Lifestyle

เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว  คอลัมน์...  ตามรอยตำนานแผ่นดิน  โดย...  เอก อัคคีส่อง

 

หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จ คณะราษฏร์ ที่นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ ก็ได้เชิญ พระยามโนปกรณนิติธาดา ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์ชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คนที่มาจากการแต่งตั้ง และในสภาได้คัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ

 

อ่านข่าว...   เปิดตัวอลังการณ์ "แปะโรงสี รุ่น เจ้าสัว" ตอกย้ำพลังแห่งศรัทธาหนุนชะตาค้าขายร่ำรวย

 


ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลางประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ถูกทาบทามตั้งแต่วันแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทว่ายังไม่ตอบรับเลยในทันที เพียงแต่ขอเวลาไปตัดสินใจหนึ่งคืน และได้ให้คำตอบรับในเช้าวันถัดมา

 

 

 เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว 

ด้านหน้าของเหรียญเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗

 


ซึ่งจะว่าไป หมากการเมือง หมากนี้ก็ล้ำลึกมากและอำมหิตต่อจิตใจขุนนางฝ่ายราชสำนักมากเพราะพระยามโนปกรณนิติธาดา  ก่อนหน้าเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ให้เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์และคุณหญิงนิตย์ มโนปกรณนิติธาดา (สกุลเดิม สาณะเสน) ภริยาของท่าน ผู้เป็นธิดาของพระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน) คือนางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี


แต่เสียชีวิต ขณะตามเสด็จประพาสอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่กำหนดไว้ระหว่างวันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 แต่วันที่ 4 พฤษภาคมนั้น ได้เกิดอุบัติเหตุเมื่อรถยนต์ที่เธอนั่งพุ่งชนเข้ากับเสาโทรเลข เนื่องจากความประมาทของพลขับ ทำให้คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดาบาดเจ็บสาหัสที่ศีรษะมีบาดแผลฉกรรจ์ ภายหลังคุณหญิงทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงเสียชีวิตลงในเวลา 12.35 นาฬิกา ของวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473


จึงยกเลิกพระราชกรณีกิจทั้งหมด เสด็จกลับประเทศไทยทันที อีกทั้งยังโปรดเกล้าให้สร้างอนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านางสี่หน้าเพื่อเก็บอังคารของคุณหญิงที่วัดปทุมวนาราม ตราบจนทุกวันนี้


แต่เอาเถอะ....ไม่อยากลงลึกเรื่องการเมือง มาว่ากันเรื่อง วัตถุมงคลดีกว่า

 

 

 เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว 

ด้านหลังของเหรียญมีรูปอุณาโลมภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์ อยู่บนสมอเรือและคันไถ มีรวงข้าวล้อมรอบ

 

…........

เหรียญนี้มีข้อมูลว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสยาม(สมัยนั้นยังไม่เปลี่ยนนามเป็นประเทศไทย) อนุญาตให้กองทัพเรือ เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง เหรียญที่ระลึกที่ราษฎรได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ 

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงหยดน้ำ มีห่วงด้านบนของเหรียญ ด้านหน้าของเหรียญเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ฉลองพระองค์ด้วยพระบรมราชภูษิตาภรณ์ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เต็มพระยศประทับบัลลังก์เต็มองค์ ผินพระพักตร์ ไปทางด้านซ้าย พระราชทานรัฐธรรมนูญ อันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า การพระราชทานพระราชอำนาจที่ทรงได้รับเมื่อวันเสด็จฯขึ้นครองราชย์สมบัติแก่ปวงชนชาวไทยนั้นทรงกระทำด้วยเต็มพระราชหฤทัย


ล้อมรอบด้วยข้อความที่เป็นตัวอักษรและตัวเลขไทยว่า "ที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗.๓.๗๕" หมายถึง เป็นที่ระลึกที่ราษฎรไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ โดย “๒๗” หมายถึงวันที่ ๒๗ ส่วน “๓” หมายถึง เดือนที่ ๓ ของปี คือเดือนมิถุนายน เนื่องจากในสมัยนั้นประเทศไทยนับเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ 1 ของปี จึงนับเดือนมิถุนายน เป็นเดือนที่สามของปี และ “๗๕” หมายถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕


ส่วนด้านหลังของเหรียญมีรูปอุณาโลมภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์ อยู่บนสมอเรือและคันไถ มีรวงข้าวล้อมรอบ สื่อความหมายว่า อุณาโลมในกรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หมายถึง “ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา” ถัดลงมาเป็นรูปสมอเรือ หมายถึง “ทหารเรือ” บนสมอเรือมีรูปคันไถ หมายถึง “ประชาชนพลเมืองที่เป็นเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ (ในยุคนั้น)” ใต้สมอเรือมีหนังสือเล่มหนึ่ง หมายถึง “ความเจริญรุ่งเรืองด้านวิทยาการของพลเมือง” ด้านข้างของสมอเรือจะมีรวงข้าวมัดรวมกันอยู่ หมายถึง “ความอุดมสมบูรณ์”

 

 

 เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว 

 สี่ทหารเสือแห่งคณะราษฏร์

 


นักสะสมเหรียญเชื่อกันว่า เป็นเหรียญที่ระลึกที่มีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ เพนสะได้รับการปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์ในสมัยนั้นคือ "หลวงพ่ออี๋" หรือ พระครูวรเวทมุนี (อี๋ พุทธสโร) ผู้ถูกขนานนามว่า "เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำทะเลตะวันออก" ทำให้ได้รับความนิยมจากนักสะสมเหรียญและของเก่าเป็นอย่างมาก  


แม้ว่า พฤติกรรมของนักการเมืองยุคต่อมาตราบจนทุกวันนี้ มันจะน่า...อี๋....ที่สุด 
แต่ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับหลวงพ่ออี๋นะขอรับ!?!
…............

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ