Lifestyle

'ทะเลธุงอีสาน' ศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชาวอีสานมักจะประดับธงหลากหลายรูปแบบเพื่อสื่อความหมายระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ

     เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้เดินทางมาชมงานที่ชาวบ้าน อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ รวมแรงรวมใจกันจัดงานจัดได้ยิ่งใหญ่และสวยงามเลยจนอยากนำมาเสนอให้ได้ดูกัน โดยจะเริ่มต้นที่ พระธาตุยาคู หรือ พระธาตุใหญ่เจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง (เมืองโบราณสมัยขอม ปัจจุบันเหลือแต่ซากอิฐปูนดิน) ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐปรากฏการก่อสร้าง 3 สมัยด้วยกันคือ ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมมีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ มีปูนปั้นประดับสร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นฐานรูปแปดเหลี่ยมซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิมเป็นรูปแบบเจดีย์ในสมัยอยุธยา ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์  รอบๆ องค์พระธาตุพบใบเสมาแกะสลักภาพนูนต่ำเรื่องพุทธประวัติ 

'ทะเลธุงอีสาน' ศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา

การฟ้อนบูชาพระธาตุโดยชาวบ้าน อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

'ทะเลธุงอีสาน' ศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา

     ชาวบ้านเชื่อกันว่าในองค์พระธาตุบรรจุอัฐิของพระเถระผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ จึงเรียกกันว่า พระธาตุยาคู (“ญาคู” ภาษาอีสานหมายถึงพระสงฆ์ผู้ใหญ่ในวัด) สังเกตได้จากเมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดแต่ไม่ได้ทำลายพระธาตุยาคู จึงเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวบ้านจะจัดให้มีงานประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประจำทุกปีในเดือนพฤษภาคมเพื่อเป็นการขอฝนและความร่มเย็นให้แก่หมู่บ้าน ที่ตั้งของพระธาตุยาคูบ้านเสมา ถนนทางหลวงหมายเลข 2367 ตำบลโนนศิลาเลิง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

'ทะเลธุงอีสาน' ศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา

ชาวบ้านกับชุดท้องถิ่นเตรียมต้อนรับขบวนเครื่องบูชาพระธาตุยาคู

'ทะเลธุงอีสาน' ศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา

 ทะเลธงหลากหลายสีสัน

     ในวันที่เราเดินทางมาถึงพระธาตุภาพที่เห็นเต็มไปด้วย “ธุง” หรือ ธง หลากหลายแขวนไว้เต็มลานด้านหน้าของพระธาตุยาคู เกิดจากชาวบ้านต่างร่วมมือร่วมใจประดิษฐ์ขึ้นเป็นลวดลายสีสันแตกต่างนี้ ชาวบ้านเชื่อว่าการบูชาในวันเพ็ญกลางของวันพระใหญ่ปีหนึ่งจะมีอยู่สองครั้ง โดยมีเอกลักษณ์สำคัญคือการทานธงหรือบูชาธงเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งธงอีสานนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล

      'ทะเลธุงอีสาน' ศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา

ขบวนแห่เครื่องบูชาพระธาตุ ท่ามกลางทะเลธุง

'ทะเลธุงอีสาน' ศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา

     ชาวอีสานมักจะประดับธงหลากหลายรูปแบบเพื่อสื่อความหมายระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ ธงมีความเป็นมาจากตำนานเรื่องเล่าว่ามีพวกเหล่ามารขึ้นไปก่อกวนเทวดาบนสวรรค์จนทำให้เหล่าเทวดาตกใจกลัวเป็นอย่างมาก ทำให้เจ้าแห่งสวรรค์สร้างธงขึ้นมาเพื่อให้เหล่าเทวดาทั้งหลายได้มองเห็นธงแล้วเกิดความกล้าหาญไม่หวาดกลัวต่อหมู่มาร ธงจึงเปรียบเสมือนตัวแทนในการขับไล่มารร้ายไปจากสวรรค์ ทำให้ในการต่อมามนุษย์จึงได้ประดิษฐ์ธงเพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างชาวบ้านกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว อีกทั้งเพื่อเป็นพุทธบูชาและมีความเชื่อว่าการทานธงเป็นปัจจัยให้เกิดความเป็นสิริมงคล เป็นการสร้างกุศลอย่างหนึ่งให้แก่ตนเอง ในชาติหน้าจะได้เกิดบนสวรรค์

'ทะเลธุงอีสาน' ศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา

นักท่องที่ยวเก็บภาพกับทะเลธง หรือธุง

'ทะเลธุงอีสาน' ศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา

'ทะเลธุงอีสาน' ศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนา

จุดพลุในระหว่างการแสดงแสงสีเสียง

     พุทธศาสนิกชนชาวอีสานจึงถือว่าธงเป็นเครื่องสักการะ ใช้ในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ในงานบุญและขบวนแห่ต่างจะประดับประดาในงานพิธีเพื่อความสวยงาม มีความแตกต่างกันตามความเชื่อในพิธีกรรมของแต่ละท้องถิ่น ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางนิยมทำ ธง 2 รูปแบบ ธงผ้า มีความยาวประมาณ 1–3 เมตร ทอด้วยผ้าลายขิดหรือลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์พื้นบ้าน ธงใย ใช้เส้นฝ้ายหลายสีมาสานคล้ายกับใยแมงมุม เป็นรูปสี่เหลี่ยม และรูปหกเหลี่ยม นำมาประกอบเป็นต้นธง และเมื่อถึงเทศกาลมาฆปูรมีบูชา ชาวเมืองฟ้าแดดสงยางพร้อมใจกันทานธงเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นทะเลธง ที่มองไปไกลสวยงามตระการตา นอกจากนี้ยังมีการฟ้อนรำจากชาวบ้านในละแวกนี้และการแสดงแสงสีเสียงที่ชาวบ้านร่วมมือร่วมใจกันจัดแสดงขึ้นมาเพื่อบูชาพระธาตุยาคู

       ถ้าอยากมาสัมผัสด้วยตาของท่านเองสักครั้งวันวิสาขบูชานี้เรียนเชิญมาลองสัมผัสดูสักครั้ง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ