Lifestyle

โรคตับแข็ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โรคตับแข็ง" เป็นโรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย โครงสร้างของตับ ปกติเนื้อตับจะนุ่ม ถ้ามีพังผืดเกิดขึ้นที่เนื้อตับ เช่น จากการอักเสบ เนื้อตับจะแข็ง และถ้ามีการทำลายเซลล์ตับอย่างเรื้อรังจนมีพังผืดเกิดขึ้นในปริมาณมาก

การทำงานของตับจะเสื่อมประสิทธิภาพไป จากการที่ตับมีขนาดใหญ่เวลาเนื้อตับเสื่อม หรือเสียจึงค่อยๆ เป็นทีละจุด และค่อยๆ เกิดทีละส่วนจนตับแข็ง เมื่อเกิดตับแข็งแล้วเส้นเลือดที่อยู่รอบตับจะเกิดปัญหาตามมา มีแรงดันในเส้นเลือดเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการแตกแขนงเป็นเส้นเล็กๆ ซึ่ง จะเปราะบางและแตกได้ง่าย เป็นเหตุให้ผู้ป่วยโรคตับแข็งอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร อาเจียนเป็นเลือด เสียเลือดมาก และหมดสติได้
 ดังนั้น ควรระวังการได้รับยาที่มีผลต่อการมีเลือดออกในกระเพาะอาหารด้วย

สาเหตุของโรค
 -จากเชื้อไวรัส
 -จากแอลกอฮอล์ การดื่มสุราเรื้อรัง
 -การอุดตันของถุงน้ำดีมากๆ หรือ การอุดตันของระบบทางเดินน้ำดี
 -กรรมพันธุ์

ผลกระทบจากโรคตับแข็งต่อภาวะโภชนาการ
 -เบื่ออาหาร 
 -ท้องอืด
 -แน่นท้อง
 -กินอาหารไม่ลง
 -คลื่นไส้ อาเจียน
 -การย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ

การดูและปฏิบัติตน
 อาหาร ผู้ป่วยตับแข็งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยและดูดซึมไขมัน จึงไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันมากไป นอกจากนี้ ผู้ป่วยตับแข็งอาจมีน้ำในช่องท้อง จึงควรรับประทานอาหารรสจืด พยายามอย่าเติมเกลือหรือน้ำปลามากไป ฝึกรับประทานอาหารรส ควรเลี่ยงอาหารที่อาจปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซิน ซึ่งสร้างจากเชื้อรา งดรับประทานอาหารทะเลสุกๆ ดิบๆ
 แอลกอฮอล์ ผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้วควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้โรคตับแย่ลง นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอลล์จะเพิ่มโอการเสี่ยงต่อการแตกของเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญสาเหตุหนึ่งในผู้ป่วยโรคตับแข็ง
 การออกกำลังกาย ในผู้ป่วยตับแข็งที่ตับยังสามารถทำงานได้ดีสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติเพียงแต่ไม่หักโหมเกินไป และควรมีการพักผ่อนให้เพียงพอ ในกรณีที่ตับทำงานไม่ปกติแล้วควรออกกำลังกายเบาๆ ถ้ารู้สึกเพลียก็พัก ระวังการเกิดอุบัติเหตุ เพราะผู้ป่วยตับแข็ง อาจมีเกล็ดเลือดต่ำ และมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เลือดออกง่ายและหยุดยาก
 ยาและสารเคมี ควรเลี่ยงรับประทานยาที่ไม่จำเป็น เพราะยาหลายชนิดถูกทำลายที่ตับ และยาหลายชนิดเองก็อาจทำให้เกิดตับอักเสบ ดังนั้น จึงควรใช้ยาเมื่อมีข้อบ่งชี้และภายใต้การดูแลของแพทย์
 วัคซีน ผู้ป่วยตับแข็งควรมีการตรวจเลือด ว่าเคยมีการติดเชื้อไวรัสบี ไวรัสเอ หรือไม่ ถ้ายังควรรับการฉีดวัคซีนป้องกัน เพราะถ้าติดเชื้อตับอักเสบฉับพลันจากไวรัสเอ และไวรัสบี ผู้ป่วยตับแข็งจะมีโอกาสเกิดตับวายและเสียชีวิตได้สูง
 เฝ้าระวัง ผู้ป่วยตับแข็งควรติดตามการดูแลรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามแพทย์นัดและควรมีการเฝ้าระวังการเกิดมะเร็ง โดยการเจาะเลือดตรวจดูค่า AFP ซึ่งเป็น marker ของมะเร็งตับชนิดหนึ่ง กับการตรวจอัลตราซาวนด์ดูตับทุก 6 เดือนโดยประมาณในกรณีที่ผู้ป่วยตับแข็งต้องได้รับการตรวจ หรือทำหัตถการต่างๆ เช่น ถอนฟัน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะอาจมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติที่ต้องการเตรียมผู้ป่วยเป็นพิเศษ
บริษัท ไทยโอซูก้า จำกัด
โทร.0-2252-9050

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ