add-life.org Facebook: Addlife Anti-Aging Center. Line: @addlife***


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ