ข่าว

อัปเดต "ไทย – กัมพูชา" ปะทะสะเทือนบริเวณ "ปราสาทตาเมือนธม"

อัปเดต "ไทย – กัมพูชา" ปะทะสะเทือนบริเวณ "ปราสาทตาเมือนธม"

24 ก.ค. 2568

ย้อนรอยปมร้อน "ปราสาทตาเมือนธม" เมื่อมรดกวัฒนธรรมกลายเป็นประเด็นเขตแดน "ไทย–กัมพูชา"ก่อนหน้านี้เคยเกิดเรื่องราวมาแล้ว ล่าสุดก็มีชื่อโผล่โยงจากกรณี เขาช่องบก

กรณีประเด็นของการขุดพื้นที่เข้าช่องบก จ.อุบลราชธานี พื้นที่ระหว่าง 2 ชาติ "ไทย - กัมพูชา"ที่อยู่ในมติข้อตกลงการล่วงพื้นที่ ซึ่งกำลังเป็นปมร้อนกระทบความสัมพันธ์ระดับชาติตอนนี้ ดูท่าว่าจะมีความลุกลามเพิ่มเติม เพราะในโลกออนไลน์มีการกว่าถึงกรณีข้อพิพาทก่อนหน้านี้อย่าง "ปราสาทตาเมือนธม" เข้ามาเกี่ยวโยงอีกครั้ง เกิดอะไรขึ้นไปย้อนรู้ข้อมูลกัน 

 

ย้อนรอยปมร้อน "ปราสาทตาเมือนธม"เมื่อมรดกวัฒนธรรมกลายเป็นประเด็นเขตแดนไทย–กัมพูชา

 

"ปราสาทตาเมือนธม" หนึ่งในกลุ่มปราสาทหินขอมโบราณในพื้นที่อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ แม้จะเป็นโบราณสถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของภูมิภาคอีสานใต้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลับกลายเป็นหนึ่งใน จุดหมุดความขัดแย้งสำคัญ ระหว่างไทย–กัมพูชา โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงปัญหาพรมแดน

 

อัปเดต \"ไทย – กัมพูชา\" ปะทะสะเทือนบริเวณ \"ปราสาทตาเมือนธม\"

จุดเริ่มต้นของความไม่ชัดเจน

แม้ "ปราสาทตาเมือนธม" จะตั้งอยู่ในเขตแดนของไทยโดยพิกัดทางภูมิศาสตร์ (อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์) แต่ก็มีเส้นทางที่สามารถเดินทางไปถึงได้จากฝั่งกัมพูชา ซึ่งอยู่ติดกันเพียงไม่กี่กิโลเมตร ทำให้ในอดีตมีการเข้า–ออกปราสาทจากฝั่งกัมพูชาอยู่บ่อยครั้ง

ในช่วงที่ความตึงเครียดบริเวณปราสาทพระวิหารทวีความรุนแรง (ระหว่างปี 2551–2554) ความเคลื่อนไหวที่ "ปราสาทตาเมือนธม" ก็ถูกจับตามองเช่นกัน

 

 

เหตุการณ์ตึงเครียดและการปะทะ

ในปี 2552–2553 เคยเกิดเหตุความตึงเครียดและการยิงปะทะระหว่างทหารไทย–กัมพูชา บริเวณแนวชายแดนด้านอีสานใต้ ซึ่งรวมถึงพื้นที่ใกล้กลุ่มปราสาทตาเมือน โดยเฉพาะปราสาทตาเมือนธม เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาอ้างสิทธิ์ในฐานะโบราณสถานที่เชื่อมโยงกับอารยธรรมขอมโบราณ ซึ่งเป็นรากฐานของกัมพูชาในยุคปัจจุบัน

ขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยยืนยันสิทธิเหนือดินแดนตามแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและหลักฐานทางกฎหมายที่แสดงว่าปราสาทดังกล่าวตั้งอยู่ในดินแดนของประเทศไทยอย่างชัดเจน

 

อัปเดต \"ไทย – กัมพูชา\" ปะทะสะเทือนบริเวณ \"ปราสาทตาเมือนธม\"

ปัจจุบัน สถานการณ์คลี่คลาย แต่ยังต้องเฝ้าระวัง

แม้ความตึงเครียดจะคลี่คลายลงในช่วงหลังปี 2560 แต่พื้นที่โดยรอบปราสาทยังคงเป็น เขตความมั่นคงพิเศษ และอยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังทหารอย่างใกล้ชิดนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าชมได้ในช่วงเวลาปลอดภัย

โดยต้องผ่านการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ และการตรวจสอบจากจุดตรวจชายแดน เพื่อความเรียบร้อยและความปลอดภัยของทุกฝ่าย

 

อัปเดต สถานการณ์ปะทุอีกครั้ง?

  • ปี 2568 สถานการณ์เริ่มกลับมาตึงเครียดอีกครั้งหลังจากกรณีของการรุกล้ำเขตแดนขุดร่องคูเลต นำไปสู่หลากหลายเหตุการณ์แก้เกมตามมาของ 2 ประเทศทั้งปิดด่านชายแดน, การโจมตี ปล่อยข่าวปลอม, การระดมพล ประชาชนมาแสดงจุดยืน, การบืดเบือนข้อมูลทางโซเชียล ฯลฯ 

 

  • ปมสถานการณ์เริ่มเข้าสู่การเตรียมแผนรับมือ หลังมีกำลังทหารลงพื้นที่แนวชายแดนแล้วเจอกับดักระเบิดจนบาดเจ็บถึงขั้นขาขาด

 

  • วันที่ 24 ก.ค. 68 FB : กองทัพภาคที่ 2 ได้ออกมาโพสต์ข้อความแจ้งข่าวว่า "09.40 น. เขมรเล่นหนัก ไม่สนประชาชนใช้จรวด BM-21 ยิงจากฐานยิงเขาแหลมตกใส่ ปราสาทโดนตวล จ.ศรีสะเกษ #กองทัพภาคที่2"

 

อัปเดต \"ไทย – กัมพูชา\" ปะทะสะเทือนบริเวณ \"ปราสาทตาเมือนธม\"

 

  • ด้านของ "กัมพูชา"ออกมาโพสต์ข้อความโดยผู้นำกัมพูชา ชี้ว่า "...ทหารไทยเปิดการโจมตีกองทัพกัมพูชาตอนนี้กองทัพกัมพูชาไม่มีทางเลือกนอกจากตอบโต้และสู้กลับ.."

 

อัปเดต \"ไทย – กัมพูชา\" ปะทะสะเทือนบริเวณ \"ปราสาทตาเมือนธม\"

อัปเดต \"ไทย – กัมพูชา\" ปะทะสะเทือนบริเวณ \"ปราสาทตาเมือนธม\"

 

บทเรียนทางวัฒนธรรมที่กลายเป็นประเด็นทางการเมือง

กรณีของปราสาทตาเมือนธมเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความซับซ้อนระหว่าง "มรดกทางวัฒนธรรม" กับ "พรมแดนทางการเมือง" ที่มักจะไม่ตรงกันในความรู้สึกของแต่ละประเทศแม้รากทางประวัติศาสตร์จะเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้งในฐานะอารยธรรมร่วมของอุษาคเนย์ แต่ความไม่ชัดเจนของแผนที่ในอดีต การตีความกฎหมายระหว่างประเทศ และการเมืองภายในแต่ละประเทศ ล้วนเป็นเชื้อไฟที่อาจจุดความขัดแย้งได้เสมอ

 

อัปเดต \"ไทย – กัมพูชา\" ปะทะสะเทือนบริเวณ \"ปราสาทตาเมือนธม\"