ประชาสัมพันธ์

ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กปน. ต้อนรับ มท.2 และอธิบดีกรมชลประทาน พาคณะสื่อมวลชนสัญจร รับฟังสถานการณ์น้ำ ณ สถานีสูบน้ำดิบสำแล

 

 


          นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน และคณะผู้บริหารกรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชนสัญจร ติดตามการบริหารจัดการน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศในลุ่มน้ำแม่กลอง ท่าจีน และเจ้าพระยา ในการนี้ คณะฯ ได้เดินทางมายังสถานีสูบน้ำดิบสำแล จ. ปทุมธานี ของการประปานครหลวง (กปน.) เพื่อติดตามการสูบน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา และภาพรวมในการผลิตน้ำประปาในปัจจุบัน โดยมี นายปริญญา ยมะสมิต ผู้ว่าการ กปน. และคณะผู้บริหาร กปน. ให้การต้อนรับ

 

 

 

 

ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ 

 

ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ 

 

 

          ดร.ทองเปลว เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ ณ ปัจจุบัน รวมกันประมาณ 4,200 ล้าน ลบ.ม. โดยกรมชลประทานได้บริหารจัดการผลักดันลิ่มความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยการเพิ่มการระบายน้ำทั้งเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนพระราม 6 และประตูระบายน้ำอื่น ๆ ในระบบ สามารถใช้งานได้ราว 200 วัน หรือกว่า 6 เดือน ยืนยันว่าเพียงพอต่อการจัดสรรน้ำให้ภาคส่วนต่าง ๆ ในช่วงหน้าแล้งได้อย่างแน่นอน 

 

 

ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ 

 

ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ 

 


          ด้าน นายปริญญา กล่าวว่า ในช่วงที่เกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูง กปน. มีการบริหารจัดการโดยลดการสูบน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาราว 2-3 ชั่วโมง แต่หากน้ำทะเลหนุนนานกว่า 3 ชั่วโมง กปน. ก็จำเป็นต้องสูบน้ำดิบที่มีลิ่มความเค็มเข้ามาในคลองประปา เพื่อมิให้คลองประปาเกิดความเสียหายจากคันคลองทรุดตัว และกระทบต่อปริมาณการผลิตน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ส่งผลให้น้ำประปาที่ให้บริการมีรสชาติกร่อยเล็กน้อย แต่ก็เกิดขึ้นเพียงบางวัน และบางเวลาเท่านั้น โดยเฉพาะช่วงวันพระซึ่งสอดคล้องกับปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในวันที่ 13-14 มกราคม 2563 จะเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุด ซึ่งกรมชลประทานจะเริ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จาก 85 เป็น 100 ลบ.ม. ต่อวินาที เริ่มตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป เพื่อเตรียมรับมือและบรรเทาผลกระทบในช่วงเวลาดังกล่าว และคาดว่าภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุดจะเกิดอีกครั้ง ราววันที่ 26-27 มกราคม 2563

 

 

 

ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ 

 

ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ 

 


          กปน. ขอขอบคุณการสนับสนุนและการบูรณาการจากทุกหน่วยงาน ทั้งการระบายน้ำจากกรมชลประทาน การคาดการณ์ด้านอุทกศาสตร์ของกองทัพเรือ โมเดลจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และการบริหารจัดการน้ำในภาพรวมของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.)ทำให้การบริหารจัดการน้ำในช่วงหน้าแล้งของประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 

          นายนิพนธ์ ได้กล่าวขอบคุณกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมชลประทาน ที่ประสานงานกับ กปน. อย่างใกล้ชิด ร่วมกันดูแลประชาชนให้มีน้ำใช้อุปโภค-บริโภคโดยไม่ขาดแคลน สิ่งที่กรมชลประทานชี้แจงในวันนี้ ทำให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าแม้ประเทศไทยจะเจอภาวะฝนทิ้งช่วง แต่ก็มีการบริหารจัดการน้ำต้นทุน จนสามารถผลิตน้ำประปาให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่องตลอดฤดูแล้ง สำหรับแผนระยะยาวในอนาคต ขอให้ กปน. เร่งรัดโครงการผันน้ำจากฝั่งตะวันตกอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพน้ำประปาที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำทะเลหนุนสูงอย่างยั่งยืน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ