Lifestyle

สืบสานตำนานพระเวสสันดร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ตระการตาแสง สี เสียง สื่อผสม 4D สะท้อน ความเชื่อศรัทธา ตำนานพระเวสสันดร

          ประเพณีบุญผะเหวด ถือเป็นงานบุญเก่าแก่ที่อยู่คู่กับชาวจังหวัดร้อยเอ็ดมานานกว่า 100 ปี ระบุในคำขวัญของจังหวัด เรื่องงานบุญเดือน 4 ตามวิถีวัฒนธรรมของชาวอีสาน กิจกรรมสำคัญ คือ การแสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” ที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันดีในนาม “เทศน์มหาชาติ” ภาษาอีสานเรียกว่า “เทศน์ผะเหวด” ซึ่งปีนี้ จ.ร้อยเอ็ด ทุ่มงบยิ่งใหญ่จัดแสดงแสงสีเสียง สื่อผสม 4D ตำนานพระเวสสันดร “มหาชาดก ชาติที่ 10 มหาชาติ พระสัพพัญญู” โดยย่อใจความทั้ง 13 กัณฑ์ มาไว้ในรูปแบบการแสดงแสงสีเสียงสื่อผสมสุดยิ่งใหญ่ ตระการตา เพื่อฉลองงาน “บุญผะเหวด” ประจำปี 2563

สืบสานตำนานพระเวสสันดร

วันชัย คงเกษม-ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์

          วันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า มูลเหตุแห่งการทำบุญผะเหวด มีกล่าวไว้ในหนังสือมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัยให้ไปไหว้พระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนากับพระศรีอาริยเมตไตรย พระโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งจะได้จุติกาลลงมาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ทราบความประสงค์ของมนุษย์จากพระมาลัยแล้วจึงสั่งความกับพระมาลัยว่า “หากใครต้องการจะพบและเกิดในสมัยพระศรีอารีย์ ให้ทำแต่ความดี อย่าฆ่าพ่อตีแม่ สมณชี พราหมณ์ ครูอาจารย์ อย่าทำร้ายพระพุทธเจ้า อย่ายุยงสงฆ์ให้แตกกัน และต้องฟังเทศน์มหาชาติให้จบทุกกัณฑ์ในวันเดียว ท่านทั้งหลายจะได้เกิดร่วมและพบพระองค์

สืบสานตำนานพระเวสสันดร

สืบสานตำนานพระเวสสันดร

          “ด้วยเหตุนี้เอง ชาวร้อยเอ็ดจึงได้ยกเอา ฮีตเดือนสี่ “บุญผะเหวด” ให้เป็นประเพณีประจำจังหวัด ภายใต้ชื่องาน “มหาทานบารมี ประเพณีบุญผะเหวด” ถือได้ว่าเป็นงานบุญมหาชาติที่จัดได้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีกิจกรรมตลอดทั้งวัน ส่วนราชการ ร้านค้า หน่วยงาน พร้อมใจกันทำอาหารมาเสิร์ฟ กินฟรีทั้งเมือง โดยเฉพาะข้าวปุ้น หนึ่งในเมนูพื้นบ้านที่นิยมในงานบุญ ท้ายสุดเพื่อสืบทอดประเพณีความเชื่อ ทางจังหวัดได้งานแสงสีเสียงสื่อผสม ตำนานพระเวสสันดร “มหาชาดก ชาติที่ 10 มหาชาติ พระสัพพัญญู” ณ บริเวณลานสาเกต และเกาะกลางบึงพลาญชัย” พ่อเมืองร้อยเอ็ดกล่าว   

สืบสานตำนานพระเวสสันดร

สืบสานตำนานพระเวสสันดร

          สำหรับความพิเศษของการแสดง อยู่ที่บทพูดเป็นภาษาอีสานโบราณ หรือ “ผญา” เป็นคำเก่าแก่ เนื้อเรื่องได้ดัดแปลงมาจากต้นฉบับของ อาจารย์มั่น จงเรียน ด้วยสัมผัสและความหมายของภาษาเก่าแก่ และคนอีสานปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว จึงยากมากๆ ที่นักแสดงจะเข้าใจตัวละคร สื่อสารกับผู้ชม-ผู้ฟัง และยังคงคุณค่าทางภาษา/วรรณกรรม ที่งดงามนี้ไว้ โดยการแกะเนื้อหาชาดกจากใบลาน พร้อมอ่านเล่าเว่าผญาเป็นภาษาอีสานโบราณ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่างๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ มีหลายร้อยเรื่อง ทั้งว่าทรงเคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่าทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า มหาเวสสันดรชาดก

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ