Lifestyle

150 ปีของรถยนต์(4)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

150 ปีของรถยนต์(4) : คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์

               การเปลี่ยนแปลงระบบขับเคลื่อนจาก ล้อหลัง เป็นล้อหน้า ค่ายญี่ปุ่นดูเหมือนจะประสบความสำเร็จไปทั่วโลก น้ำหนักรถโดยรวมลดลง อัตราเร่งดีขึ้น ประหยัดน้ำมันมากขึ้น ญี่ปุ่นส่งรถไปขายทั่วโลกได้มากขึ้น ไม่นานนักต้นทศวรรษที่ 80 การเปลี่ยนแปลงที่ตามมาก็คือ ระบบการจ่ายน้ำมัน จากคาร์บูเรเตอร์ มาเป็นระบบหัวฉีด EFI Electronic Fuel Injection แล้วแต่ว่าค่ายใดจะเรียกอะไร

              แรกเริ่มเดิมทีนั้น การจ่ายน้ำมันด้วยหัวฉีดที่ควบคุมด้วยไฟฟ้ามีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบ Single point หรือ หัวเดียว จ่ายได้ทุกสูบที่ช่างบางคนอาจจะเรียกว่า คาร์บูไฟฟ้า และอีกแบบคือแบบ Multi point หรือ หัวฉีดละหนึ่งสูบ การเปลี่ยนแปลงนี้มีประเด็นน่าสนใจอยู่ที่ว่า กลุ่มค่ายรถในฝรั่งเศสให้ความเห็นว่า ที่อ้างว่าระบบหัวฉีดประหยัดน้ำมันมากกว่าคาร์บูนั้น พวกเขาก็สามารถที่จะพัฒนาระบบคาร์บูแต่ดั้งเดิมให้ประหยัดและมีประสิทธิภาพได้ไม่น้อยไปกว่าระบบหัวฉีด แต่นานวันเข้ากลุ่มฝรั่งเศสก็ต้านกระแสความแรงของระบบหัวฉีดไฟฟ้าไม่ได้

                คาร์บูเลเตอร์จึงต้องยกเลิกการผลิตไปตั้งแต่นั้น ถ้าจะว่าไปแล้วการใช้เครื่องเบนซินที่ต้องการฉีดน้ำมันด้วยหัวฉีด (แบบเครื่องยนต์ดีเซล) นั้น เบนซ์ กับบีเอ็ม ได้นำมาทดลองใช้ก่อนแล้ว โดยเฉพาะในเบนซ์รุ่นระบือลือลั่น สปอร์ตนางนวล แต่จากนั้นก็ยกเลิกไป ในทศวรรษที่ 80 นี้ ผู้คนเริ่มหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการคลายไอเสียของรถยนต์ แต่ก็ยังเป็นประเด็นแฝงในการพัฒนาเครื่องยนต์ เพราะจุดใหญ่ใจความราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นการที่หลายๆ ค่ายหันมาพัฒนาเรื่องการกินน้ำมันให้น้อยลงเป็นประเด็นที่คนใช้รถให้ความสนใจมากกว่า การติดตั้งตัวดักไอน้ำมัน (Chacoal canister) ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ผู้ผลิตอ้างว่าสามารถที่จะให้ไอน้ำมันกลับไปเป็นหยดน้ำมันเพื่อเอาไปใช้งาน(เผาไหม้)ได้ใหม่ แต่ในอีกความเห็นหนึ่งผู้ผลิตบอกว่า ไม่ต้องการให้น้ำมันระเหย (โดยฉพาะในระบบคาร์บิว) กลายเป็นไอไปทำลายสภาพแวดล้อม

                ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็เป็นสิ่งดีที่ผู้ผลิตได้สรรค์สร้างขึ้นมาในช่วงนั้น ช่นกันกับระบบนำเอาไอเสียกลับไปเผาไหม้ใหม่ (EGR Exshaust Gas Recirculation) ก็นำมาใช้กับเครื่องยนต์ทั้งเครื่องเบนซินและดีเซลก็ในยุคนี้ (80) จะถือได้ว่าป็นยุคแรกเริ่มของการพัฒนาระบบไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเอามาใช้กับรถยนต์ เมื่อระบบไฟฟ้าหรือหัวฉีดประสบความสำเร็จเครื่องจากเดิมสองวาล์วต่อสูบก็มาเป็น สี่วาล์วต่อสูบ จากโซ่ขับเพลาข้อเหวี่ยงและราวลิ้น ก็ปลี่ยนมาเป็นสายพานขับ (ในหลายๆ ยี่ห้อ)

                ปลายยุค 80 เข้าต้นยุค 90 ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมหนักหนาสาหัสมากขึ้น ผู้คนเดือดร้อนเริ่มส่งเสียงดัง จากที่เคยเพ่งมองแต่ปล่องควันของโรงงานอุตสาหกรรม ปลายท่อไอเสียรถยนต์ ก็เริ่มจะตกเป็นจำเลยของประชาคมโลก แรกเริ่มเดิมทีก็เริ่มจากกลัวคนตายจากไอเสียรถยนต์ด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก็เริ่มตั้งกฎตั้งเกณฑ์ที่จะควบคุมไอเสียตัวนี้พร้อมๆ กับการลดปริมาณสารตะกั่วในเบนซิน และกำมะถันในน้ำมันดีเซล

                 แรกๆ ก็ได้รับความสนใจเพียงน้อยนิด จนเมื่อเกิด พิธีสารเกียวโต ขึ้นมา หลายค่ายผลิตรถยนต์ รวมทั้งผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง จึงหันมาเร่งเครื่องเอาจริงเอาจังกับเรื่องไอเสียของรถยนต์ จนมาถึงวันหนึ่งที่ถูกกำหนดให้น้ำมัน (เบนซิน) ต้องไร้สารตะกั่วอย่างสิ้นเชิง และนั่นเป็นเวลาของการปฏิวัติเครื่องยนต์ พร้อมกับน้ำมันชื้อเพลิงกันอีกครั้ง บ้านเราเริ่มเดือดร้อน เพราะเชื่อกันว่า น้ำมันไร้สาร จะทำให้เครื่องยนต์ (บ่าวาล์ว และวาล์ว) พังเร็วกว่าที่ควรจะเป็น เกิดการถกเถียงกันเป็นวงกว้าง ทั้งผู้รู้ ผู้อวดรู้ และผู้ไม่รู้ 

                และวันนี้ก็พิสูจน์ได้แล้วว่า การไม่มีสารตะกั่วในน้ำมันนั้น ไม่ได้ทำให้เครื่องพังเร็วกว่าเดิม เพราะรถที่กลัวพังเมื่อวันนั้น วันนี้ก็ยังวิ่งอยู่บนถนน ในช่วงเวลานี้ (ยุค 90) การเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง (ที่จะลดความร้อนบนโลก) เช่น ใช้สาร MBTE แทนสารตะกั่ว เพื่อเพิ่มค่าออกเทน การเลิกใช้น้ำยาทำความเย็น R12 มาเป็น 134a แต่วันนี้โลกก็ยังร้อนอยู่และร้อนมากขึ้น หรือเราพัฒนากันผิดทิศผิดทางในเรื่องของยานยนต์ ก็ต้องตามอ่านกันต่อ

 

.......................................

(150 ปีของรถยนต์(4) : คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์ )

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ