Lifestyle

"คลองเตยดีดี" พัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงผู้คนผ่านการออกแบบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

" เมืองไทยประกันภัย"จัดโครงการน "คลองเตยดีดี"เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้ยั่งยืน

          ชุมชนคลองเตยซึ่งเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขณะนี้มีหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด “คลองเตยดีดี” โดยเป็นการผนึกกำลังของ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กับสถาบันการออกแบบระดับโลก Harvard Graduate School of Design

"คลองเตยดีดี" พัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงผู้คนผ่านการออกแบบ

          เพื่อวิจัยเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างเชิงธุรกิจ ระบบนิเวศ ภูมิทัศน์ พื้นที่สาธารณะ รวมถึงการพัฒนาแหล่งเสื่อมโทรมภายในชุมชนคลองเตย โดยใช้ศิลปะและกีฬาเข้ามาเป็นสื่อกลางในการเข้าถึงผู้คนแบบที่ชวนให้อยากขยับเข้าไปใช้พื้นที่

"คลองเตยดีดี" พัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงผู้คนผ่านการออกแบบ

"คลองเตยดีดี" พัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงผู้คนผ่านการออกแบบ

          ในงานแถลงข่าวเปิดตัวคลองเตยดีดี ณ โกดังสเตเดียม อดีตโกดังสินค้าคลองเตยที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน 50 กว่าปี ไม่เพียงรวบรวมของอร่อย ของดีในคลองเตย และร้านอาหารเจ้าประจำที่จำหน่ายให้แก่แฟนบอลสโมสรการท่าเรือ เอฟ ซี โดยจำลองเอาบรรยากาศสนามแข่งมาไว้ที่นี่เท่านั้น แต่มีนิทรรศการภาพถ่ายเล่าเรื่องราวดีๆ ในคลองเตยที่ชวนศิลปินช่างภาพมาสร้างสรรค์งานภาพถ่าย ได้แก่ อาทิตยา จีนโน,  วัชระกร มะลิทอง, อำพล ทองเมืองหลวง, กีรติ รัตนวราห และ นริสรา วิชิต โดยศิลปะภาพถ่ายทุกชิ้นได้แรงบันดาลใจมาจากเอกลักษณ์ชุมชน อัธยาศัยไมตรีของคนคลองเตย รวมถึงเด็กและเยาวชนที่เป็นพลังสำคัญพัฒนาพื้นที่แห่งนี้

"คลองเตยดีดี" พัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงผู้คนผ่านการออกแบบ

เด็กคลองเตยที่มีใจรักดนตรีคลาสสิกรวมกลุ่มกันบรรเลงเพลง

          อีกโซนที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กัน นิทรรศการ “คลองเตยในฝัน” สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่คลองเตยทั้งภาพรวมประชากร ข้อมูลชุมชน หลายคนไม่รู้ว่าคลองเตยมีพื้นที่รวม 13 ตร.กม. แต่มีพื้นที่ชุมชนเพียง 1.5 ตร.กม. มี 41 ชุมชนที่ลงทะเบียน และ 8 ชุมชนไม่ได้ลงทะเบียน ตั้งอยู่ใน 3 แขวง ที่น่าสนใจ 94 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร เป็นคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ และนิทรรศการเชิงซีเอสอาร์ “เมืองไทยไร้ขยะ” โชว์วิธีลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืนด้วยหลัก 3 R คือ Reduce Reused และ Recycle เข้ากับสถานการณ์ขยะคลองเตยที่ติดอับดับต้นๆ ภายในงานยังมีวงออร์เคสตรา “IMMANUEL ORCHESTRA” ซึ่งเป็นเด็กคลองเตยที่มีใจรักดนตรีคลาสสิกมารวมกลุ่มกันบรรเลงดนตรีทั้งไทยและสากลขับกล่อมผู้ร่วมงานภายในโกดังสเตเดียมอย่างไพเราะ

"คลองเตยดีดี" พัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงผู้คนผ่านการออกแบบ

  นวลพรรณ ล่ำซำ 

          นวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และประธานสโมสรการท่าเรือ เอฟซี บอกเล่าถึงแนวคิดโครงการ “คลองเตยดีดี” ว่าเกิดขึ้นจากความตั้งใจจริงที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่คลองเตย มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ตัวเองและเมืองไทยประกันภัยได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลัก และเป็นผู้ดูแลสโมสการท่าเรือ เอฟซี ที่ตั้งอยู่ใจกลางชุมชนคลองเตย เสมือนเป็นศูนย์รวมหนึ่งของคนในพื้นที่ชุมชนคลองเตย และใกล้เคียง ทำให้ตัวเองและทีมงานเมืองไทยประกันภัยได้มีโอกาสใกล้ชิดกับคนในชุมชนคลองเตย ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์แก่ชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการสนับสนุนกิจกรรมด้านการกีฬา การได้ลงมือทำงานจริงในพื้นที่ ทำให้ได้เห็นภาพชุมชนคลองเตยในหลากหลายมิติ ตั้งแต่ด้านกายภาพ และสังคม

"คลองเตยดีดี" พัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงผู้คนผ่านการออกแบบ

"คลองเตยดีดี" พัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงผู้คนผ่านการออกแบบ

         นวลพรรณ กล่าวว่า ด้านกายภาพพบปัญหาขยะ รองลงมาแสงสว่างในชุมชน และไฟไหม้ เรื่องขยะเป็นปัญหาหลักของชุมชนคลองเตยต้องร่วมมือร่วมใจกัน สนใจแนวทางจัดตั้งธนาคารขยะ และการรีไซเคิลขยะนำกลับมาสร้างผลิตภณฑ์ใหม่ อีกส่วนเป็นขยะพลังงานซึ่งจะตอบโจทย์เรื่องแสงสว่างด้วย ขณะที่ไฟไหม้อยากแก้ที่ต้นเหตุให้ความรู้ดูแลระบบไฟ รวมถึงควบคุมเพลิงไม่ให้แพร่กระจายเมื่อเกิดเหตุ ส่วนปัญหาด้านสังคม มีตั้งแต่ความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ความรุนแรงในเด็กและสตรี และยาเสพติด จะเริ่มงานแก้ปัญหาท้องไม่พร้อมหรือแม่วัยใสในพื้นที่ก่อน ป้องกันไม่ให้ท้องซ้ำและออกนอกระบบการศึกษา ต้องใช้พลังคนคลองเตยทั้งชายและหญิงร่วมสร้างสังคมแห่งความสุข

         “ภาพที่ทุกคนมองเข้ามา ชุมชนคลองเตยในความรู้สึกอาจเป็นแบบหนึ่ง แต่ในฐานะของคนที่ได้สัมผัสกับชุมชนจริงๆ ทำให้รับรู้ว่า ชุมชนคลองเตยมีเรื่องราวดีๆ มากมาย อยากร่วมเป็นส่วนส่งเสริมและสนับสนุนให้สิ่งดีๆ นั้น ยังคงอยู่ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน วันนี้จับมือกับสถาบันการออกแบบระดับโลกอายุกว่า 370 ปี ที่มีประสบการณ์พัฒนาเมืองมามากมาย เช่น กัวลาลัมเปอร์ จาการ์ตา มะนิลา จีน ครั้งนี้จุดพลุเลือกชุมชนคลองเตย ก่อนจะเข้ามาสำรวจและวิจัยความต้องการชุมชน ภายใต้แนวคิดการพัฒนาที่อยู่อาศัยแห่งอนาคตเพื่อความเท่าเทียมและความมั่นคง” นวลพรรณ กล่าว

"คลองเตยดีดี" พัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงผู้คนผ่านการออกแบบ

          ซีอีโอเมืองไทยประกันภัย กล่าวด้วยว่า คลองเตยดีดี จึงเป็นการรวมพลังภูมิปัญญาในแบบตะวันออกพบตะวันตก หรือ East Meets West โดยใช้ความรู้และนวัตกรรมของ Harvard Graduate School of Design ผสมผสานกับความรู้และประสบการณ์ในพื้นที่ของคนคลองเตย รวมถึงความตั้งใจจริงของเมืองไทยประกันภัย เพื่อวางแผนพัฒนาชุมชนคลองเตย

"คลองเตยดีดี" พัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงผู้คนผ่านการออกแบบ

 ซาราห์ เอ็ม ไวท์ทิ่ง

          ด้าน ซาราห์ เอ็ม ไวท์ทิ่ง คณบดีสถาบัน Harvard Graduate School of Design ที่เดินทางมาพร้อมคณาจารย์สาขาการวางแผนเมือง ออกแบบเมือง และสถาปัตยกรรม เพื่อร่วมงานเปิดตัวโครงการ "คลองเตยดีดี” เผยว่า ความร่วมมือดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี โดย Harvard GSD จะส่งคณาจารย์และนักศึกษามาจัดตั้งสตูดิโอออกแบบในกรุงเทพมหานคร หัวข้อในการวิจัยมีตั้งแต่เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างเชิงธุรกิจ โครงสร้างเชิงระบบนิเวศ ภูมิทัศน์ รวมถึงพื้นที่สาธารณะรูปแบบอื่นๆ ในเขตคลองเตย

          “สถาบัน Harvard GSD มุ่งเน้นบูรณาการด้านผังเมือง สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตย์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งแก้ปัญหาสังคมโลก คลองเตยมีปัญหาทางกายภาพ และปัญหาสังคม ซึ่งการออกแบบบ้านเรือนและโครงสร้างช่วยพัฒนาพื้นที่คลองเตยให้ดีขึ้นได้ เหตุที่เลือกพื้นที่คลองเตย เพราะในพื้นที่มีโครงการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องจากเมืองไทยประกันภัยและมูลนิธิต่างๆ ทั้งด้านดนตรี กีฬา และศิลปะ มองเห็นความเชื่อมโยงที่จะลงมือวิจัย จากการลงพื้นที่เบื้องต้นพบว่า ชุมชนคลองเตยขาดพื้นที่สาธารณะ โปรเจกท์นี้จะร่วมพัฒนาสร้างหน้าใหม่ของคลองเตย” ซาราห์ กล่าว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ