Program Online

พลิกปูม'ค่าโง่'สัมปทานทางด่วน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พลิกปูม'ค่าโง่'สัมปทานทางด่วน

ปัจจุบันการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. เปิดให้บริการทางพิเศษ หรือที่เรียกกันว่าทางด่วน จำนวน 7 สายทาง และทางเชื่อมต่อทางด่วน 3 แห่ง ระยะทางรวม 207.9 กิโลเมตร แน่นอนว่าโครงการส่วนใหญ่เป็นการให้สัมปทานเอกชนลงทุนก่อสร้าง และใช้วิธีแบ่งรายได้ค่าผ่านทางให้เอกชน

คู่สัญญาของกทพ.ตั้งแต่โครงการแรกที่เปิดให้สัมปทานในปี 2533 จนถึงปัจจุบัน คือบริษัทในเครือ บมจ.ช.การช่าง หนึ่งในบริษัทรับเหมารายใหญ่ของไทย โดยบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM เป็นผู้รับสัมปทาน 2 โครงการ คือทางพิเศษศรีรัช หรือทางด่วนขั้นที่ 2 และทางด่วนขั้นที่ 2 เชื่อมวงแหวนรอบนอก ขณะที่บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ หรือ NECL ได้ 1 สัมปทาน คือทางด่วนอุดรรัถยา หรือบางปะอิน-ปากเกร็ดตลอดระยะเวลาสัมปทานตั้งแต่ปี 2533  กทพ.กับคู่สัญญามีคดีข้อพิพาทจนนับไม่ถ้วน และส่วนใหญ่กทพ.ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เอกชน คดีล่าสุดคือค่าโง่กว่า 4.3 พันล้านบาท หลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางที่ให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ กรณีสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ-รังสิต ซึ่งถือเป็นทางแข่งขัน ทำให้ปริมาณจราจรและรายได้ในโครงการบางปะอิน-ปากเกร็ด ลดลงจากประมาณการกทพ.ยังมีข้อพิพาทกับกลุ่ม BEM อีก 17 คดี ทั้งเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายแล้ว แต่ยังไม่มีคำตัดสินขั้นสุดท้าย รวมทั้งเรื่องที่คาดว่าจะเป็นข้อพิพาทในอนาคต ทั้ง 17 คดีนี้ คิดเป็นวงเงินกว่า 1.3 แสนล้านบาท บอร์ด กทพ.ชุดปัจจุบัน ซึ่งมีสุรงค์ บูลกุล เป็นประธาน จึงมีไอเดียว่าควรเจรจากับเอกชนเพื่อยุติข้อพิพาทเหล่านี้ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตล่าสุด บอร์ด กทพ.มีมติขยายอายุสัมปทานให้ BEM ใน 3 โครงการออกไปอีก 30 ปี นับจากวันสิ้นสุดสัญญา คือ ทางด่วนศรีรัช ทางด่วนศรีรัช ส่วนดี และทางด่วนบางปะอิน-ปากเกร็ด เพื่อแลกกับการจ่ายค่าโง่ ทั้งในคดีสร้างทางแข่งขัน และคดีปรับขึ้นค่าผ่านทางไม่เป็นธรรม รวมทั้งยุติข้อพิพาททั้ง 17 คดี น่าแปลกที่บอร์ด กทพ.ไม่คิดจะสู้ แต่กลับถอดใจยอมแพ้เอกชนแต่โดยดี ทั้งที่คดีเหล่านี้ยังไม่สิ้นสุด และยังไม่มีคำพิพากษาของศาล ว่ากันว่าผู้ใหญ่บางคนในทำเนียบรัฐบาลมีคำสั่งสายตรงมาถึงผู้บริหารให้เร่งดำเนินการ ก่อนรัฐบาลชุดนี้จะพ้นวาระ และที่ผ่านมาผู้ว่าการ กทพ.คนล่าสุด สุชาติ ชลศักดิ์พิพัฒน์ ถูกโยกย้ายไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากรับตำแหน่งมาไม่ถึง 1 ปี เพราะผู้ใหญ่เห็นว่าทำงานล่าช้าไม่ทันใจน่าสนใจว่าคณะรัฐมนตรีที่กำลังจะหมดวาระ จะตัดสินใจเรื่องใหญ่ขนาดนี้อย่างไร เพื่อให้สาธารณชนเห็นว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่ได้เอื้อประโยชน์ใคร ไม่ได้ทิ้งทวนตามที่เขาว่ากันทีมข่าวเนชั่นทีวี รายงาน 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ