Lifestyle

กว่า300ปีตามวิถีชาเมืองผู้ดี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศิลปวัฒนธรรม : กว่า 300 ปี ตามวิถีชาเมืองผู้ดี

 

                       ในปี ค.ศ.1662 วัฒนธรรมการ "ดื่มชา" ในสังคมอังกฤษถือกำเนิดขึ้นโดย แคทเธอรีน แห่ง บรากันชา ราชินีคู่บังลังก์ชาวโปรตุเกสของพระเจ้าชาร์ลที่ 2 ซึ่งในครั้งนั้นยังคงเป็นเพียงการเชิญพระสหายของพระองค์ให้ร่วมดื่มชาและสังสรรค์กันเป็นการส่วนพระองค์ที่รอยัล คอร์ท แม้จะทำให้วัฒนธรรมของดื่มชาขยายความนิยมในสังคมเมืองผู้ดีอย่างรวดเร็ว ทว่าก็ถูกจำกัดไว้เฉพาะผู้มีฐานะเท่านั้น นั่นเพราะ "ใบชา" ซึ่งนำเข้าไปจำหน่ายในอังกฤษ จะถูกเก็บภาษีสูงลิ่วถึง 119 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้มีราคาแพงระยับ...กระทั่งเกิดเป็นคำพูดตลกร้ายขึ้นในยุคสมัยนั้นว่า "ผู้ดีกินชา ขี้ข้ากินกาแฟ"

                       ด้วยความที่เป็นของแพง "วัฒนธรรมการดื่มชา" จึงถูกเก็บไว้ใช้ในโอกาสพิเศษจริงๆ เท่านั้น ส่วนสถานที่ก็มักจะนั่งดื่มกันเฉพาะในบ้าน โดยมีสุภาพสตรีของบ้านเป็นผู้เสิร์ฟแต่เพียงผู้เดียว สำหรับเหตุผลส่วนหนึ่งเพื่อให้แขกเกิดความประทับใจ อีกส่วนหนึ่งเพื่อให้สามีอยู่ติดบ้าน กระทั่งระยะหลังๆ ฝ่ายชายเริ่มรู้สึกว่า ตัวเองกำลังถูกฝ่ายหญิงครอบงำให้ติดอยู่กับบ้าน จึงเป็นจุดเชื่อมให้มีการเปิดร้าน "คอฟฟี่ เฮ้าส์" สถานที่ซึ่งมีเพียงฝ่ายชายไปนั่งดื่มน้ำชา แต่ผู้หญิงไม่สามารถเข้าไปใช้บริการได้

                       แต่เมื่อ โธมัส ทไวนิง เห็นถึงช่องว่างการตลาดจากจุดดังกล่าวนี่เอง ในปี ค.ศ. 1706 จึงเปิดร้านค้าปลีกใบชาแห้ง-กาแฟแห้งคุณภาพสูงขึ้น ชื่อว่า "Tom's Coffee House" (ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่) ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 1784 ก็เป็น "ทไวนิงส์ รุ่นที่ 3" นี่แหละที่ผลักดันให้มีการลดกำแพงภาษีของชาลงจนเป็นผลสำเร็จ และส่งผลให้ "ชา" กลายเป็นเครื่องดื่มที่ไม่ว่าชนชั้นไหนก็สามารถหาดื่มได้

                       ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน นับเวลาได้กว่า 300 ปี เรื่องราวของ "ทไวนิงส์" จึงมีตำนานให้เล่าขานไม่รู้จบ โดยวันนี้ สตีเฟ่น ทไวนิง ทายาทรุ่นที่ 10 ของตระกูล ทไวนิง ทำหน้าที่บริหารและดูแลกิจการอย่างต่อเนื่อง และในวันเยี่ยมชมโรงงานรวมถึงกิจกรรมร้านจำหน่ายชาอายุหลายร้อยปี เจ้าตัวถ่ายทอดให้ฟังถึงความภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วง เช่น ระหว่างปี ค.ศ.1830-1834 เมื่อ ชาร์ลส์ เอิร์ล เกรย์ ที่ 2 อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร เกิดติดใจในรสของชาจีนชนิดหนึ่ง จึงนำเอาไปให้ร้านทไวนิงส์ปรุงแล้วถูกอกถูกใจ จึงให้เกียรติใช้ชื่อ "เอิร์ล เกรย์" กับชารสนั้นมาถึงวันนี้ เช่นเดียวกันกับธรรมเนียม "ดื่มชายามบ่าย" หรือ Afternoon Tea ก็ถือกำเนิดมาจากหนึ่งในนางต้นห้องของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ ซึ่งเป็นลูกค้าประจำของร้าน และมักจะดื่มชาในเวลาบ่าย เพื่อให้เกิดความกระชุ่มกระชวย แล้วกลายเป็นตัวอย่างให้ปฏิบัติตามจากในรั้วในวังก็ค่อยๆ แทรกซึมออกมาสู่บุคคลภายนอก

                       โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 1837 ทไวนิงส์ ก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเครื่องดื่มในราชสำนัก กระทั่งได้รับพระราชทานตรารับรองอย่างเป็นทางการให้เป็นเครื่องดื่มในราชสำนักประจำราชวงศ์อังกฤษเป็นต้นมา...ถึงตรงนี้อาจจะมีคนสงสัยว่าแล้ว "ชารสใด?" คำตอบคือ "การจะได้ตราประทับมีกฎอยู่ข้อหนึ่งว่า..บริษัทสามารถผลิตชารสดังกล่าวออกมาจำหน่ายได้ แต่ต้องเก็บข้อมูลเป็นความลับ!!.." และจากครั้งนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะวาระพิเศษที่ เฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 "ชา ทไวนิงส์" ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ตรารับรองจากราชสำนัก (พระราชลัญจกร) จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณได้เข้าร่วมงานเฉลิมฉลองฯ ระหว่างวันที่ 11-14 กรกฎาคมที่ผ่าน พร้อมๆ กับสินค้ากว่า 200 แบรนด์ โดยออกร้านจำหน่ายสินค้า และจัดกิจกรรมสันทนาการทั้งด้านการออกแบบ เทคโนโลยี และผลงานศิลปะหัตถกรรมตั้งแต่ดั้งเดิมจนถึงร่วมสมัย ภายในสวนของพระราชวังบักกิงแฮม ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น

                       ในวาระพิเศษดังกล่าว ปิยะพงศ์ จิตต์จำนงค์ ผู้จัดการหน่วยธุรกิจทไวนิงส์ บริษัท เอบี ฟู้ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า ชา ทไวนิงส์ จึงได้มีการสร้างสรรค์เบลนด์พิเศษขึ้นโดยใช้ชื่อว่า "ทไวนิงส์ เดอะ ควีน ไดมอนด์ จูบิลี่ คอมเมมโมเรทีฟ เบลนด์" เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองและสดุดี ครบรอบ 60 ปี พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 14 เบลนด์ของ "ทไวนิงส์ ซิกเนเจอร์ เบลนด์" ตามรูปแบบของวัฒนธรรมชาวเมืองผู้ดีทุกระเบียดนิ้ว ไม่ว่าจะเป็น อิงลิช มอร์นิ่ง, เอิร์ลเกรย์ ซีตรัส, อัสสัม แอดเวนเจอร์, เดลิเครท ดาร์จีลิง, การ์เดน ปาร์ตี้, เพอร์เฟกต์ อาฟเตอร์นูน, แซนซิบาร์ ไซ, ไฮ เมาท์เท่น กรีน, โอเรียนทอล เมาน์เทน กรีน, จัสมิน บลูม, อาฟเตอร์ ดินเนอร์ มินต์ ซับไลม์ คาร์โมไมล์ และ สวีทเบอร์รี่ ฟิวชั่น และแน่นอนว่าสำหรับชาวไทยผู้ชื่นชอบการดื่มชาสไตล์อังกฤษแท้ๆ เขามีวางจำหน่ายแล้วที่ร้านทไวนิงส์ ภายในห้างเซน

 

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ