ข่าว

"กัญชา-กัญชง" ใช้ทำอาหารได้ มีผล 26 ก.พ.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อก "กัญชา – กัญชง" ใช้ผลิตอาหารได้ ตั้งแต่ 26 ก.พ. 64 เป็นต้นไป

ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศ (ฉบับที่ 424)  พ.ศ.2564 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ซึ่งกำหนดห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย จากพืช สัตว์ หรือส่วนของพืชหรือสัตว์บางชนิดที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร จำนวน 80 รายการ

พบว่า ในบัญชีรายชื่อดังกล่าว มี “กัญชา และกัญชง” ซึ่งเป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ หลังจากที่ภาครัฐมีแนวคิดในการปลดล็อกให้เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่

"กัญชา-กัญชง" ใช้ทำอาหารได้ มีผล 26 ก.พ.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการอาหารเห็นชอบให้ใช้ส่วนของกัญชาและกัญชงในผลิตภัณฑ์อาหาร

สำหรับบัญชีรายชื่อพืช สัตว์ หรือส่วนของพืชหรือสัตว์ ที่เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจัดจำหน่าย ท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 242) พ.ศ. 2564 ออกตามในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

พบว่าในลำดับที่ 18 ได้แก่ กัญชา (Cannabis) ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis indico Lam. Cannabis sativa L. โดยกำหนดห้ามทั้งต้น (Whole plant) ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศเท่านั้น และมีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง(ก) เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก(ข) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย(ค) สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบ และต้องมีสารเตตราโฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง(ง) กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง

"กัญชา-กัญชง" ใช้ทำอาหารได้ มีผล 26 ก.พ.

รวมทั้งกัญชง หรือที่มีชื่อเรียกว่า เฮมพ์ (Hemp) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa L. subsp.sativa โดยกำหนดห้ามทั้งต้น (Whole plant) ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศเท่านั้น และมีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง(ก)  เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก(ข)  ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย(ค)  สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบ และต้องมีสารเตตราโฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง(ง) เมล็ดกัญชง (Hemp seed) น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed oil) หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง (Hemp seed extract)(จ) กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชงและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง

"กัญชา-กัญชง" ใช้ทำอาหารได้ มีผล 26 ก.พ.

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ