
เช็กเลย! เงินผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพ 68 เข้าวันไหน? ทำอย่างไรถึงได้รับสิทธิ์
เช็กเลย! เงินผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2568 เข้าวันไหน? ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง? ต้องทำอย่างไรถึงจะได้รับสิทธิ์?
“เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” โดยเป็นนโยบายที่ให้ เงินผู้สูงอายุ ในทุก ๆ เดือน เพื่อช่วยเหลือในเรื่องของค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช็กข้อมูล ต้องทำอย่างไรถึงจะได้รับสิทธิ์นี้ จะได้เงินเท่าไหร่? แล้วในปี 68 เงินจะเข้าวันไหนบ้าง?
เงินผู้สูงอายุ เข้าวันไหนบ้าง?
ทางภาครัฐ จะจ่ายเงินผู้สูงอายุ ให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน ซึ่งถ้าวันที่ 10 ของเดือนนั้น ๆ ตรงกับวันหยุด รัฐจะเลื่อนเวลาการจ่ายเงิน เป็นก่อนวันที่ 10 ทำให้แต่ละเดือน จึงได้รับเงินไม่ตรงกัน ซึ่งในแต่ละปีงบประมาณ (ตุลาคม – กันยายน 68) โดยรัฐจะจ่ายเงินให้ดังนี้!
เดือนมกราคม : วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2568
เดือนกุมภาพันธ์ : วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568
เดือนมีนาคม : วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2568
เดือนเมษายน : วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน 2568
เดือนพฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568
เดือนมิถุนายน : วันอังคารที่ 10 มิถุนายน 2568
เดือนกรกฎาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม 2568
เดือนสิงหาคม : วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2568
เดือนกันยายน : วันพุธที่ 10 กันยายน 2568
สำหรับผู้สูงอายุรายใหม่ ที่ต้องการรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิ์ รับเงินผู้สูงอายุรายใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2568 (เปิดลงทะเบียนเดือน ต.ค.67)
ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?
1. มีสัญชาติไทยต้องเป็นผู้มีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยนับจากวันเกิด จนถึงวันที่ 1 กันยายน 2568 กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้สูงอายุ ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2505 (ส่วนผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎร ระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น ๆ)
2.ต้องไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์ จากหน่วยงานของรัฐหรือ รัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ บำนาญพิเศษ เบี้ยหวัด รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ที่รัฐจัดให้เป็นประจำ
เตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
- บัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริง หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ (ที่มีรูปถ่าย)
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ตัวจริง และสำเนาอีก 1 ฉบับ
- สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ตัวจริง (ประเภทออมทรัพย์) และสำเนาอีก 1 ฉบับ
ผู้อื่นมาดำเนินเรื่องแทนผู้สูงอายุ จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
1.หนังสือมอบอำนาจ (ติดต่อขอรับแบบฟอร์ม ที่เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ไปดำเนินเรื่อง)
2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้สูงอายุ (ผู้มอบอำนาจ) และของผู้ที่มาดำเนินเรื่องแทน (ผู้ที่รับอำนาจ) อย่างละ 1 ฉบับ *สำเนาทุกฉบับจะต้องมีการเซ็นสำเนาถูกต้อง*
ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ ได้ที่ไหน?
1.ทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพฯ : สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้น ๆ
2.ทะเบียนบ้านอยู่ในต่างจังหวัด : องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือสำนักงานเทศบาล ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตนั้นๆ
เงินผู้สูงอายุ จะได้รับเดือนละเท่าไหร่?
- อายุ 60 – 69 ปี จะได้รับ 600 บาท
- อายุ 70 – 79 ปี จะได้รับ 700 บาท
- อายุ 80 – 89 ปี จะได้รับ 800 บาท
- อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท
คาดว่าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 หรือ ต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เป็นต้นไป รัฐบาลมีการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได ดังนี้
- อายุ 60-69 ปี: จะได้รับ 700 บาท (จากเดิม 600 บาท)
- อายุ 70-79 ปี: จะได้รับ 850 บาท (จากเดิม 700 บาท)
- อายุ 80-89 ปี: จะได้รับ 1,000 บาท (จากเดิม 800 บาท)
- อายุ 90 ปีขึ้นไป: จะได้รับ 1,250 บาท (จากเดิม 1,000 บาท)
การรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สามารถเลือกวิธีการขอรับได้
- ขอรับเป็นเงินสด (รับด้วยตัวเอง หรือ รับผ่านคนที่ได้รับมอบอำนาจ)
- โอนเงินเข้าบัญชี (ของตัวเอง หรือ ของคนที่ได้รับมอบอำนาจ)