Lifestyle

ย่านนวัตกรรม กับสมาร์ทซิตี้ ไทยแลนด์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ย่านนวัตกรรม กับสมาร์ทซิตี้ ไทยแลนด์ คอลัมน์...  อินโนสเปซ โดย...  บัซซี่บล็อก 

 

 


          หลายปีที่ผ่านมา คนไทยคงเริ่มคุ้นหูมากขึ้นเรื่อยๆ กับคำว่า “สมาร์ท ซิตี้” หรือเมืองอัจฉริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลชุดปัจจุบันโหมโปรโมทโครงการพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เชื่อมโยง 3 จังหวัดที่มีรอยต่อถึงกัน ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา หวังปั้นเป็นเขตลงทุนไฮเทคและอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ดึงดูดเงินทุนจากประเทศใหญ่ๆ เข้าสู่ผืนแผ่นดินไทย

 

 

          แต่อีกคำหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องสำคัญกับการสร้าง หรือความสำเร็จของความเป็นเมืองอัจฉริยะ ก็คือ “ย่านนวัตกรรม (Innovative District)” ในวันนี้อาจยังเป็นที่รู้จักอยู่ในวงจำกัด สวนทางกลับ “การขยายตัว” จนเข้ามาอยู่ใกล้ตัวหลายๆ คน เป็นพื้นที่นวัตกรรมแหล่งรวมเทคโนโลยีและไอเดีย ที่จะแปลงเทคโนโลยีเข้ามาสู่การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน การกระตุ้นเศรษฐกิจ การยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ ใช้บริการได้

 

 

ย่านนวัตกรรม กับสมาร์ทซิตี้ ไทยแลนด์

 


          ปัจจุบัน ประเทศไทยมีการพัฒนาย่านนวัตกรรมแล้ว 15 แห่ง ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และเมืองหลักๆ ในภูมิภาค ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาถึงการทำงานด้านนี้ในช่วงเพียงราว 3 ปี ขณะที่ ตัวเลขรวมจำนวนย่านนวัตกรรมทั่วโลก จากรายงานของสถาบันย่านนวัตกรรมโลก (The Global Institute on Innovation Districts) ระบุว่ามีมากกว่า 100 แห่ง สัดส่วนหลักๆ อยู่ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป ขณะที่ ในเอเชีย ก็พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น จุดสำคัญของความเป็นย่านนวัตกรรมก็คือ แม้เป็นพื้นที่รวมความเป็นไฮเทค แต่จะออกแบบให้สอดคล้องไปกับบริบทและข้อได้เปรียบเชิงพื้นที่แตกต่างกันไป เพราะนั่นคือ หัวใจความสำเร็จที่ยั่งยืนที่จะเอื้อให้เกิดการต่อจิ๊กซอว์สู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะได้อย่างสมบูรณ์

 

 

ย่านนวัตกรรม กับสมาร์ทซิตี้ ไทยแลนด์

 



          งาน “ASA Real Estate Forum 2019” ซึ่งจัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) เมื่อเร็วๆ นี้ ก็ได้มีการพูดถึงแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาย่านนวัตกรรมของประเทศไทย โดยมองว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ “ต้องมี” สำหรับไอเดียออกแบบเมืองยุคใหม่ ที่จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาเมืองแห่งอนาคตที่มีความยั่งยืนและเป็น “เมืองเพื่อทุกคน (Cities for All)” ซึ่งคือเป้าหมายสูงสุดของแนวคิดการสร้างเมืองอัจฉริยะ


          ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือเอ็นไอเอ กล่าวว่า การจะทำให้เมืองเป็นของทุกคนในทุกระดับได้จริงๆ ต้องมีการสร้างสรรค์ร่วมกัน โดยเริ่มทำงานผ่านแนวคิดการพัฒนาเพื่อชุมชน เพื่อสังคม นำร่องตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ด้วยโครงการพัฒนาย่านนวัตกรรม (Innovation District) เป็นการทำนวัตกรรมเชิงพื้นที่ (Area-based Innovation) โดยนำนวัตกรรมแทรกซึมเข้าไปในโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยในการออกแบบ ช่วยในการบริโภคได้คุ้มค่า นวัตกรรมแบบไหนควรอยู่ในเมืองแบบนั้น และเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม ถ้าทำให้เกิดขึ้นได้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและชนบทด้วย

 

ย่านนวัตกรรม กับสมาร์ทซิตี้ ไทยแลนด์

 

 


          ปัจจุบัน เอ็นไอเอ เข้าไปสนับสนุนการพัฒนาย่านนวัตกรรมแล้ว 15 แห่ง แบ่งเป็น ในกรุงเทพฯ มีย่านนวัตกรรม 8 แห่ง ได้แก่ ย่านนวัตกรรมโยธี ศูนย์รวมความรู้ด้านการแพทย์, ย่านนวัตกรรมปทุมวัน ศูนย์กลางผู้ประกอบการทุกระดับ, รัตนโกสินทร์ ศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กล้วยน้ำไท ศูนย์กลางธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มัลติมิเดีย และดิจิทัล, คลองสาน ศูนย์กลางความรู้เพื่อชุมชนสู่ความเจริญในอนาคต, ปุณณวิถี ศูนย์กลางดิจิทัลและไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่, ลาดกระบัง ศูนย์รวมคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ และบางซื่อ ศูนย์กลางด้านสมาร์ทลิฟวิ่ง-สมาร์ทเวิร์คกิ้ง

 

 

ย่านนวัตกรรม กับสมาร์ทซิตี้ ไทยแลนด์

 


          ในพื้นที่อีอีซี มีย่านนวัตกรรม 4 แห่ง ได้แก่ อู่ตะเภา-บ้านฉาง เป็นย่านการศึกษาและเมืองมหาวิทยาลัยที่ทันสมัย รวมถึงแหล่งที่อยู่อาศัยที่น่าอยู่ในอนาคต (Smart Learning and Living) กำหนดกรอบการพัฒนาธุรกิจในย่านและนวัตกรรมที่ต้องการ, ศรีราชา อนาคตแห่งย่านนวัตกรรมเชิงนิเวศ พื้นที่สำหรับการอยู่อาศัยและทำงานในความรื่นรมย์ มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สร้างความร่วมมือสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่, พัทยา ย่านนวัตกรรมเมืองน่าอยู่ น่าทำงานและน่าใช้ชีวิตสำหรับนวัตกรชาวไทย และบางแสน เมืองต้นแบบการบริหารจัดการเมืองที่ทันสมัย


          ส่วนในภูมิภาคต่างๆ มี 3 ย่านนวัตกรรม ได้แก่ ย่านนวัตกรรมเชียงใหม่, ย่านนวัตกรรมขอนแก่น และย่านนวัตกรรมภูเก็ต ซึ่งล้วนแต่เป็นหัวเมืองหลักของแต่ละภาค


          นายสุขสันติ์ ชื่นอารมย์ หัวหน้าศูนย์วิจัย งานสร้างสรรค์และออกแบบ สภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า แก่นของเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ทซิตี้) คือ การเอาเทคโนโลยีดีที่สุดในยุคนั้นเข้ามาใช้ ต้องมีการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับบริบทแต่ละยุค อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีมีผลกับสมาร์ทซิตี้ ก็คือ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงค์ส (ไอโอที) โครงสร้างพื้นฐานในสมาร์ทซิตี้ที่ต้องมีคือ Fiber of Things เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่เป็นรากฐานของเมืองยุคใหม่ เอาระบบต่างๆ มาเชื่อมโยงด้วยการสื่อสารไร้สาย เป็นเมืองที่มีระบบเซ็นเซอร์ จัดเก็บข้อมูลทุกอย่างที่ไหลเข้ามาอยู่ในโครงข่าย/ระบบ และต่อยอดมาใช้บริหารจัดการ เพื่อตอบรับเป้าหมายการใช้เทคโนโลยียกระดับคุณภาพชีวิตคนในเมือง


          “โครงสร้างพื้นฐานข้างต้นถือเป็น hard infrastructure ที่ทำหน้าที่ช่วยรวบรวมข้อมูลของเมือง และต่อจากนั้นคนในเมืองต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสมาร์ท ซิตี้ โดยที่มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ขณะที่ ย่านนวัตกรรม เปรียบเสมือนกลไกที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ”


          ทั้งนี้ เขายกตัวอย่าง กล้วยนำไท อินโนเวที อินดัสตรี ดิสทริกต์ (KIID) หรือกล้วยน้ำไทโมเดล ซึ่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพร่วมกับสำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (เอ็นไอเอ) เป็นตัวอย่างที่จับต้องได้ของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่รวบรวมอยู่ใน Data Platform จากพื้นที่โดยครอบคลุมพื้นที่อยู่อาศัยกว่า 3 ล้านตารางเมตร และพื้นที่จ้างงานหลักล้านตารางเมตร มีองค์ประกอบสำหรับการสร้างระบบนิเวศเชิงนวัตกรรม ทั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรม ผู้ประกอบการสื่อ มีสถาบันการศึกษาเป็นแหล่งความรู้
 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ