Lifestyle

สีผึ้งเขียวหลวงพ่อทาบเหตุใดถึงขึ้นทำเนียบอันดับ1ของเมืองไทย2

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไขปมปริศนาสีผึ้งเขียวหลวงพ่อทาบเหตุใดถืงขึ้นทำเนียบสีผึ้งอันดับ1ของเมืองไทย (2) คอลัมน์... ตามรอย...ตำนานแผ่นดิน  โดย... เอก อัคคี (facebook.com/Akeakkee Ake)

 

 

 

          แต่สำหรับคนที่มาจากแดนไกล หรือคนต่างถิ่น หลวงพ่อทาบท่านจะดูลักษณะความจำเป็น แล้วท่านจึงจะให้สีผึ้งเขียวไป แต่ก็ให้เพียงคนละนิดปริมาณเท่าหัวไม้ขีดไฟเท่านั้น ผู้ได้สีผึ้งจากหลวงพ่อทาบจึงมักจะนำสีผึ้งนั้นไปหุ้มทองห้อยคอ เพราะถือเป็นของหายาก และกว่าจะได้มาจากหลวงพ่อทาบก็แสนจะยาก

 

อ่านข่าว...  ไขปมปริศนา สีผึ้งเขียวหลวงพ่อทาบ

 

 

          สีผึ้งเขียวของหลวงพ่อทาบมีชื่อเสียงและนับเป็นเครื่องรางที่อยู่ในยุทธจักรนักนิยมพระเครื่องอย่างหนึ่งทีเดียว เมื่อหลวงพ่อทาบไม่ให้สีผึ้งแก่ใคร และแม้จะให้ก็มอบให้ปริมาณน้อยมากเพียงแค่หัวไม้ขีดไฟ ก็เลยเป็นสาเหตุให้ผู้คนมาแสวงหาสีผึ้งเขียวมากยิ่งขึ้น

 

 

สีผึ้งเขียวหลวงพ่อทาบเหตุใดถึงขึ้นทำเนียบอันดับ1ของเมืองไทย2

วัดกระบกขึ้นผึ้ง อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

 


          อย่างที่บอกไปแล้วว่า สีผึ้งเขียวของหลวงพ่อทาบมีชื่อเสียงและนับเป็นเครื่องรางที่อยู่ในยุทธจักรนักนิยมพระเครื่องอย่างหนึ่งทีเดียว เมื่อหลวงพ่อทาบไม่ให้สีผึ้งแก่ใคร และแม้จะให้ก็มอบให้ปริมาณน้อยมากเพียงแค่หัวไม้ขีดไฟ ก็เลยเป็นสาเหตุให้ผู้คนมาแสวงหาสีผึ้งเขียวมากยิ่งขึ้น


          เพราะของใดๆ ก็ตาม ถ้าได้ยากผู้คนมักจะอยากได้ แต่สำหรับคนบ้านค่ายและคนระยองแล้วหมดโอกาส เพราะหลวงพ่อทาบจะไม่แจกคนในบ้านเดียวกันอีกแล้ว แต่ท่านบอกว่าท่านจะทิ้งสีผึ้งให้เป็นสมบัติโลก ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันถ้าอยากได้ และยังไม่ลืมของของท่าน


          ลุงเจริญ เพชรนคร เล่าว่า ตัวท่านเองนั้น หลวงพ่อทาบ ได้เมตตาเลี้ยงดูมาตั้งแต่อายุได้ ๖ ขวบ มีนิวาสสถานอยู่ซากกอไผ่ ซึ่งไม่ห่างไกลจากวัดกระบกขึ้นผึ้งมากนัก ลุงเจริญได้เรียนรู้วิชาต่างๆ ของหลวงพ่อทาบไว้มากมาย ตำราสำคัญบางเล่มของ หลวงพ่อทาบ ก็ตกอยู่กับลุงเจริญ นอกจากจะเป็นศิษย์ผู้ร่ำเรียนวิชาต่างๆ ของหลวงพ่อทาบแล้ว ตัวท่านเป็นนักเขียนภาพและช่างแกะสลักที่มีฝีมืออีกด้วย

 

 

 

 

สีผึ้งเขียวหลวงพ่อทาบเหตุใดถึงขึ้นทำเนียบอันดับ1ของเมืองไทย2

หลวงพ่อทาบ วัดกระบกขึ้นผึ้ง



          ลุงเจริญ ท่านเป็นผู้แกะแพะหลวงพ่ออ่ำวัดหนองกระบอกมาตั้งแต่ครั้งแรกๆ และเมื่อหลวงพ่ออ่ำมรณภาพลง หลวงพ่อลัดวัดหนองกระบอกได้รับสืบทอดวิชาต่อ ท่านได้รับความไว้วางใจจากหลวงพ่อลัดให้เป็นผู้แกะแพะเขาควายถูกฟ้าผ่าอีกด้วย นอกจากนั้นยังเป็นผู้แกะพระปิดตาไม้รักของหลวงพ่อทิม อิสริโก วัดละหารไร่ ซึ่งเรียกว่า “พระปิดตารุ่นอธิบดี” ด้วย


          สำหรับเรื่องราวของสีผึ้งเขียวนั้น ลุงเจริญเคยเล่าเอาไว้ว่า เมื่อหลวงพ่อทาบบวชได้ ๙ พรรษา ทราบว่าครูภู่ คนอุบลฯ ซึ่งมาได้เมียชื่อนางเก๋า เป็นสาวงามชาวบ้านกอไผ่ เป็นผู้มีวิชาดี โดยเฉพาะเรื่องสีผึ้งนั้นนับว่าเป็นเอก มีผู้คนรู้กิตติศัพท์แล้วไปขอมาใช้ก็ได้ผลสมความปรารถนาทุกราย หลวงพ่อทาบหลังจากผิดหวังไม่ได้เรียนวิชาพัดโบกจากหลวงพ่อกาจ วัดหนองสนม จึงสนใจวิชาทำสีผึ้งของครูภู่ ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นพระหนุ่มเพิ่งย่างเข้าพรรษาที่ ๙ อายุประมาณ ๓๐ ปี ไปมาหาสู่บ้านครูภู่อยู่เรื่อยๆ เพื่อขอวิชาสีผึ้ง ครูภู่เห็นความเพียรและหน่วยก้านของหลวงพ่อทาบแล้วก็ยินดีจะมอบวิชาทำสีผึ้งนี้ให้ ซึ่งต่อมาก็มอบวิชานี้ให้อย่างหมดเปลือก


          การทำสีผึ้งที่ครูภู่ คนอุบลฯ มอบให้หลวงพ่อทาบนั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือ วิชาลบผงปถมัง ผงอิทธิเจ และผงตรีนิสิงเห นั่นเอง แต่วัสดุที่จะนำมาผสมผงปั้นเป็นแท่งดินสอนั้น ค่อนข้างจะหายาก ซึ่งต้องใช้ความมานะ อดทน และมีความเพียรในการการแสวงหา ได้แก่ ว่านต่างๆ หลายสิบชนิดไม้มงคลอีกหลายชนิด ประการสำคัญต้องหาไม้แยงแย้ และไม้ไก่กุกมากวนสีผึ้ง ไม้แยงแย้นั้นพอหากันได้ เพราะหลังจากแสวงหามาถึง ๔ ปี หลวงพ่อทาบก็ได้ไม้แยงแย้มาสมใจนึก ส่วนไม้หายากที่สุดคือ “ไม้ไก่กุก” ซึ่งต้องใช้ความสังเกตและมีมานะอดทน เพราะจะต้องเป็นไม้ไก่กุกที่ผู้ทำสีผึ้งต้องเห็นไม้ไก่กุกด้วยตาตนเอง

 

 

สีผึ้งเขียวหลวงพ่อทาบเหตุใดถึงขึ้นทำเนียบอันดับ1ของเมืองไทย2

สีผึ้งเขียวของหลวงพ่อทาบแม้จะให้ก็มอบให้ปริมาณน้อยมากเพียงแค่หัวไม้ขีดไฟ


          ไม้ไก่กุกจะเป็นไม้อะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นไม้ที่ไก่ตัวผู้ใช้จะงอยปากจิก หรือเคาะดังกุ๊กๆ เพื่อหลอกให้ตัวเมียวิ่งมาหา โดยคิดว่าไก่ตัวผู้กำลังเรียกมาจิกอาหาร เมื่อไก่ตัวเมียวิ่งมาหาไม้ที่ไก่ตัวผู้เคาะกุ๊กๆ แล้วมองหาอาหารอยู่ ไก่ตัวผู้ได้โอกาสก็จะจิกคอและขึ้นทับทันที ไม้ชิ้นที่ไก่ตัวผู้ใช้จะงอยปากเคาะกุ๊กๆ นั้นแหละ คือ “ไม้ไก่กุก” ถือว่าเป็นไม้อาถรรพณ์ที่เป็นต้นเหตุให้ไก่ตัวเมียวิ่งตามมาให้ตัวผู้ทับเพื่อสืบพันธุ์    (อ่านต่อสัปดาห์หน้า)
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ